เปิดลิสต์ 7 พฤติกรรมอันตรายที่ SME ทำแล้วโตยากแต่ตายง่าย




         ถ้าไม่นับรวมเหตุการณ์วิกฤตโควิดระบาด มักจะมีธุรกิจ SME ที่ปิดตัวลงหลังจากเปิดกิจการภายใน 5 ปีแรกถึง 95 เปอร์เซ็นต์ และยังมีอีกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ปิดกิจการภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี ซึ่งทาง ธนาคารทหารไทย (TMB) ได้มีการวิเคราะห์ว่าเหตุผลที่ SME ส่วนใหญ่ล้มเหลวนั้น เกิดจากพฤติกรรมดังนี้
 

         1.87 เปอร์เซ็นต์ ทุ่มเวลากับการผลิต จนไม่มีเวลาให้การตลาด จึงพลาดโอกาสสร้างจุดเด่น และความแตกต่างจากคู่แข่ง


          2.84 เปอร์เซ็นต์ ขาดการวางแผนทางการเงิน ส่วนใหญ่ใช้เงินเก็บส่วนตัวหรือของครอบครัวมาเริ่มทำธุรกิจ ซึ่งถ้าธุรกิจผิดพลาดก็จะกระทบไปทั้งระบบ


         3.72 เปอร์เซ็นต์ ทำธุรกิจโดยไม่มีแผนธุรกิจ เมื่อไม่การวางแผนล่วงหน้าหรือมีแผนสำรอง ส่วนใหญ่จึงทำได้แค่แก้ปัญหารายวัน ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้ไม่มีเวลาวางแผนธุรกิจระยะยาวได้





         4.70 เปอร์เซ็นต์ ทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว ดังนั้น 49 เปอร์เซ็นต์ ของ SME ยอมรับว่าพบปัญหาธุรกิจสะดุด เมื่อเจ้าของไม่อยู่ดูแลหรือขายสินค้าเองจึงส่งผลให้ยอดขาย ออเดอร์ลดลง หรือฐานลูกค้าหายไปทันที


         5.67 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้แยกกระเป๋าเงิน ใช้เงินส่วนตัวและเงินธุรกิจเป็นกระเป๋าเดียวกัน ทำให้ไม่รู้ข้อมูลการเงิน ต้นทุนที่แท้จริงส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว





          6.38 เปอร์เซ็นต์ กลัวการเปลี่ยนแปลงไม่พร้อมรับมือกับสิ่งใหม่ โดยมีหลายปัจจัย เช่น บางรายกลัวจะมีปัญหาในช่วงเริ่มต้นสิ่งใหม่ บางรายมองว่าธุรกิจเดิมที่ทำนั้นดีอยู่แล้ว ฯลฯ


         7.37 เปอร์เซ็นต์ ยอดขายดีแต่ไม่มีกำไร เนื่องจากมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในการขายของขาดทุน เช่น ลดราคาสินค้าแต่ไม่ได้ดูต้นทุน ไม่ใส่เงินเดือนตนเองในต้นทุนสินค้า ฯลฯ








www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ   

4 เครื่องมือช่วย “ตัดสินใจ” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากมีทางเลือกอยู่หลายทาง แล้วทางไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และข้อผิดพลาดน้อยที่สุด SME Thailand เลยอยากจะแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจที่มีความรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด