SME ต้องทำอย่างไรในสถานการณ์ Waitand See

 


เรื่อง กองบรรณาธิการ

    โดยภาพรวมของเศรษฐกิจในเวลานี้ เรียกได้ว่าสถานการณ์นั้นยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุลคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ให้ความเห็นไว้ว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นยังคงดูซึมๆ อยู่ เนื่องจากว่าทุกฝ่ายชะลอการตัดสินใจ

   ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริโภคที่ชะลอการตัดสินใจซื้อ นายจ้างชะลอการตัดสินใจจ้างงาน  นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่แค่เศรษฐกิจในประเทศเท่านั้น ยังเป็นผลมาจากปัจจัยเศรษฐกิจของโลกด้วย ประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของไทย หลายประเทศมีอัตราการเติบโตไม่เป็นไปตามคาด ทั้งจีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ยุโรปเอง สิ่งเหล่านี้จึงกระทบต่อความมั่นใจ ทำให้ทุกคนชะลอการตัดสินใจ ทำให้เศรษฐกิจเลยดูซึมๆ อย่างที่เห็นกัน


    “ในภาวะที่เศรษฐกิจซึมๆ แบบนี้ ถ้ามันเป็นช่วงสั้นจะไม่น่าเป็นห่วง เพราะสถานการณ์ Waitand See นั้นมันมีเกิดขึ้นได้ตลอดอยู่แล้ว คนรอดูความชัดเจน หรือรอดูการฟื้นตัวอะไรบ้างอย่าง แล้วค่อยตัดสินใจ ถ้าไม่ยาวมาก ผู้ประกอบการก็อาจจะยังพอมีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ สมมุติ 6 เดือน เราอาจจะยังไม่มีปัญหา แต่ถ้าเริ่มเกิน 6 เดือนไป SME น่าจะเริ่มมีปัญหาแล้วแต่จริงๆ แล้วเราเองก็อยู่ในภาวะแบบนี้มาค่อนข้างนาน สำหรับผมมองปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว เหมือนปีที่แล้วมันซึมหนัก เป็นช่วงขาลง แต่ปีนี้ดูว่ามันกำลังผงกหัวขึ้นแต่อาจจะไม่เร็วมาก ผมรู้สึกอย่างนั้นนะ”


    ถึงตรงนี้ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์ที่เป็นWaitand See เช่นนี้ ผู้ประกอบการอาจต้องมองถึงการปรับตัวและเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อรอเศรษฐกิจฟื้นกลับมาเพราะธรรมชาตินั้นจะคัดกรองคนที่เข้มแข็งเอาไว้ ผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าในภาวะปัจจุบันความต้องการ หรือดีมานด์ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ชะลอลงไป เพราะคนรู้สึกว่าเศรษฐกิจโดยรวมไม่ดี จะมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไม่ได้ หรือจะคาดหวังว่าจะมีรายได้มากเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ก็ไม่ใช่ ทำให้คนอยากที่จะประหยัดมากขึ้น เมื่อทุกคนคิดแบบนี้ ทุกอย่างก็ชะลอหมด เป็นเรื่องของจิตวิทยานั่นเอง


    “สถานการณ์ที่เป็นWaitand Seeนานๆ ถ้าเรามีสายป่านยาวหน่อยก็สามารถเตรียมตัวรอการฟื้นขึ้นมา แต่ถ้าสายป่านไม่ยาว ผมว่าท่านต้องหาวิธีการรองรับเอาไว้ ทางรอดมันมีอยู่แล้ว แต่เราต้องพยายามหาทางรอดให้กับตัวเองด้วยเรารอรัฐบาลได้ รอเศรษฐกิจได้ แต่สิ่งที่เราไม่ควรรอคือการช่วยตัวเอง ผมว่าท่านต้องลงมือปรับตัว แต่ละธุรกิจก็มีวิธีการปรับตัวที่แตกต่างกันไป”


    ในสถานการณ์แบบนี้ ดร.เอกชัยได้แนะนำทางรอดแบบเร่งด่วนให้กับ SME ด้วยการให้ความสำคัญกับการบริการสภาพคล่อง เพราะเป็นสิ่งที่สามารถเริ่มต้นทำได้ง่ายสุด โดยอย่างแรกคือ การลดค่าใช้จ่ายทั้งหลาย ผู้ประกอบการต้องกลับมาดูว่าต้นทุนอะไรบ้างที่สามารถปรับลดได้ จากนั้นคือ การเตรียมทุนสำรองไว้ กรณีที่ว่าหากภายใน 6 เดือน เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ผู้ประกอบการจะสามารถอยู่ต่อได้อีกสัก 6 เดือน ถัดมาคือ การเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยการทำสินค้าให้มีการหมุนเวียนออกไปอยู่แม้กำไรอาจจะลดลงก็ตามแต่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้มีเงินไหลเข้าสู่ธุรกิจ


    “เดิมเวลาเราขายของสักชิ้นอาจะมีกำไรสัก 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะลดเหลือสัก 10 เปอร์เซ็นต์ ผมว่ามันก็ไม่เป็นไร หรือแม้แต่มีกำไรน้อยจนกระทั่งไม่คุ้มค่าก็ต้องยอมเพื่อยังให้มีเงินหมุนเวียนอยู่ เพราะว่าถ้ามันชะงักไม่มีเงินเข้ามาเลย หมายความว่า เรายังมีค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายอยู่ ค่าพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ถ้าไม่มียอดขายเข้ามาเลย ก็ไม่มีอะไรมาCove ค่าใช้จ่ายที่เป็น Fixed Costsผมเชื่อว่าช่วงที่เราต้องดูแลสภาพคล่อง กำไรจะน้อยหน่อยมันก็ต้องยอม”


    นอกเหนือจากแนวทางที่กล่าวมาแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่ดร.เอกชัยอยากให้ผู้ประกอบการพยายามทำนั่นคือ การมองหาวิธีการใหม่ๆ หรือ Business Model ใหม่ๆ ที่เป็นเชิงนวัตกรรม เพราะหลายๆ ครั้งที่เกิดวิกฤต สิ่งนี้จะกลายเป็นตัวบีบให้ SME จำเป็นต้องดิ้นรนออกจากComfort Zoneที่ตนเองเคยชิน จึงอยากให้ SME ถือโอกาสนี้เปลี่ยนโมเดลการทำงานเลย เพื่อสร้างทางรอดและโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ


    “การลงทุนทำอะไรใหม่ๆอาจจะขัดกับอารมณ์ในสถานการณ์แบบนี้ แต่บางเรื่องเราไม่ทำก็ไม่ได้ สมมุติว่า รูปแบบเดิม สินค้าเดิม หรือบริการเดิมที่เราทำอยู่ มันไปไม่ได้ในสภาวะแบบนี้ เราจำเป็นจะต้องดิ้นไปหาพื้นที่ใหม่ เพราะถ้าไม่ทำมันตายแน่นอนคุณอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีโอกาสรอด แต่ถ้ายังอยู่เฉยๆ ตายแน่” 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน