9 คำถาม? เช็กธุรกิจตัวเอง รู้ทันที “ย่ำอยู่กับที่” หรือ “ไปต่อได้”

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา นี่คือ เคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้

 

     น้ำมันแพง ค่าไฟขึ้น การเมืองยังไม่แน่นอน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคนทำธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่สายป่านอาจไม่ยาว เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้จะรับมืออย่างไร วิธีหนึ่งที่ทำได้คือการตรวจสอบความพร้อมของตัวเอง นี่คือ 9 คำถามที่จะช่วยเช็กว่าธุรกิจคุณพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือว่าย่ำอยู่กับที่

1. ถามตัวเองว่า "อะไร คือ สาเหตุของความตกต่ำของธุรกิจ"

     หากธุรกิจคุณกำลังตกต่ำ สิ่งสำคัญคือต้องถามตัวเองว่าอะไรเป็นสาเหตุ คุณภาพสินค้าหรือบริการของคุณลดลงหรือไม่? การขึ้นราคาของคุณส่งผลกระทบต่อยอดขายหรือไม่?

     ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้นเพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

2. โมเดลธุรกิจคุณล้าหลัง หรือช้ากว่าคู่แข่งหรือไม่

     ในโลกของการทำธุรกิจย่อมหนีไม่พ้นการแข่งขัน ยิ่งในยุคโซเชียลมีเดียทำให้การแข่งขันรุนแรงกว่าที่เคย ธุรกิจคุณตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ได้หรือยัง ปรับตัวสู่ช่องทางออนไลน์ได้หรือยัง เบื้องต้นคุณอาจเรียนรู้กลยุทธ์ของคู่แข่งเพื่อนำมาปรับปรุงรูปแบบธุรกิจของคุณเองให้ดีขึ้น

3. สินค้าหรือบริการคุณตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่

     สินค้าหรือบริการของธุรกิจคุณยังเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือไม่ เช่น ในยุคที่คนรักสุขภาพมากขึ้น ถ้าคุณขายอาหารก็ควรลดความเค็ม ความหวาน เป็นต้น

4. คุณมีวิธีรับมือกับสถานการณ์กดดันดีแค่ไหน

     เรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแต่คุณจะรับมืออย่างไร? วิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมพร้อมสำหรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำคือการก้าวไปข้างหน้า คิดว่าธุรกิจของคุณเป็นเหมือนรถยนต์ และวันที่ฝนตกเป็นอุบัติเหตุ คุณสามารถจ่ายค่าซ่อมรถได้โดยไม่ต้องเป็นหนี้ใช่ไหม? หรือคุณจะประหยัดเงินส่วนนี้ไว้โดยไม่ซ่อมรถ ถ้าเป็นเช่นนั้นแน่นอนอาจทำให้ธุรกิจทั้งหมดของคุณตกอยู่ในความเสี่ยง!

5. คุณกล้าล้มเหลวในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือไม่

     คุณยังจำการสูญหายของหลายๆ สินค้าได้ไหม ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มถ่ายรูป โทรศัพท์โนเกีย ในช่วงเวลาที่ตกต่ำ นักประดิษฐ์หรือคนที่ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ คือผู้ที่รอดได้ในช่วงเวลาตกต่ำ เพราะพวกเขามองหาวิธีใหม่ๆ อยู่เสมอในการทำให้ธุรกิจกลับมาจากจุดที่ล้มเหลว... อาจถึงเวลาที่จะเริ่มคิดนอกกรอบ!

6. คุณใช้ข้อมูลวิเคราะห์ธุรกิจมากพอหรือยัง

     แม้ว่าการวางแผนธุรกิจปัจจุบันจะเป็นเรื่องยาก การใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างน้อยสิ่งนี้สามารถช่วยคุณหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำให้ธุรกิจคุณกลับมาแข็งแรงขึ้น

7. คุณเร่งแก้ปัญหาจนขาดความรอบคอบหรือไม่

     เมื่อธุรกิจอยู่ในช่วงขาลง เชื่อว่าทุกคนพยายามทำให้ธุรกิจกลับมามีชีวิตชีวาให้เร็วขึ้น แต่พึงระวังไว้ว่าการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วเหล่านี้อาจทำให้ธุรกิจตกต่ำหนักกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น คุณลงทุนจ้างทีมงานใหม่และคาดหวังให้พวกเขาแก้ไขปัญหาทั้งหมดให้คุณ คุณอาจผิดหวังเมื่อพวกเขาไม่เสามารถเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ได้เร็วพอ หรือคุณเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่และคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะดึงรายได้จำนวนมาก แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คุณคิด นอกจากความผิดหวังอาจเจ็บตัวอีกครั้ง

     ความจริงก็คือไม่มีคำว่า "ด่วน" เมื่อพูดถึงการเอาชนะภาวะตกต่ำ ทางออกต้องทำให้รอบคอบแต่ไม่เชื่องช้า

8. คุณรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าดีพอหรือยัง

     อย่าลืมว่าที่คุณลงมือทำทุกอย่างก็เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า ฉะนั้นถึงแม้ช่วงเวลาที่คุณกำลังปรับปรุงหรือพัฒนาธุรกกิจก็ต้องไม่ทิ้งลูกค้าต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้

     หากคุณกำลังมองหาวิธีปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มถามพวกเขาว่าพวกเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่คุณนำเสนอ อย่างน้อยทำให้คุณได้ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น

9. คุณลงมือทำอย่างจริงจังแค่ไหน

     ท้ายสุดทั้ง 9 ข้อข้างต้นที่กล่าวมาคุณได้ลงมือทำมันจริงจังหรือยัง ดังนั้นอย่ารอช้าที่จะดำเนินการทันทีอย่างรอบคอบ

ที่มา : https://www.entrepreneur.com/growing-a-business/8-tips-for-overcoming-a-business-slump/442918

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด