6 ทางออก แก้ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย รุ่นใหม่ – รุ่นเก๋า ทำงานเข้ากันได้ดี

TEXT : Momiim

Main Idea

  • ปัญหาความแตกต่าง ความไม่เข้าใจระหว่างวัย เป็นสิ่งที่ไม่ว่าองค์กรไหนๆ ก็ต้องเจอ โดยเฉพาะกับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และมีไลฟ์สไตล์แตกต่างกันออกไป

 

  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าใจ และชนะใจเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้ได้ ลองมาดู 6 วิธีรับมือเมื่อต้องทำงานกับเด็กรุ่นใหม่กัน

 

     จากที่เราได้เห็นการพูดคุยกันผ่านกลุ่มคนทำงาน ก็จะมีพูดถึงเด็กรุ่นใหม่ในที่ทำงานค่อนข้างเยอะ อย่างเช่น มีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานได้สักพัก ก็ลาออกไปแบบเดินออกไปเลยโดยไม่ได้บอกอะไรใคร หรือมาทำงานแล้วไม่ได้พูดคุยกับใครเลยก็มี เป็นต้น วันนี้เราเลยมี 6 วิธีรับมือเมื่อทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z คือ คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันที่เกิดหลัง พ.ศ.2540 มีอายุระหว่าง 9 -24 ปี มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างตามมาดูกันเลย

6 วิธีรับมือกับคนรุ่นใหม่ในที่ทำงาน

 1. ให้ข้อเสนอแนะอย่างสม่ำเสมอ

     คน Gen Z คนกลุ่มนี้ต้องการคำติชมในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพราะว่าพวกเขาคุ้นเคยกับการอัปเดตสิ่งต่างๆ ในสื่อโซเชียลมีเดียแบบเรียลไทม์ ซึ่งในสภาวะของการทำงาน จึงต้องการฟีดแบคจากผู้นำหรือหัวหน้าแบบเรียลไทม์เช่นกัน เช่นบอกว่างานที่ทำต้องปรับปรุงหรือแก้ไขไหนส่วนไหนบ้าง สิ่งนี้จะทำให้คน Gen Z รู้สึกว่าพวกเขามีค่าและยังช่วยกระตุ้นให้ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

2. ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน

     ในขณะที่คน Gen Z อาจใช้เวลาส่วนใหญ่ในโลกออนไลน์ ในที่ทำงานจึงต้องส่งเสริมให้พวกเขาได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร หรือการได้ทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ซึ่งคน Gen Z เป็นกลุ่มที่มีความเป็นกันเอง ดังนั้นถ้าผู้นำหรือหัวหน้าไม่มีในตรงนี้จะทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานตึงเครียดสำหรับกลุ่มคนเจนนี้

     และเพื่อจูงใจคน Gen Z ในที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลองให้พวกเขามีส่วนร่วมในการพูดคุยเรื่องต่างๆ ในที่ทำงาน เพื่อลดระยะห่างระหว่างคำว่า เจ้านายกับลูกน้อง เช่น งานเลี้ยงบริษัท กิจกรรมการสร้างทีม เป็นต้น

3. เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน

     ในฐานะคนยุคดิจิทัลอย่างคน Gen Z คุ้นเคยกับความสะดวกสบายของโลกออนไลน์ พวกเขาจึงไม่ชอบทำงานในสภาพแวดล้อมที่เครียดมากเกินไป จึงไม่แปลกใจว่าทำไมปัจจุบันมีเทรนด์การทำงานในขณะท่องเที่ยว (Workcation) เกิดขึ้น เพราะว่าสถานที่การทำงานแบบเดิมอาจทำให้รู้สึกไม่แฟร์สำหรับกลุ่มนี้ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการทำงานที่ทำที่ไหนก็ได้

     และการทำงานแบบ Work Form Home ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีนี้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้คน Gen Z มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น ซึ่งการไม่ต้องจำกัดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ ทำให้พวกเขารู้สึกมีอิสระ และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่นนี้ยังช่วยให้พวกเขาสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานได้

4. ให้โอกาสในการเติบโตในสายอาชีพ

     สิ่งหนึ่งที่คน Gen Z เกลียดก็คือ การหยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มที่พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และต้องการงานที่เหมาะสมกับความต้องการเพื่อพัฒนาและเติบโต ดังนั้นคน Gen Z จึงมีความทะเยอทะยานและมองหาความก้าวหน้าในอาชีพการงานอยู่เสมอ

     จากการสำรวจของ ServiceNow พบว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าโอกาสในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อมองหางาน และเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน Gen Z คือ การให้พวกเขาได้เรียนรู้งานใหม่ๆ หรือองค์กรอาจจะมีสวัสดิการให้คนกลุ่มนี้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น มีงบ 10,000 บาทต่อปีในการลงเรียนเสริมในด้านต่างๆ เป็นต้น

5. ใช้โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีในที่ทำงาน

     โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญของคน Gen Z เพราะว่าเข้ากับไลฟ์สไตล์ของพวกเขาในฐานะคนยุคดิจิทัล ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงคาดหวังสิ่งนี้ที่ในทุกที่รวมถึงที่ทำงานด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Hiip Asia ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตลาดชั้นนำ ได้นำซอฟต์แวร์ทรัพยากรบุคคลมาใช้เพื่อลดงานเอกสารและกระบวนการที่ต้องทำด้วยตนเอง

6. ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

     เพราะเรื่องความหลากหลายทางเพศมีความหมายมากกับคนในยุคปัจจุบัน และ Gen Z เป็นกลุ่มคนที่เรียกได้ว่ามีความหลากหลายทางเพศมากที่สุด จากข้อมมูลซึ่งสำรวจจากประชากร 12,000 คนในสหรัฐฯ ระบุผลสำรวจพบว่าในจำนวนของผู้ที่นิยามตัวเองเป็น LGBTQ นี้มีชาวเจเนเรชั่น Z (Gallup ระบุว่าเป็นกลุ่มคนที่เกิดในปี 1997-2003) อยู่ถึง 21% ถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในบรรดาทุกกลุ่ม ดังนั้นถ้าองค์กรมีการส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ จะทำให้คนกลุ่มนี้มีความสุขกับบรรยากาศในที่ทำงานได้

     และนี่คือ 6 สิ่งที่ทำแล้วชนะใจเด็กรุ่นใหม่ได้

 ที่มา : https://blog.grovehr.com/how-to-motivate-gen-z-employees

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด