คิดนอกกรอบแบบไหน? เปลี่ยนธุรกิจขาลงให้เป็นธุรกิจขาขึ้น

 

    ชีวิตมีขึ้นได้ ก็มีลงได้

    เมื่อไรเราสนุกกับมัน มันก็จะสนุกกับเราเช่นกัน...

     ธุรกิจก็เหมือนชีวิตนั่นแหละ ขึ้นได้ก็ลงได้ สติและความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤต ไปได้ ตั้งสติ ค่อยๆ คิด แล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์พลิกแพลง ยืดหยุ่น มองหาสิ่งที่ “นอกกรอบ” ไปจากที่เคยทำมาบ้าง

     อยากจะบอกว่า โลกนอกกรอบนั้นสวยงามและสนุกจะตายไป

     “ทำธุรกิจก็เหมือนกับม้าแข่งในสนาม มองเห็นแต่ลู่วิ่งด้านหน้า ปัญหาบางอย่างก็มองไม่เห็น เมื่อไร ที่ขยับขึ้นมานั่งในตำแหน่งกองเชียร์บนอัฒจันทร์ ก็จะเห็นภาพรวม ว่าปัญหาและจุดสำคัญอยู่ตรงไหน”

     เป็นคำแนะนำของกุนซือท่านหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมาก หลายๆ ครั้งที่ธุรกิจมาถึงทางตันหรือเจอปัญหา ก็มักจะใช้วิธีการมองภาพให้มึนๆ เบลอๆ แล้ว Zoom Out ตัวเองออกจากปัญหา แล้วก็จะพบกับวิธีแกัปัญหา ได้ทุกครั้ง

    หากว่าวันนี้ธุรกิจมาถึงทางตันหรือเจอปัญหา ลอง Zoom Out ตัวเองออกมา แล้วมองหาความคิด นอกกรอบต่างๆ เหล่านี้ดูค่ะ

1. ‘คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่’ จากผลิตภัณฑ์หรือ วัตถุดิบเดิมที่มี (โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน) เช่น ถ้าเป็น

ของกิน ก็ลองหาสูตรใหม่ เพิ่มรสชาติใหม่ หรือ เบลน/ ผสมส่วนผสมใหม่ๆ เข้าไปในสูตรเดิม ตัวอย่างจาก ธุรกิจของผู้เขียน เป็นเมล็ดกาแฟคั่วเกรด Specialty ก็ใช้วิธีเปลี่ยนระดับการคั่ว เปลี่ยน Process แล้วก็ เอาเมล็ดเดิมที่มีมา Blend เข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ Profile ใหม่ๆ ออกมาโดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน แต่ได้ New Product ออกมาสร้างความตื่นเต้น ใหักับลูกค้า

2. ‘ขายเป็น Set’ การขายเป็น Set หรือขายพ่วง วิธีนี้จะทำให้มี “รายได้ต่อหัว”​ จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

เช่น ปกติขายขนมชิ้นละ 90 บาท อาจจะขายเป็น Set 5 ชิ้น แต่ตั้งราคาที่ 420 บาท (จากราคาเต็ม 450) วิธีนี้จะ ทำให้ได้เงินจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นต่อหนึ่งออเดอร์ ถึงแม้ว่ากำไรต่อหน่วยอาจจะน้อยลง แต่อย่างน้อยการ ได้เม็ดเงินเป็นก้อนเข้ามาย่อมดีกว่า

3. ‘ทำสินค้า Limited’ ในที่นี้อาจจะเป็นลิมิเต็ทตามฤดูกาล ตามวันสำคัญต่างๆ เช่น ของกินที่มี

วัตถุดิบเป็นผลไม้ หรืออาหารทะเลซึ่งก็มีฤดูกาลที่ส่งผลให้มีความพิเศษได้เช่นกัน ลิมิเต็ทอาจจะเล่นกับ วันสำคัญ เช่น Collection วันวาเลนไทน์ วันสงกรานต์ วันครอบครัว หรือลิมิเต็ทตามฤดูกาล ร้อน หนาว ฝน อย่างเมล็ดกาแฟของผู้เขียนมีทั้งชื่อ Summer, เหมันต์รันจวญ​(ขายฤดูหนาว), พิรุณเบิกฟ้า (ขายฤดูฝน) เป็นต้น

คำว่า “ลิมิเต็ท” ในที่นี้อยากให้มองนอกกรอบเป็นเรื่องของการ “หาเรื่องทำ” ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องหา

ความเชื่อมโยงใดๆ ทั้งสิ้น จะเป็น ลิมิเต็ทสำหรับวันพุธวันเดียวเท่านั้น, ลิมิเต็ทวันเกิดแบรนด์, ลิมิเต็ทโทนสี Lemon Collection, ลิมิเต็ทจังหวัดโน้นนี้, ลิมิเต็ทข้าวกระเพราไก่จากใบกระเพราะที่ปลูกข้างๆ แปลงใบกัญชา ฯลฯ คิดฟุ้งๆ ไปเถอะค่ะ แล้วหา Story ให้ได้

4. ‘มโนสร้าง Story ให้เป็น’ จริงๆ แล้วการสร้าง story ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่มันก็ยังเป็นจุดขาย

ที่สามารถ Up Value ให้ Product ได้เสมอมา สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าเดิมๆ นั่นแหละ แต่จับมาแต่งหน้า ทาปาก แล้วสร้าง Story เข้าไป ก็กลายเป็น New Collection ได้เหมือนกัน

อย่าคิดว่าคุณหาจุดขายไม่ได้ เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวนี่แหละ เช่น ขายข้าวไข่เจียว จากไข่ไก่เลี้ยง ธรรมชาติ ที่เล้าไก่ในสวนหลังบ้านคุณเอง ด้วยสารอาหารออแกนนิกส์ พิถีพิถันเก็บไข่เองทีละฟอง น้ำปลา ที่ใช้ทำไข่เจียวก็เป็นน้ำปลาหมักเองหลังบ้าน โดยหมักในไหที่เป็นมรดกตกทอดจากคุณยาย แล้วทอดด้วยกะทะ สมัยรัชกาลที่ 5 บนเตาถ่านที่ใช้ไม้ถ่านอย่างดีจาก อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ทำเสิร์ฟลิมิเต็ทแค่วันละ 10 จานเท่านั้น  

5. ‘ระดมทุนจากสมาชิกถ้าธุรกิจอยู่ในช่วง Cash Flow ติดขัด ให้ใช้วิธีเปิดรับสมัครสมาชิก เพราะมัน

จะช่วยให้คุณได้เงินเป็นก้อนมาหมุนในธุรกิจ และที่สำคัญก็คือ เป็นการวัดใจ ว่าลูกค้าของคุณมี Loyalty กับแบรนด์มากน้อยแค่ไหนด้วย

     เมื่อไรที่ธุรกิจอยู่ในช่วงขาลง ให้พยายามออกจากกรอบของ Comfort Zone วิธีการที่เคยทำให้คุณอยู่ ในยุครุ่งเรืองให้ได้ เพราะโลกเปลี่ยนไปเร็วมากชนิดวันต่อวัน วิธีการที่เคยทำแล้วสำเร็จ วันนี้อาจไม่ใช่ ในขณะที่ วิธีการที่ไม่เคยลองทำ ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้

    ออกจากลู่วิ่งในสนามแข่งให้ได้ มองให้กว้างไว้ ทุกอย่างมีทางแก้

    และเรายังคงมีความหวังถึงธุรกิจและชีวิตที่สวยงามได้เสมอ

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด