วัฒนธรรมล้านนาเชิงพาณิชย์

 

 
วัฒนธรรมล้านนา หมายถึง วิถีหรือการดำเนินชีวิตซึ่งสืบต่อกันมาของชาวล้านนาซึ่งกระจายตัวในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, ลำพูน, พะเยา, แพร่, น่าน และแม่ฮ่องสอน 
 
แม้ว่าสไตล์สินค้าล้านนา ประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย ศิลปะ ดนตรี โบราณสถาน โบราณวัตถุ และนิทานล้านนา ถูกนำไปประยุกต์ในเชิงพาณิชย์ต่างๆ  มุ่งเน้นสินค้าหัตถกรรมที่มีดีไซน์รูปแบบอย่างหลากหลาย จนกระทั่งหาเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นและเรื่องราวความเป็นมาประกอบได้ยาก 
 
ส่วนหนึ่งกลายเป็นเพียงแค่การโชว์ เช่น ทอผ้า ระบำเกี่ยวข้าว โชว์การทำนา ในบรรยากาศของฉากประกอบในโรงแรมราคาแพง แต่ละทิ้งวัฒนธรรมการเก็บเกี่ยว การเพาะปลูก ที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นแพ็คเก็จ การแสดง การแต่งกาย การท่องเที่ยว เมื่อละทิ้งเรื่องราวไป ในที่สุดอาจหาเอกลักษณ์ Lanna Style ซึ่งเป็นจุดขายไม่พบ
 
เพราะมองในแง่สินค้าวัฒนธรรมล้านนาถูกจัดอยู่ในหมวดที่ขาย “เรื่องราว” ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสินค้าซึ่งทำการตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จคงต้องกล่าวถึงวัฒนธรรมเกาหลีที่แพร่สู่คนไทยจนเกิดกระแสเกาหลีฟีเวอร์  
 
อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะล้านนา อดีตรองคณบดีคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมล้านนาเชิงพาณิชย์ว่า ปัจจุบันล้านนาพาณิชย์กำลังมา ของเก่าอาจจะมีอยู่ ไม่สวยพอ ทำใหม่ขึ้นมา พยายามเอาไปทำให้มันเก่าก็ยังขายได้อยู่ โปรแกรมทัวร์ที่เห็นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นของที่ถูกสร้างขึ้นมา ผมว่าถ้าจะให้ดีมันจะต้องมีคำอธิบายหรือว่าการจัดการให้เนียนกว่านี้ ถ้าจัดการนำเสนอให้ดีก็จะเพิ่มมูลค่าได้ ทำให้มีความยั่งยืนขึ้นอีก
 
  ทว่าท้องถิ่นล้านนาเริ่มประสบปัญหาทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งมีทั้งถูกทำลายไปโดยธรรมชาติ และถูกละเลยขาดการเอาใจใส่ วัฒนธรรม ประเพณีเก่าแก่หาดูได้ยากขึ้น ส่วนหนึ่งถูกเปลี่ยนแปลงไปตามตลาดยุคใหม่ ซึ่งมุ่งขายโดยมองข้ามคุณค่าเชิงวัฒนธรรม ทั้งที่จุดขายสำคัญที่สร้างมูลค่าได้มากที่สุด 
   
ภาพล้านนาในปัจจุบันจึงเป็น “ล้านนาตามใช้ผู้สร้าง ตามใจผู้ดู” กลายเป็นสินค้าที่ไม่มีเรื่องราว  กระนั้นวัฒนธรรมล้านนาเชิงพาณิชย์ยังคงมีที่ทางในการตลาดอยู่ หากแต่ต้องการแข่งขัน จำต้องกลับไปทำความเข้าใจความหมายของวัฒนธรรม การผสมผสานโดยไม่ทิ้งเอกลักษณ์  เพื่อนำคุณค่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นฐานในการสร้างรายได้ทั้งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและหัตถกรรมอย่างยั่งยืน
 
จุดเด่นของวัฒนธรรมล้านนาเชิงพาณิชย์อยู่ที่ สถาปัตยกรรม สถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงการตกแต่งภายในและบรรยากาศ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมล้านนา จึงควรระวังเรื่องของการนำเสนอ การบอกเรื่องราว การจัดองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ การนำองค์ประกอบย่อยต่างๆ มารวมกันอย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มุ่งไปที่ตลาดเฉพาะ (Niche Market) โดยการนำวัฒนธรรมล้านนามาสร้างเอกลักษณ์และเรื่องราว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
 
  เชื่อว่าหากสามารถจัดการสินค้าเชิงวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว, เพิ่มยอดจำหน่ายสินค้า OTOP สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานของวัฒนธรรม สร้างงานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และความเป็นเลิศในระดับนานาชาติสำหรับตลาดเฉพาะ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างความโดดเด่น และเชื่อมโยงสู่ตลาดสากล ก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินไป
 
ที่มา : K SME Inspired 
 

RECCOMMEND: MARKETING

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก 

Creator Commerce ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ 78% ลูกค้าเชื่อรีวิวมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

รู้หรือไม่ว่า 78% ของลูกค้าดูรีวิวจากครีเอเตอร์ก่อนซื้อ นั่นแปลว่าครีเอเตอร์นั้นมีพลังมากกว่าโฆษณาแบบเก่า ดังนั้นการตลาดผ่านครีเอเตอร์ หรือ Creator Commerce จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจทุกขนาดในไทย

ชวนรู้จัก LINE Certified Coach ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัล ตัวช่วย SME ใช้การตลาดดิจิทัลลุยธุรกิจได้อย่างมั่นใจ

รู้ไหม นอกจากเครื่องมือต่างๆ LINE ยังได้สร้างกลุ่มคนผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจแต่ละด้านมาเป็นโค้ชให้กับ SME เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ต่อยอดธุรกิจให้เติบโต นำเทคนิคการใช้เครื่องมือใน LINE มาช่วยแก้ไขปัญหาธุรกิจ ในนามของ “LINE Certified Coach”