รู้จัก PLASTIC CREDIT ตัวช่วยลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์ พา SME เข้าสู่วิถีความยั่งยืนในโลกการค้าอนาคต




         มนุษย์ 1 คน สร้างพลาสติกประมาณคนละ 50 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 4,000-5,000 กิโลกรัมในช่วงชีวิตคน


         SME หรือ ธุรกิจขนาดเล็กจะสร้างพลาสติก 10-100 กิโลกรัมต่อเดือน


          ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่สร้างขยะพลาสติกนับตั้งแต่ หลายสิบ ไปจนถึงกว่า 100 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน


          แต่พลาสติกเหล่านี้กลับถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์!



 
               
           ถึงแม้หลายธุรกิจจะตระหนักในเรื่องนี้ แต่การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะไม่มีแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความแตกต่างที่ชัดเจน


            ในเมื่อระบบในไทยไม่เอื้อ ภาคเอกชนจึงสร้างระบบขึ้นมา


            คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล (Corsair Group International) ผู้พัฒนาโซลูชั่นธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีทั้งสำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย (Corsair Group Thailand) และสำนักงานใหญ่ประจำภาคพื้นยุโรปที่เนเธอร์แลนด์ เข้าใจความท้าทายในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของธุรกิจไทย จึงหาวิธีที่สะดวกและง่ายสำหรับคนทำธุรกิจในประเทศไทยเพื่อทำให้การรีไซเคิลเป็นรูปธรรมและสร้างผลกระทบเชิงบวกในรูปแบบที่เรียกว่า CSR Plastic Credit ที่จะมาเป็นเครื่องมือทั้งสำหรับผู้ประกอบการมุ่งสู่สถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral)

 
           เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีระบบการจัดการขยะได้ดี โดยมีอัตราการรีไซเคิลขยะกว่า 80% สัดส่วนการนำพลังงานกลับคืนอยู่ที่ 17% ซึ่งกระบวนการรีไซเคิลขยะที่ว่านี้ทำให้สามารถนำขยะเก่ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้มากถึง 97%


 

 

CSR Plastic Credit ทำงานอย่างไร?

               

           หลักการทำงานของ CSR Plastic Credit จะเหมือนกับ Carbon Credit ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกราว 50 กิโลกรัมต่อปี สามารถเลือกซื้อแพ็คเกจ 10 ปี ซึ่งกำหนดปริมาณขยะพลาสติกที่ 500 กิโลกรัม (ปีละ 50 กิโลกรัม) แล้วคอร์สแอร์จะเป็นผู้รับผิดชอบรีไซเคิลขยะพลาสติกปริมาณนั้นให้


           นับตั้งแต่การเก็บรวบรวมขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในโรงงานที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-oil) และสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซล และสำคัญที่สุดคือสามารถเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชิ้นใหม่ได้ วิธีการนี้จึงสามารถลดความจำเป็นในการใช้น้ำมันแบบเดิมๆ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศอย่างได้ผล





Plastic Credit ตัวเลขที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

 
               
           ธุรกิจที่ซื้อแพ็คเกจ CSR Plastic Credit จะได้รับใบเสร็จดิจิทัลซึ่งจะระบุถึงข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกขจัดออกจากสภาพแวดล้อมจริง โดยขยะพลาสติกทุกๆ 1 กิโลกรัม รวมถึงจะได้รับแต้ม CSR Plastic Credits 10 แต้ม ซึ่งขั้นตอนการทำงานและแต้มเครดิตจะถูกบันทึกบนเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งเป็นระบบเก็บข้อมูลแบบ Open Source เพื่อมอบความโปร่งใสและความเชื่อถือได้ต่อสาธารณะ
               

         ตัวเลขเหล่านี้เองจะนำไปหักลบข้อมูลการสร้างขยะพลาสติก (Plastic Footprint) ในรายงานผลประกอบการขององค์กร และนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อยกระดับหน่วยงานหรือแบรนด์สินค้าสู่สถานองค์กรที่ไม่สร้างขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีตรามาตรฐานระดับสากลให้การรับรอง ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจและการดำเนินงานอย่างมหาศาล



               



          องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wildlife Fund: WWF) นิยาม Plastic Credit ว่า “หน่วยการถ่ายโอนที่แสดงถึงปริมาณพลาสติกจำนวนหนึ่งซึ่งถูกเก็บรวบรวมและนำไปรีไซเคิล เพื่อไม่ให้ปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม”

 
 

            การนำขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ แทนการทิ้งขว้างสู่สิ่งแวดล้อมหรือปนเปื้อนในมหาสมุทรจนสร้างความเสียหายแก่โลก ในขณะเดียวกัน ยังช่วยยกระดับฐานะขององค์กรให้เข้าใกล้การเป็น “องค์กรสีเขียว” เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการดำเนินงาน เพราะผู้บริโภคยุคนี้ต้องการซื้อพลิตภัณฑ์และบริการจากแบรนด์ที่มีการลดขยะพลาสติกและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เหมาะสม พวกเขากำลังใส่ใจโลกใบนี้กันมากขึ้น
 



 
www.smethailanclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด