ต้องใช้! “36 กลยุทธ์ซุนวู” ช่วย SME จัดการทีมงานและธุรกิจ รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง (ตอนที่ 1) โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา


                 

     “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” เป็นประโยคที่คุ้นหูกันดี ซึ่งเป็นข้อคิดเชิงปรัชญาจาก “ซุนวู” ผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม
               

      งงกันไหมว่าซุนวูเป็นใคร ?
               

      ซุนวู เป็นนักการทหารและนักปกครองชั้นเลิศสมัยชุนชิว เมื่อประมาณ 2400-2500 ปีก่อนระหว่างพุทธกาล จริงๆ แล้วประโยคนี้ เกิดจากการรวมประโยคคำสอนของซุนวูที่กล่าวว่า
               

       “การชนะทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีการอันวิเศษยิ่ง” และ “หากรู้เขา รู้เรา แม้รบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธ์นั้นแล” (ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากพระอัครเดชญาณเตโช)


      ผมขอนำกลยุทธ์ของซุนวู มาประยุกต์ใช้ในการจัดการทีมงานและบริหารธุรกิจ แบบข้อต่อข้อ ค่อยๆ ว่าไป



 
               
      1. ปิดฟ้าข้ามทะเล - เมื่อทำศึกสงคราม แต่ละฝ่ายมักคิดว่าตนเองตระเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว จึงตั้งตนอยู่ในความประมาท (ในแง่การบริหาร คนส่วนใหญ่ มักคิดว่าตนเองทำดีที่สุดแล้ว จึงไม่ค่อยฟังหรือใส่ใจกับการทัดทานหรือทักทวงจากผู้อื่น เข้าข่ายตั้งตนอยู่ในความประมาณ คิดว่าตนเองดีแล้ว เก่งแล้ว)


     2. ล้อมเว่ยช่วยเจ้า - เมื่อข้าศึกรวมกำลังกันอยู่ ควรใช้กลอุบายแยกข้าศึกออกจากกัน เพื่อให้ห่วงหน้าพะวงหลัง จะได้โจมตีง่ายขึ้น (ในแง่การบริหาร นี่คือกลยุทธ์ที่เรียกว่า “แบ่งแยกแล้วปกครอง” พนักงานหัวโจก ที่คอยยุแยงให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร ถ้าปล่อยให้รวมตัวกันยิ่งมากยิ่งจัดการยาก หาอุบายที่จะแบ่งแยกหรือทำให้แตกแยกกัน การปกครองจะง่ายขึ้น)



                 

     3. ยืมดาบฆ่าคน
- แนวคิดนี้เชื่อว่า ศัตรูของศัตรูคือมิตรของเรา หาทางยืมมือคนอื่นไปจัดการกับศัตรูของเราแทน (ในแง่การบริหาร บางทีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากตัดสินใจ “ชน” เอง ก็อาจเจ็บตัวและเสียชื่อได้ วิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ ส่งคนอื่นไป “ชน” แทนเรา เรียกว่า “รบแบบมือไม่เปื้อนเลือด” หรือ “สงครามตัวแทน” ก็ได้)
               

     4. รอซ้ำยามเปลี้ย - หมายความว่า เมื่อข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ก็เป็นโอกาสสำคัญสำหรับเราที่จะเอาชนะได้ง่าย (ในแง่การบริหาร ต้องรู้จักประเมินกำลังของคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งภายในหรือภายนอกองค์กรก็ตาม เมื่อใดก็ตามที่คู่แข่งเพลี่ยงพล้ำ เมื่อนั้นเป็นโอกาสของเรา)


      5. ตีชิงตายไฟ - หมายความว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤต ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี (ในแง่การบริหาร จงจำไว้ว่าทุกวิกฤตของคู่แข่งเป็นโอกาสสำหรับเราเสมอ เมื่อทีมงานของคู่แข่งหรือศัตรูกำลังระส่ำระสายหรือเกิดความขัดแย้งกันเองภายใน เป็นโอกาสที่เราจะรีบจู่โจมเพื่อชิงความได้เปรียบ)



               

     6. ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม - หมายถึงการหลอกลวงให้ข้าศึกไขว้เขว ทำทีว่าจะเข้าตีข้างหลังแต่บุกทะลวงด้านหน้า เป็นต้น (ในแง่การบริหาร คือการ “สับขาหลอก”​ ทำให้คู่แข่งคิดว่าเราจะมาไม้นี้ แต่ในความเป็นจริง กลับพลิกโผใช้วิธีอื่นที่อีกฝ่ายคาดไม่ถึง)
               

      7. มีในไม่มี - หมายความว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง (ในแง่การบริหาร คือการทำให้ศัตรูหรือคู่แข่งตายใจว่าวิธีการตื้นๆ แบบนี้เราไม่ทำแน่ แต่พอถึงเวลาก็ใช้วิธีการง่ายๆ ที่ถูกมองข้ามนี่แหละ มาใช้ในการเอาชนะ)
               

     8.  ลอบตีเฉินชัง - หมายถึงการมองหาจุดอ่อนหรือจุดที่คู่แข่งไม่ใส่ใจ และโจมตีตรงจุดนั้น (ในแง่การบริหาร ทุกคนมีจุดอ่อน อย่าไปต่อสู้ในสิ่งที่เขารู้ดีและเป็นจุดแข็งของเขา เพราะจะมีแต่แพ้กับแพ้ แต่จงมองหาจุดอ่อนหรือจุดตายให้เจอ แล้วมุ่งโจมตีจุดนั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่นานก็จะประสบกับชัยชนะ)



               

     9. ดูไฟชายฝั่ง - เป็นการใช้ช่วงจังหวะการเปลี่ยนแปลงของข้าศึก มาเป็นประโยชน์ให้ตัวเอง (ในแง่การบริหาร ถ้าองค์กรมีพนักงานกลุ่มหนึ่งที่มักค่อยสร้างปัญญาอยู่เป็นระยะๆ เผอิญหัวหน้ากลุ่มถึงกำหนดเวลาต้องเกษียณอายุ และต้องมีการปรับเปลี่ยนผู้นำ ก็ถือเป็นจังหวะอันดีในการช่วงชิงมวลชน)
               

     10. ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม - ประมาณว่า "ใช้ความสงบสยบเคลื่อนไหว" (ในแง่การบริหาร บางครั้งการตัดสินใจว่าจะไม่ทำอะไร ก็เป็นการตัดสินใจที่เหมาะสม เรื่องบางเรื่อง เวลาอาจช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้)
               

     11. หลี่ตายแทนถาว - หมายถึง ยอมเสีย “มืด” เพื่อประโยชน์แห่ง “สว่าง” คือจำต้องเสียสละส่วนน้อย เพื่อชัยชนะส่วนใหญ่ (ในแง่การบริหาร บางทีการตัดสินใจให้พนักงานเก่งๆ ที่เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ออกจากองค์กรไป ก็เหมือนการยอมตัดนิ้วเพื่อรักษาแขนไว้ ฉันใดก็ฉันนั้น)



              

     12. จูงแพะติดมือ - แปลว่า แม้ข้าศึกประมาทหรือเลินเล่อเพียงเล็กน้อย ก็ต้องฉกฉวยผลประโยชน์มาให้ได้ (ในแง่การบริหาร หมายถึงการไม่มองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นเสียงบ่นจากพนักงานเพียงไม่กี่คน เป็นต้น เพราะเรื่องเล็กๆ เหล่านั้น อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้)
               

     13. ตีหญ้าให้งูตื่น - เป็นกลยุทธ์การส่งคนสอดแนมให้รู้ชัดและเข้าใจสภาพแวดล้อม ก่อนเคลื่อนทัพ (ในแง่การบริหาร การมี “สาย” ที่คอยสืบเรื่องต่างๆ จะช่วยให้ได้ข้อมูลบางอย่างในเชิงลึก ซึ่งอาจช่วยในการตัดสินใจให้ดีขึ้นได้
               

     เนื้อที่หมดพอดี คราวหน้ามาเล่าต่อ รอติดตามครับ



 
 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เขียนสัญญาเช่ายังไงให้รัดกุม ธุรกิจไม่เสียเปรียบ

สัญญาเช่า เรื่องใกล้ตัวผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหมการมีสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม สามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย

ทำงานให้ได้งาน 4 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทำไมบางคนงานท่วมหัว ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แต่งานกลับไม่หมดซะที แถมยังส่งงานไม่ทันกำหนด เราเลยมีเทคนิค เช่น Eisenhower Matrix, Eat that frog, Pomodoro และ กฎ 80/20  ซึ่งจะช่วยให้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชีวิตการทำงานไม่เครียดอีกต่อไป

ประชุมยังไงให้ได้งาน เทคนิคจาก 4 คนดังที่ประสบความสำเร็จ 

การประชุมที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จ มักจะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงมีเคล็ดลับการประชุมที่แตกต่างกันของคนดังที่ประสบความสำเร็จ  พร้อมแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมาฝาก