โครงสร้างธุรกิจแบบไหนที่ใช่คุณ




เรื่อง : ยุวดี ศรีภุมมา
 

    หนึ่งในสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ นั่นคือ การตัดสินใจและเลือกโครงสร้างทางกฎหมายสำหรับบริษัทของคุณ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินธุรกิจแบบ Sole Proprietorship ประกอบกิจการด้วยตัวคนเดียวหรือ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน รวมไปถึงบริษัทมหาชน ซึ่งในการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นการชี้อนาคตของธุรกิจคุณในแง่ของการจ่ายภาษีตามกฎหมาย การร่วมระดมทุนจากภายนอก รวมถึงกองเอกสารอีกมากมายที่คุณต้องเผชิญ แบบทดสอบนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าโครงสร้างแบบไหนที่เหมาะกับคุณ 

1.    คุณมีการวางแผนอย่างไรในการนำเสนอสินค้าหรือบริการของแบรนด์คุณ

A.    ผมวางแผน คิดและลงมือทำด้วยตัวของผมเอง 
B.    ผมและหุ้นส่วนช่วยกันวางแผน จัดการ แบ่งหน้าที่ตามที่ถนัดในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ 
C.    ผมมีหน้าที่คิด วาดภาพสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและมันจะถูกถ่ายทอดออกมาโดยคนอื่น 


2.    คุณเตรียมตัวที่จะรับมือกับการถกเถียงหรือการเจรจาในเชิงกฎหมายเพื่อขยับขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้นหรือไม่ 

A.    ผมต้องการคุยกับทนายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
B.    ผมยินดีที่จะเจรจาในเชิงกฎหมายเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ 
C.    ผมยินดีที่จะจ่ายเงินปันผลที่เหมาะสมให้แก่ผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งในอนาคตเพราะอย่างนั้นแล้วผมยินดีที่จะทำงานกับทนายเพื่อช่วยจัดการในเรื่องต่างๆ 



3.    คุณมีการวางแผนที่จะเปิดรับนักลงทุนจากภายนอกเพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตหรือไม่ 

A.    ผมวางแผนที่จะใช้เงินของตนเองเท่านั้น 
B.    แน่นอน แต่คงเป็นเงินลงทุนจากครอบครัวและเพื่อนๆ 
C.    ผมตื่นเต้นที่จะแสวงหาการสนับสนุนแบบ Venture Capital แหล่งเงินทุนที่อยู่นอกเหนือจากบุคคลรอบตัว 



4.    คุณมีการแยกทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินของธุรกิจหรือไม่ 

A.    ผมรวมทรัพย์สินทุกอย่างไว้ในกองเดียวกัน 
B.    ผมยินดีที่จะเสี่ยงในการใช้ทรัพย์สินส่วนตัวหากมันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของผม 
C.    ผมไม่ยินดีที่จะให้ทรัพย์สินของผมต้องอยู่บนความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ 


5.    ระบบราชการ ความยุ่งยากในกระบวนการเดินเรื่องและเอกสารสำหรับคุณคิดว่า...

A.    ผมคิดว่าคือหายนะ 
B.    สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้หงุดหงิดเหมือนกันแต่ก็มีความจำเป็นเพื่อทำให้ทุกอย่างเรียบร้อย 
C.    ผมคิดว่าระบบเหล่านี้สำคัญ บริษัทผมมีการใช้ระบบนี้ในการนำทางและผมไม่แคร์เรื่องเอกสารเพราะมันทำให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี 



6.    พูดถึงเรื่องของภาษี คุณมีวิธีจัดการมันอย่างไร 

A.    เป็นเรื่องง่ายๆ ผมสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ด้วยตัวคนเดียวและไม่ต้องการจ้างใครมาดูแลเรื่องนี้
B.    ผมและหุ้นส่วนมีการนั่งคุยเรื่องนี้และจัดการสิ่งต่างๆ ร่วมกัน 
C.    ที่บริษัทของผมเรามีการจัดทำเรื่องนี้กันอย่างเป็นระบบเพื่อกันความผิดพลาดยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 



7.    ในการดำเนินบริษัท คุณและหุ้นส่วนมีอำนาจ ค่าตอบแทนและมีส่วนแบ่งอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ 

A.    ผมดำเนินการทุกอย่างด้วยตัวคนเดียวเพราะฉะนั้นผมมีอำนาจมากที่สุด 
B.    ผมมีการดำเนินธุรกิจกับหุ้นส่วนด้วยความเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลตอบแทน อำนาจ หน้าที่ในการจัดการ 
C.    ผมมีหน้าที่วางแผนและผลักดันให้ธุรกิจเติบโตแต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องให้ผู้อื่นเข้ามาช่วยในเรื่องของการตัดสินใจที่สำคัญ



8.    คุณวางแผนที่จะขายหุ้นในบริษัทเมื่อไหร่กันนะ 

A.    ผมไม่คิดถึงเรื่องนั้น 
B.    ยังไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่ 
C.    แน่นอน ผมมีความกระตือรือร้นที่จะพุ่งเข้าสู่ทุกโอกาสที่ผ่านมา 



9.    คุณวางแผนที่จะผลักดันให้บริษัทเป็นมหาชนหรือไม่ 

A.    ผมกลัวว่าจะเสียความอิสระไป 
B.    ผมไม่ค่อยแน่ใจแต่ก็ไม่อยากที่จะให้คนอื่นเข้ามามีบทบาทในพื้นที่ของผม 
C.     ผมต้องการเป็นบริษัทมหาชนเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 



10.    คุณมองในเรื่องของผลประโยชน์ที่ลูกน้องควรได้รับมากน้อยแค่ไหน 

A.    ไม่รู้เหมือนกัน แต่คิดว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ภาษีและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
B.    ผมคิดว่าประกันสังคมเพื่อสุขภาพก็น่าจะเพียงพอ 
C.    สำหรับผม ลูกน้องควรจะได้รับโบนัส บัตรเครดิตองค์กรและสิ่งต่างๆ อย่างที่พวกเขาสมควรได้ 

เฉลย 

ถ้าคุณตอบ A มากที่สุด 

    คุณเหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจแบบ Sole Proprietorship หรือดำเนินธุรกิจด้วยตัวคนเดียวไม่มีหุ้นส่วน ไม่มีบริษัทลูกหลายบริษัทให้ยุ่งยาก ทุกอย่างดูเรียบง่ายภายใต้การตัดสินใจที่เด็ดเดียว รวดเร็วของเจ้าของ มีอิสระโดยสมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ คุณจะไม่เจอกับปัญหาของความขัดแย้งกับหุ้นส่วนทั้งเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว การตัดสินใจที่แตกต่างกันแต่คุณจะต้องแบกภาระที่มากมายเอาไว้ด้วยตัวคนเดียว ลองชั่งใจดูว่า คุณจะสามารถแบกรับทุกอย่างเอาไว้ได้นานมากแค่ไหน อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้อาจทำให้คุณไม่สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดเหมือนในรูปแบบอื่น 



ถ้าคุณตอบ B มากที่สุด 

    คุณเหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจแบบ Partnership หรือบริษัทจำกัดก็ได้ มันเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบห้างหุ้นส่วนและนิติบุคคลที่จะช่วยปกป้องทรัพย์ส่วนบุคคลของคุณออกจากหนี้ของบริษัท แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องระวังในการดำเนินธุรกิจรูปแบบนี้คือการจัดสรรปันส่วนและทำข้อตกลงระหว่างคุณกับหุ้นส่วนให้เป็นอย่างดี เพราะเรื่องของผลประโยชน์และอำนาจต่างๆ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซึ่งสามารถทำให้คุณมีปัญหาได้ในภายหลัง 



ถ้าคุณตอบ C มากที่สุด
 
    คุณควรที่จะมองหาแหล่งเงินทุนในการขับเคลื่อนบริษัท เป้าหมายของคุณไม่ใช่เรื่องง่าย คุณมีการวางเป้าหมายในระยะไกล การจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนและเปิดรับแหล่งเงินทุนจากภายนอกคือสิ่งที่คุณต้องการ ดังนั้นคุณควรจะเตรียมตัวรับมือกับเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของเอกสาร ตั้งชุดคณะกรรมการ มีทนายคอยให้คำปรึกษา เตรียมความพร้อมภายในเพื่อให้มีความน่าสนใจแก่นักลงทุนในอนาคต แม้ว่าการดำเนินการรูปแบบนี้จะมีความเสี่ยงที่สูงแต่ก็ยังมีผลกำไรที่หอมหวานรออยู่เพียงแต่ว่าเส้นทางที่จะเดินไปสู่จุดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับผู้ประกอบการที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์ที่มองไกลอย่างคุณแล้วก็คงไม่ใช่เรื่องยากสักเท่าไหร่นัก 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน