รู้จัก Winning Zone โหมดที่จะทำให้ธุรกิจชนะแบบไร้คู่แข่ง

TEXT: ภัทร เถื่อนศิริ

Main Idea

  • ทำอย่างไรธุรกิจถึงจะอยู่ในจุดที่ลูกค้าโหยหาสินค้าหรือบริการ และบริษัทไม่มีคู่แข่ง หรือจุดที่เรียกว่า Winning Zone

 

  • ไปดูตัวอย่างการทำเวิร์กชอปที่จะทำให้ธุรกิจเจอ Winning Zone

 

 

     ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสได้ทำ Workshop และพูดคุยกับทีมที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ ซึ่งผมคิดว่ามีมุมที่ผมประทับใจและอย่างนำมาเป็นบทเรียนแก่ทุกท่านด้วยครับ

     ซึ่งเป็นหลักการง่ายๆ แต่เมื่อเราได้มุมมองจากคนนอกจะได้ความจริงที่บางทีเรามองไม่เห็นครับ ลดอคติที่เข้าข้างตัวเองไปได้เยอะ โดย Framework จะช่วยให้เรา “มีเหตุมีผล” กับกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจครับ

     Step 1 : เริ่มต้นจากการเขียนวงกลมสามวง แทน สิ่งที่เราเก่ง สิ่งที่ลูกค้าต้องการ สิ่งที่คู่แข่งมี ก่อนให้วงกลมทับซ้อนกัน จุดที่ลูกค้าต้องการและคู่แข่งไม่มี คือ Winning Zone คือ สิ่งที่เราตามหา แต่ Winning Zone จะหามาจากอะไร

     Step 2 : Focus Customer ขั้นตอนแรกในการหา Winning Zone คือ เราต้องนึกภาพลูกค้าเราให้ชัดเจนที่สุด อธิบายออกมาให้ได้ว่า คือใคร หน้าตาอย่างไร มีความชอบ Lifestyle แบบไหน ธุรกิจเราจับลูกค้าใครกันแน่ เพื่ออะไร เพื่อทำความเข้าใจ ศึกษา ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราให้ถ่องแท้ เข้าใจเค้ามากกว่าเค้าเข้าใจตัวเอง เราต้องทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ ต้องมี Pain / Gain ที่ลูกค้าให้คุณค่าจริงๆ ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนที่โดยส่วนตัวว่ายากที่สุดแล้ว เพราะมันคือการทำความเข้าใจคนอื่น เพราะสิ่งที่เรามันจะรู้ดีคือรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองเก่งอย่างไร

     Step 3 : ลดอคติการ Focus ตัวเองลง ต้องบอกว่าเป็นข้อผิดพลาดของคนทำธุรกิจส่วนใหญ่เลย บางทีมันมองไม่เห็นครับ เพราะเราอยู่กับธุรกิจของเรา เราหลงรักสินค้าของเรา เราเห็นแต่ข้อดีของมันมีมากมาย แต่นั้นคือมุมมองของเราที่เป็น Inside-out มี Bias อยู่แล้ว ดังนั้น ธุรกิจส่วนใหญ่จึงกำหนดกลยุทธ์การเติบโตโดยการขยายวงกลมตัวเองเก่งให้โตขึ้นนั้นเอง

     แต่แต่แต่... สังเกตุอะไรไหมครับ ... Winning Zone ไม่ได้ขยายนะ หรือถ้าขยายก็จะไม่มากนัก สิ่งที่ขยายจริงๆคือวงกลมตัวเราเท่านั้นเองครับ เป็นสิ่งที่ตกม้าตายกันเยอะมากๆครับ [ตัวผมเองก็ด้วยครับ] บางทีการได้มุมมองจากภายนอกทั้งจากที่ปรึกษา, Mentor ที่เป็น Outside-in เลยมีความสำคัญมากๆครับ

     Step 4 : Analytic วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ส่วนตัวธุรกิจผมใช้ RFM Model ครับในการวิเคราะห์ เพื่อแบ่งกลุ่มออกมา แล้วพิจารณา CLV [ Customer Lifetime Value] ประกอบว่าเราควรจะดูแลลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างไรโดยที่ไม่เกิน CLV พอเราวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าเราจะโฟกัสลูกค้ากลุ่มไหน กลุ่มไหนใหญ่สุดและเราทำกำไรได้เยอะที่สุด แล้วเราพยายามศึกษาทำความเข้าใจเค้าเพิ่มเติม เพื่อหา Solution ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กลุ่มลูกค้าและตอบโจทย์ Business Objective ของบริษัทเราด้วย

     Step 5 : Sensible มีเหตุมีผล เชื่อมโยงข้อมูลที่เรารวบรวมมาแล้ว สรุป Winning Zone กำหนดกลยุทธ์อย่างสมเหตุสมผลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทต่อไป

     Step 6 : Action & Rethink ลงมือทำ เรียนรู้ และนำกลับมาพัฒนาต่อไป

     หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ เพราะโดยส่วนตัวผมได้รับประโยชน์จากมันเยอะเลยทีเดียวครับ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เช็คก่อนสาย! 9 สัญญาเตือนที่บ่งบอกว่าคุณคือผู้นำสุดอันตราย

Toxic Leadership หรือผู้นำที่แสดงพฤติกรรมในเชิงลบ มักจะทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นพิษ จนทำให้พนักงานรู้สึกไม่มีความสุข สุขภาพจิตใจแย่ และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง  แล้วมีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึงผู้นำที่ Toxic บ้าง ไปดูกัน

รู้จัก 2 เทคนิค ตั้งเป้าหมายอย่างไร ไปให้ถึง

การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องง่าย แต่การจะบรรลุเป้าหมายนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราเลยจะมาแนะนำ 2 เทคนิคดีๆ เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จได้ นั่นคือ SMART Goal และ WOOD

เช็กลิสต์ วัฒนธรรมองค์กรดี ที่พาธุรกิจโตไม่หยุด

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่ง แต่ยังสร้างอนาคตที่ดีขององค์กรด้วย เราลองมาเช็คลิสต์กันว่า ในวันนี้องค์กรได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นบวก และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้วหรือยัง