4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

TEXT : Phan P.


     เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอสถานการณ์ที่รู้สึกมีความยากลำบากในการตัดสินใจ ไม่แน่ใจว่าควรจะตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างไร เมื่อมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

     SME Thailand เลยอยากแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

1. การระดมสมอง (Brainstorming)

     วิธีการสุดฮิตที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือการระดมสมอง วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเป็นอิสระ และส่งเสริมการตัดสินใจที่ทุกคนมีส่วนร่วม สุดท้าย ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนานวัตกรรม เปิดโอกาสให้มีไอเดีย เกิดแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นภายในองค์กร ส่งผลให้สามารถแข่งขันได้

2. เทคนิคหมวกหกใบ (Six Thinking Hats)

     หมวกหกใบ ของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน  เป็นเทคนิคช่วยส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ ผ่านการแบ่งความคิดออกเป็นด้านๆ เหมือนการสวมหมวกทีละใบทีละสี โดยจะเริ่มต้นคิดจากสีไหนก่อนก็ได้  สิ่งที่คิดได้จากหมวกแต่ละใบสามารถนำมาเปรียบเทียบ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด และช่วยให้ตัดสินใจมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น

     หมวก 6 ใบ 6 สี ได้แก่

     - หมวกสีขาว การคิดบนฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง เน้นการวิเคราะห์

     - หมวกสีแดง เน้นการคิดเชิงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง 

     - หมวกสีดำ เป็นการคิดในเชิงความระมัดระวัง มองหาข้อผิดพลาด จุดเสี่ยง

     - หมวกสีเหลือง การคิดในแง่บวก มองที่ประโยชน์ หาโอกาส

     - หมวกสีเขียว กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ หาไอเดียใหม่ การคิดนอกกรอบ

     - หมวกสีน้ำเงิน การควบคุมกระบวนการคิด วางแผน

 3. เมตริกซ์ การตัดสินใจ (Decision Matrix)

     เมตริกซ์ ช่วยตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบและประเมินทางเลือกต่างๆ ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่าตัวเลือกต่างๆ นั้นจะส่งผลอะไรบ้าง และทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีการชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย เรียกว่าเป็นการตัดสินใจ ที่ผ่านการการวิเคราะห์และมีข้อมูลประกอบ

     โดยวิธีง่ายๆ ในการนำ Decision Matrix มาปรับใช้ คือการสร้างตารางขึ้นมา แล้วใส่ตัวเลือกต่างๆ ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจอยู่ในแนวตั้ง  ส่วนเกณฑ์การประเมินต่างๆ หรือปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจ อยู่เป็นแกนนอน จากนั้นพิจารณาให้คะแนนแต่ละตัวเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เปรียบเทียบผลรวมของแต่ละทางเลือก เพื่อพิจารณาว่าทางเลือกใดมีผลรวมสูงสุด เลือกทางเลือกที่มีผลรวมสูงสุดในการตัดสินใจ

4. การวิเคราะห์ (SWOT Analysis)

     การวิเคราะห์ SWOT คือการวิเคราะห์องค์กรซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ทั้งสภาพภายในและปัจจัยภายนอกต่างๆ ประกอบด้วย

     - Strengths จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ

     - Weaknesses  จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ

     - Opportunities  โอกาสที่จะเกิดขึ้น

     - Threats  ปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด

     การวิเคราะห์ SWOT จึงเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง และรู้จักสภาพแวดล้อม ปัจจัยต่างๆ ที่จะเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม  ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจนั้นมีข้อมูลสนับสนุน และสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางเอาไว้

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เขียนสัญญาเช่ายังไงให้รัดกุม ธุรกิจไม่เสียเปรียบ

สัญญาเช่า เรื่องใกล้ตัวผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหมการมีสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม สามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย

ทำงานให้ได้งาน 4 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทำไมบางคนงานท่วมหัว ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แต่งานกลับไม่หมดซะที แถมยังส่งงานไม่ทันกำหนด เราเลยมีเทคนิค เช่น Eisenhower Matrix, Eat that frog, Pomodoro และ กฎ 80/20  ซึ่งจะช่วยให้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชีวิตการทำงานไม่เครียดอีกต่อไป