โลกก็ต้องรักษ์ องค์กรก็ต้องทำกำไร 5 วิธีปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เอสเอ็มอีก็ทำได้

 

 

       การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นเพียงคำพูดติดปากอีกต่อไปแล้ว มันได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ 78 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกากล่าวว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีก 64 เปอร์เซ็นต์ที่เต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้

      เห็นได้ชัดว่าธุรกิจมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่ช่วยรักษาโลกเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลกำไรของธุรกิจได้อีกด้วย เมื่อคุณทำให้ธุรกิจของคุณมีจุดยืนทางด้านนี้ คุณจะดึงดูดลูกค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากขึ้น

      ถ้าหากบริษัทของคุณต้องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ได้

1. คิดใหม่ทำใหม่กับเรื่องบรรจุภัณฑ์

      บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในแหล่งของเสียที่ใหญ่ที่สุด จากรายงานของ Business News Daily ระบุว่า ลูกค้าร้อยละ 77 รู้สึกว่าพลาสติกนั้นเป็นบรรจุภัณฑี่ไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม McKinsey & Company (2020) ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคใน 10 ประเทศ ที่มีต่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ มีสิ่งที่น่าสนใจ 3 ข้อด้วยกันคือ

      หนึ่ง ผู้บริโภคต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยด้านอาหารและสุขอนามัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย และบราซิล เป็นต้น

      สอง ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคในยุโรปและญี่ปุ่นกังวลมากที่สุด คือ การเป็นขยะทะเล ผู้บริโภคกว่า 50% ในจีน อินโดนีเซีย สหรัฐฯ บราซิล เยอรมนี อิตาลี อินเดีย และสหราชอาณาจักร ยินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       สาม ในแต่ละประเทศมีเห็นต่างกันว่า บรรจุภัณฑ์ชนิดใดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคสหรัฐฯ และยุโรปเห็นว่า กล่องกระดาษ ขวดแก้ว และเหยือกแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ขณะที่ผู้บริโภคจีน บราซิล และอินโดนีเซีย ยกให้ฟิล์มพลาสติกชนิดสลายตัว (Compostable Plastic) หรือรีไซเคิลได้ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อมในมุมมองของผู้บริโภคทุกประเทศ คือ บรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพลาสติก กระดาษ และอะลูมิเนียมฟอยล์ อยู่ รวมกัน หรือบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) อาทิ ถุงบรรจุขนมขบเคี้ยว ถุงอาหารแช่แข็ง และถุงบรรจุน้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น

2. เลือกวัตถุดิบจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

      การจะทำให้ธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งคือ เริ่มตั้งแต่การหาซัพพลายเออร์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นตามแหล่งชุมชนต่างๆ ที่มีเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ธุรกิจของคุณอาจไปร่วมมือและสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นเหล่านี้ซึ่งถือเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนแล้ว ยังทำให้ชุมชนรู้จักสินค้าเป็นการขยายฐานกลุ่มลูกค้าเพิ่มได้อีกทางหนึ่ง

3. มีของเสียให้น้อยที่สุด

      ในการผลิตสินค้านั้นย่อมจะมีของเสียเกิดขึ้นในระหว่างทางอย่างมากกมาย คุณอาจต้องพยายามตั้งเป้าลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือถ้าเป็น Zero waste ได้จะยิ่งดีมาก อย่างน้อยเริ่มการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพหรือรีไซเคิลได้ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะไม่เพิ่มของเสียที่มีนับล้านตันในแต่ละปี

4. พลังงานทางเลือก

       ปัจจจุบันผู้ให้บริการสาธารณูปโภคหลายแห่งใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติซึ่งรวมกันทำให้เกิดการปล่อย CO2 หลายพันล้านเมตริกตันในแต่ละปี การเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจของคุณยั่งยืนได้ ปัจจุบันในบ้านเราเองก็มีหน่วยงานของรัฐหรือแม้แต่สถาบันการเงินหลายแห่งที่สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกให้กับภาคธุรกิจ

5. ค้นหาโซลูชันที่ยั่งยืนสำหรับลูกค้า

      อีกทางเลือกหนึ่งในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือ การสร้างธุรกิจที่เน้นการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ธุรกิจการจัดสวนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแทนอุปกรณ์ที่ใช้แก๊ส

      ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการสามารถให้ข้อเสนอที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นแก่ลูกค้า ในกรณีนี้ ความพยายามของคุณในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นคุณลักษณะหลักที่สร้างความแตกต่างให้กับบริษัทของคุณ มีโอกาสสำหรับทั้งบริษัท B2B และ B2C

ข้อมูลจาก : https://www.entrepreneur.com/article/427664

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด