การพีอาร์ต่างจากโฆษณาอย่างไร

 



เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย

    ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความเข้าใจผิดในเรื่องของการพีอาร์ (Public Relation) กับการโฆษณา (Advertise) นำไปสู่ความสับสนในการทำงานและการคาดหวังผลการปฎิบัติงาน

    ทั้งนี้โฆษณาและการพีอาร์มีสิ่งที่เหมือนกันคือสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อออกไปได้ (แต่คาดเดาผลตอบรับไม่ได้) และสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่บางประเด็นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ลองไปดูกันว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร 

    การโฆษณา สามารถกำหนด Message ที่จะลงสื่อได้ พูดง่ายๆคือสามารถผลิตสื่อและนำไปเผยแพร่ได้เลย (เมื่อจ่ายเงินกับสื่อหรือผ่านสื่อของตัวเอง) เช่น ภาพวาด บทความ คลิปวีดีโอ คลิปเสียง ฯลฯ แต่การทำพีอาร์ ไม่สามารถควบคุม Message ที่จะออกผ่านสื่อได้ เมื่อทำการเผยแพร่ออกไปทั้งการส่งข่าวหรือจัดแถลงข่าวให้กับสื่อมวลชน จากนั้นสื่อจะเป็นฝ่ายกำหนด Message เอง ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการให้สื่อออกไปก็เป็นได้ ทั้งทางบวกและทางลบ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของสื่อ 

    ผู้ที่ว่าจ้างบริษัทพีอาร์ จึงต้องยอมรับว่าไม่สามารถที่จะควบคุมประเด็นที่จะออกสื่อได้ทั้งหมด เพราะไม่มีใครที่จะกำหนดทิศทางของสื่อได้ ยกเว้นมีการบริหารจัดการสื่อหรือว่าจ้างลอบบี้ยิสต์ซึ่งพอที่จะกำหนด Message ที่ออกไปได้ซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย

    การโฆษณา เป็นการสื่อสารครั้งเดียว แต่การทำพีอาร์คือการบริหารการสื่อสารระยะยาว เมื่อลงโฆษณาไปแล้วไม่ว่าจะช่องทางใดก็ตาม ทั้งสิ่งพิมพ์ ทีวี ออนไลน์ จะไม่ค่อยมีโอกาสได้สื่อ Message ที่ต้องการอีก ยกเว้นจะลงโฆษณาชุดใหม่อีกรอบ แต่การทำประชาสัมพันธ์จะเป็นการบริหาร Message ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์  เช่น ลงข่าวไปแล้วยังเกิดผลตอบรับที่ไม่มากพอ ก็ยังสามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ใหม่ได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้งานประชาสัมพันธ์คือการสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน ถ้าหากสามารถสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีได้ จะช่วยสร้างโอกาสในการสื่อสารกับมวลชนได้เป็นอย่างดี

    งานพีอาร์ ให้ความรู้สึกที่เป็นมิตรกับผู้รับสารมากกว่างานโฆษณา จุดอ่อนสำคัญของการโฆษณาที่ต้องการยัดเยียดเนื้อหามากเกินไปคือผู้รับสารจะรู้สึกไม่ Friendly เหมือนมีความรู้สึกว่าถูกบังคับให้รับรู้ Message ทางเดียว แต่งานพีอาร์ หากสามารถบริหารจัดการ Message ที่ออกไปไ้ด้อย่างดี ผู้รับสารจะมีความรู้สึกว่าไม่ได้ถูกยัดเยียดให้รับรู้ฝ่ายเดียว แน่นอนว่าผู้ประกอบการอาจไม่สามารถ “ขาย” สิ่งที่ต้องการได้ทั้งหมด แต่ขอเพียงได้สื่อสารหัวใจสำคัญออกไปก็น่าจะเพียงพอ

    บทสรุปของงานพีอาร์ก็คือการทำงานร่วมกับสื่อมวลชนเพื่อสื่อ Message ที่ต้องการ ส่วนการโฆษณาคือการสื่อสาร Message ที่ต้องการได้โดยตรง 

    อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ทั้งงานพีอาร์และโฆษณาไปพร้อมกันได้ เพราะทั้งสองอย่างนี้จะช่วยเกื้อหนุนและปิดจุดอ่อนซึงกันและกันได้ จุดนี้เอเยนต์ซี่ส่วนใหญ่สามารถที่จะรับงานได้ทั้งสองแบบพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อออนไลน์ในปัจจุบันสามารถเป็นศูนย์กลางให้ทั้งงานพีอาร์และโฆษณาทำงานไปพร้อมกันได้อย่างลงตัว

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน