หยุด!!! พฤติกรรม 10 อย่างของหัวหน้าที่พาองค์กรเจ๊ง

TEXT : อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา

Main Idea

  • หัวหน้าไม่ใช่มนุษย์ Perfect จึงเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนเคยทำผิดพลาด

 

  • แต่หัวหน้าที่มีพฤติกรรม “เป็นพิษ” (Toxic) นอกจากจะทำให้บรรยากาศในการทำงานไม่ดีแล้ว ยังทำให้ผลผลิต (Productivity) ของทีมและองค์กรแย่ลงอีกด้วย

     นี่คือพฤติกรรม 10 อย่างของหัวหน้าที่เป็นพิษ

     1.ไม่เคยรับผิด เอาแต่โยนความผิดให้ลูกน้อง

     2.ทำงานคนเดียว ไม่สนใจทำงานเป็นทีม

     3.ตัดสินใจส่งๆ ไม่คิดก่อนตัดสินใจ พอผิดพลาดก็โทษคนอื่น

     4.ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ แถมพูดกว้างจนลูกทีมไม่รู้ว่าต้องการอะไร

     5.ใช้แต่อารมณ์ หาเรื่องมาด่า แคะจุดอ่อนของคนอื่นมาพูดโจมตีเป็นประจำ

     6.สำคัญว่าตัวเองเก่ง ใครคิดต่าง ใครคัดค้าน โดนจัดหนัก เป็นที่รู้กัน ให้พูดแค่ “ถูกครับพี่ ดีครับนาย ได้ครับท่าน“ ประมาณนั้น จะอยู่รอด

     7.ไม่ปกป้องลูกน้องในที่ประชุม เวลาโดนหน่วยงานอื่นว่า หัวหน้าด่าซ้ำต่อหน้าธารกำนัล

     8.เวลาคับขันมักหายตัวไป ทิ้งลูกน้องให้รับหน้ากับปัญหาตามลำพัง พองานเสร็จโผล่มารับความดีความชอบ

     9.สั่ง-สั่ง-สั่ง, ตาม-ตาม-ตาม แล้วก็ ด่า-ด่า-ด่า ไม่เคยสอน ไม่เคยแนะนำ ได้แต่ตั้งคำถามว่า “คุณคิดยังไง” หรือไม่ก็โยนงานให้แบบใสๆ เนียนๆ “พี่มั่นใจว่าเธอทำได้ ฝากไปดำเนินการเลยนะ”

     10.ไม่อยู่กับร่องกับรอย วันนี้พูดอย่าง พรุ่งนี้พูดอีกอย่าง เป็นโรคความจำเสื่อม คำพูดติดปากคือ ผมไม่ได้พูดอย่างนั้น ฉันไม่ได้หมายความอย่างนี้ พี่ไม่เคยพูดเลย ฯลฯ กลายเป็นปัญหาอยู่ที่คนทำงาน หัวหน้าดีที่สุดและถูกเสมอ !

     พฤติกรรมเหล่านี้ บั่นทอนขวัญและกำลังใจของคนทำงาน หากคุณเป็นลูกน้องลองดูว่าหัวหน้าของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้สักกี่ข้อ ถ้าเกินครึ่ง คงไม่ไหว ต้องหนีให้ไกล

     ในทางกลับกัน หากคุณเป็นหัวหน้า ลองพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง คุณเป็นอย่างนี้สักกี่ข้อ แล้วรีบแก้ไข ก่อนสายเกินไป

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ท่องศัพท์ A - Z แบบใหม่ ผู้นำจำให้แม่น! 26 คำ แก้ปัญหาลูกน้องลาออกบ่อย!

ถ้าอยากเป็นผู้นำยุคใหม่ พร้อมปั้นองค์กรให้มี Green Flag สะบัดไกว ซึ่งเป็นสัญญาณของความปลอดภัยและไม่เป็นพิษ ต้องจำและนำ A – Z แบบใหม่นี้ไปใช้      

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด