รู้หรือไม่ บริษัทมีกำไรสูงขึ้น 15% แค่ฝ่ายขายกับฝ่ายการตลาดไม่ทะเลาะกัน วิธีทำลายกำแพงสองแผนกให้เป็นหนึ่ง

 

 

      มีผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อทีมขาย ทีมการตลาด และผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีความสอดคล้องกัน บริษัทนั้นจะมีรายได้เติบโตเร็วขึ้น 19% และทำกำไรได้สูงขึ้น 15%

      ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้งสองทีมต่างก็มีความสำคัญต่อธุรกิจไม่แพ้กัน แต่หลายองค์กรมักเจอปัญหาที่น่าหนักใจคือ ทั้งสองทีมมักเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน ดังนั้นหากทำให้ทีมขายและการตลาดเป็นหนึ่งเดียวผลประกอบการธุรกิจของคุณย่อมดีขึ้นแน่นอน เหมือนกับที่มีการวิจัยว่าเมื่อการขาย การตลาด และผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีความสอดคล้องกัน องค์กรนั้นจะบรรลุการเติบโตของรายได้เร็วขึ้น 19% และความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้น 15% ต่อไปนี้เป็นสามวิธีในการไปถึงเป้าหมายดังกล่าวจาก Ben Goldstein ผู้ซึ่งเคยทำงานบริษัท B2B ที่ทีมขายและการตลาดไม่คุยกัน หรือจะพูดง่ายๆ ว่าเธอเคยอยู่ในองค์กรที่ฝ่ายขายและการตลาดเป็นศัตรูกันอย่างเปิดเผย เถียงกันจนถึงมีบางคนต้องร้องไห้ในลานจอดรถ

      หากฝ่ายขายและนักการตลาดในบริษัทคุณเป็นเหมือนกัน นี่คือสามสิ่งที่จะทำให้ทีมขายและการตลาดของคุณหยุดการต่อสู้

1. ปฏิบัติต่อทั้งสองทีมเสมือนเป็นทีมเดียว

      การรักษาความตึงเครียดระหว่างการขายและการตลาดเริ่มต้นด้วยการดึงทีมขายและนักการตลาดออกจากการทำงานแบบ silo ต่างฝ่ายต่างทำงานแยกกันเป็นแผนกใครแผนกมัน แต่เปลี่ยนการทำงานของพวกเขาให้เป็นทีมเดียวกัน

      เหตุผลก็คือ เมื่อพวกเขาได้ทำงานร่วมกันเป็นทีมแล้ว ทำให้เกิดการพูดคุยในฐานะเพื่อนร่วมทีม และความใกล้ชิดความคุ้นเคยทำให้เกิดสิ่งที่น่าอัศจรรย์ขึ้น อาทิ เริ่มมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝ่ายขายเริ่มส่งต่อข้อมูลเชิงลึกที่พวกเขาได้รับจากการโทรคุยกับลูกค้านำไปให้นักการตลาด การกำหนดเป้​​าหมายแคมเปญได้ตรงโดนใจลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม

“การทำงานเป็นทีมทำให้ทัศนคติของพวกเขาเปลี่ยนไป ตระหนักว่าความสำเร็จของบริษัทขึ้นอยู่กับการพึ่งพากันและกัน”

2. ตั้งเป้าหมายร่วมสิ่งเดียว

      นอกจากการสื่อสารและทำงานกันใกล้ชิดมากขึ้นแล้ว สิ่งที่สร้างความสามัคคีระหว่างสองแผนกได้ดีคือ การมีเป้าหมายร่วมกันเพียงจุดเดียว ในกรณีของการขายและการตลาด เป้าหมายร่วมกันควรจะเป็นการโฟกัสรายได้ที่มากขึ้น

     แต่โดยทั่วไปที่พบเห็นบ่อยๆ ในบริษัทที่ฝ่ายขายกับการตลาดมีปัญหากัน ส่วนหนึ่งมาจากแต่ละทีมมักมีเป้าหมายต่างกัน อาทิ นักการตลาดมีเป้าหมาย ตัวเลขของยอดการเข้าชมเว็บไซต์ และสถิติบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ในขณะที่ทีมขายมีเป้าหมายที่จำนวนการโทรหาลูกค้า เป็นต้น

     ทุกครั้งที่คุณมีเกณฑ์วัดความสำเร็จที่แตกต่างกัน ต่างฝ่ายก็จะมุ่งทำให้ตัวเองได้ตามเป้าหมายของตน แต่ถ้าคุณสามารถทำให้ทีมขายและทีมการตลาดมีเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ เพิ่มรายได้ให้มากขึ้น พวกเขาจะใช้เวลาน้อยลงในการไล่ตามตัวชี้วัดที่ไร้สาระ ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างง่ายดายและไม่ส่งผลกระทบ จากนั้น พวกเขาสามารถใช้เวลามากขึ้นในการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือ การสร้างรายได้องค์กรให้สูงขึ้น

3. ฐานข้อมูลเดียวกัน

     หลายครั้งที่ทีมขายและทีมการตลาดไม่ลงรอยกันมาจากเหตุผลง่ายๆ คือ พวกเขาไม่มีข้อมูลเดียวกัน ทีมขายสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้า รายชื่อ เบอร์โทร ฯลฯ ในทางกลับกัน เวลาฝ่ายการตลาดทำแคมเปญที่ต้องส่งอีเมลให้ลูกค้าก็อาจมีอีกหนึ่งฐานข้อมูล ซึ่งอาจแตกต่างจากทีมขาย

     มันอาจฟังดูไม่สมเหตุสมผล เพราะบางครั้งนักการตลาดไม่รู้ว่าพวกเขากำลังคุยหรือส่งข้อมูลไปให้กับใคร เป็นลูกค้าประจำ, อดีตลูกค้า ผู้มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้า เพราะคำตอบสำหรับคำถามนั้นมีอยู่ใน CRM ของฝ่ายขายที่นักการตลาดไม่สามารถเข้าถึงได้

    “ทำไมสมาชิกบางคนถึงบอกให้หยุดส่งข้อความ เพราะมีข้อความมากมายที่ส่งไปหาเขาภายในหนึ่งเดือน ทั้งๆ ที่ทีมการตลาดเพิ่งส่งอีเมลเพียงฉบับเดียว นี่คือผลลัพธ์ของการแยกข้อมูล คือการส่งข้อความมากเกินไป และโอกาสที่พลาดไปนับไม่ถ้วน การใช้แหล่งข้อมูลเดียวกัน ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้และช่วยให้นักการตลาดเข้าใจดีขึ้นว่าความพยายามของพวกเขาขับเคลื่อนผลลัพธ์การขายอย่างไร”

หนึ่งทีม หนึ่งเป้าหมาย หนึ่งเครื่องมือ

      แนวคิดข้างต้นอาจจะฟังดูเป็นแนวคิดง่ายๆ แต่การนำไปใช้จริงนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องมีตัวช่วยเช่น การนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น และคุณไม่สามารถคาดหวังให้ทีมขายและทีมการตลาดทำงานร่วมกันได้เลย ถ้าพวกเขากำลังเล่นเกมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยเป้าหมายร่วมกันในการสร้างรายได้

ข้อมูลจาก :https://www.entrepreneur.com/article/414435

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด