KitKat หลากรส กลยุทธ์การตลาดผ่านวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น

TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์    

 
    ที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงแนวคิดที่จะนำวัตถุดิบอาหารที่ขึ้นชื่อของไทยและเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ มาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยเบื้องต้นอยากนำร่องด้วยการนำทุเรียน มะขาม มังคุดมาเป็นวัตถุดิบในการทำขนมคิทแคท  เช่นเดียวกับรูปคิทแคทชาเชียวของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลก 



    แม้จะเป็นแค่การพูดคุยกันเบื้องต้น และยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีการผลิตคิทแคทรสทุเรียนและรสผลไม้ไทย ๆ หรือไม่ แต่ลุ้นอยากให้เกิดขึ้นเพราะผลไม้บ้านเรานั้นขึ้นชื่อในเรื่องคุณภาพและความอร่อย ชาวต่างชาติรู้จักดีอยู่แล้ว หากนำมาผลิตจริง นอกจากเพิ่มมูลค่ายังเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมการกินผ่านสินค้าอาหารอีกด้วย และเชื่อว่าน่าจะได้รับความนิยม อย่างคิทแคทรสผลไม้กลิ่นแรง เช่น ทุเรียน ขนุนน่าจะเป็นที่โปรดปรานในหมู่ชาวเอเชียด้วยกันโดยฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ส่วนนักท่องเที่ยวตะวันตก เราอาจผลิตคิทแคทจากรสอาหารที่พวกเขาคุ้นเคย เป็นต้นว่าคิทแคทรสข้าวเหนียวมะม่วง หรือคิทแคทรสกะทิ รสมะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น

    คิทแคท ขนมหวานเวเฟอร์แบบแท่งเคลือบชอคโกแลตถือเป็นตัวอย่างของสินค้าที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมอาหารของแต่ที่ละพื้นที่เป็นอย่างดี ประเทศที่คิทแคทประสบความสำเร็จมากที่สุดคงต้องยอมรับว่าคือญี่ปุ่น จะสังเกตว่าใครไปญี่ปุ่นก็ต้องซื้อคิทแคทรสต่าง ๆ โดยเฉพาะรสชาเขียวเป็นของฝาก ทั้งที่คิทแคทไม่ได้มีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นแม้แต่น้อย คิทแคทถือกำเนิดขึ้นโดยโรวน์ทรี ที่เมือง ยอร์ค ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันผลิตส่งไปทั่วโลกภายใต้บริษัท เนสท์เล่ (ซึ่งซื้อกิจการโรวน์ทรีตั้งแต่ปี 1988) เหตุที่คิทแคทฝ่าด่านกำแพงชาตินิยมจัดของชาวญี่ปุ่น แทรกซึมจนกลายเป็นสินค้าโอทอประดับประเทศเนื่องจากความบังเอิญที่คิทแคทในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง “คิตโตะ แคทซึ” ซึ่งมีความหมายว่า “จะต้องชนะแน่นอน” ผู้คนจึงนิยมซื้อให้กันเป็นของขวัญนำโชค



    จากรสชอคโกแลตดั้งเดิมธรรมดา จนถึงปัจจุบัน เนสท์เล่จำหน่ายคิทแคทรสต่าง ๆ กว่า 200 รสแล้ว รวมถึงรสแปลก ๆ เช่น โซดาบ๊วย รสพริก รสซอสถั่วเหลือง รสไวน์ รสเครื่องดื่มเกลือแร่ และรสผัก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไอเดียเจิดจรัสในการสร้างสรรค์รสต่าง ๆ ให้คิทแคทเพื่อล่อตาล่อใจผู้บริโภค กลยุทธ์หนึ่งที่ญี่ปุ่นนำมาใช้คือการผลิตคิทแคทตามวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น คิทแคทรสมันเทศสีม่วง ของดีจากโอกินาว่า คิทแคทรสชาเขียวจากเมืองอุจิ เมืองที่ขึ้นชื่ออันดับ 1 ด้านชาเขียว หรือคิทแคทรสเมล่อนยูบาริจากฮอกไกโด ราชาเมล่อนที่รสชาติดีที่สุด เป็นต้น
 
    ต้นปีที่ผ่านมา เนสท์เล่ญี่ปุ่นเปิดช้อปคิทแคทแห่งที่ 4 ชื่อ Kit Kat Chocolatory ตั้งอยู่ในย่านกินซ่า โดยสินค้าที่นำเสนอคือคิทแคทในรูปซูชิหน้าต่าง ๆ อาทิ ทูน่า ไข่หอยเม่น และไข่หวาน ตัวข้าวทำจากไวท์ชอคโกแลต โปะด้วยราสเบอร์รี่ (แทนทูน่า) เมล่อน (แทนไข่หอยเม่น) และฟักทอง (แทนไข่หวาน)
  
    เนสท์เล่ผลิตคิทแคทใน 15 ประเทศทั่วโลก ในเอเชียมีผลิตที่ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และอินเดีย ก็ได้แต่หวังว่าไทยจะได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหาร ได้เป็นประเทศต่อไปที่ผลิตคิทแคทรสผลไม้เมืองร้อน มาลุ้นกันว่าดีลนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่

RECCOMMEND: MARKETING

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก 

Creator Commerce ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ 78% ลูกค้าเชื่อรีวิวมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

รู้หรือไม่ว่า 78% ของลูกค้าดูรีวิวจากครีเอเตอร์ก่อนซื้อ นั่นแปลว่าครีเอเตอร์นั้นมีพลังมากกว่าโฆษณาแบบเก่า ดังนั้นการตลาดผ่านครีเอเตอร์ หรือ Creator Commerce จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจทุกขนาดในไทย