“3 กฎเหล็ก” สร้างสินค้าใหม่ให้ปัง ตั้งแต่แบบร่าง ไปจนถึงการผลิต

TEXT : กองบรรณาธิการ





     ทุกวันนี้ไม่มีกระบวนการผลิตอะไรที่เป็นความลับหรือเป็นเรื่องใหม่ได้อย่างแท้จริง เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายได้ง่ายขึ้น จึงไม่มีองค์ความรู้ใดบนโลกที่จะสามารถเป็นความลับได้อีกต่อไป แต่สิ่งสำคัญ คือ การประยุกต์นำความรู้เหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้มากกว่า โดยเฉพาะในการทำธุรกิจที่ต้องมีการแข่งขันกันอยู่เรื่อยๆ


     ซึ่งการจะผลิตสินค้าใหม่ขึ้นมาสักชิ้นให้ประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน และต่อไปนี้ คือ 3 เคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณสามารถแปลงความรู้สู่ผลิตภัณฑ์ที่ดี ไปจนถึงกระบวนการผลิต และออกขายได้ในที่สุด



 
 
จัดทำรายการวัตถุดิบให้แม่นยำ
               

     เพื่อให้ค่าใช้จ่ายทุกอย่างออกมาครอบคลุมที่สุด ไปจนถึงการตั้งราคาสินค้าเพื่อจำหน่ายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การจะคิดออกผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาสักชิ้น ผู้ประกอบการต้องคิดคำนวณให้ดีก่อนว่าวัตถุดิบและวัสดุต่างๆ ที่ต้องนำมาใช้เป็นชิ้นส่วนประกอบในการผลิต ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการผลิต เช่น ค่าแรงงาน ภาษีนำเข้า แพ็กเกจจิ้ง การขนส่ง ฯลฯ เหล่านี้อยู่ที่เท่าไหร่ ผลิตในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องเสียไป เพื่อทำราคาที่ดี ลองคิดจากปริมาณต่ำสุด - สูงสุดที่จะสามารถผลิตได้ ซึ่งหลังจากประเมินทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว


     โดยหลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องเกิดขึ้นแล้ว จะสามารถช่วยให้คุณกำหนดราคาได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจได้ว่าจะได้ไม่เสียเงินเพิ่มเติมในภายหลัง ถึงแม้อาจต้องมีควักเพิ่มก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ได้เกินจากที่คาดการณ์ไว้ไปไกลนัก




 
จำลองสถานการณ์ที่แย่ที่สุดไว้ล่วงหน้า


      ในการเริ่มต้นใดๆ ขึ้นมาก็ตาม ทรัพยากรและเวลา คือ สิ่งสำคัญ ซึ่งไม่แน่ว่าอะไรก็อาจสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นแล้วจึงมีกฎง่ายๆ ว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามควรเผื่อทุกอย่างไว้อีก 50 เปอร์เซ็นต์จากค่าประมาณเดิมที่ตั้งไว้ ตั้งแต่เวลาในการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดส่งสินค้า หรือแม้แต่การเลือกใช้ซัพพลายเออร์เองก็ตามทุกอย่างควรต้องมีสำรองเผื่อไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการขาดตอน หรือแม้แต่ติดขัดเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะได้มีเวลาแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ธุรกิจเดินหน้าไปต่อได้




 
เลือกทำผลิตภัณฑ์ที่สามารถต่อยอดได้
               

     ข้อสุดท้ายที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงหากคิดจะสร้างผลิตภัณฑ์อะไรขึ้นมาก็ตาม คือ ผลิตภัณฑ์นั้นสามารถขยายต่อยอดออกไปได้หรือไม่ เพื่ออย่างน้อยๆ จะได้เป็นการประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุน และธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้เลย โดยการต่อยอดที่ว่านี้อาจหมายถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น ไปจนถึงการทำสินค้าเพิ่มเติมขึ้นมาโดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน ตั้งแต่วัตถุดิบ กรรมวิธีในการผลิต หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าตัวแรกที่ผลิตออกมา หรือแม้แต่เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ก็ตาม เพื่อต่อยอดเป็นต้นทุนที่ดีให้กับงานในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยการคิดให้รอบคอบถี่ถ้วนเช่นนี้ นับเป็นอีกความคุ้มค่าทางธุรกิจที่หากใครสามารถหา ก็เรียกว่าได้กำไรหลายต่อไปแล้ว ตั้งแต่ยังขายไม่ได้กันเลยทีเดียว
 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Sequence quotient รู้ว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง เทคนิคผู้บริหารต้องรู้อยากให้ธุรกิจโต

ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดกระแสดราม่าที่ร้อนแรงขึ้นกับคอนเทนต์ของคุณ CK Cheong (ซีเค เจิง) CEO ของ FASTWORK เรื่อง “มุมมองการบริหารเวลา แนะ ต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน แต่ทุกคนมีเวลาเท่ากัน”

มัดรวม 5 ไอเดียประหยัดต้นทุนธุรกิจโรงแรมไซส์เล็ก

ฤดูร้อนมาเยือนแล้ว เป็นอีกหนึ่งไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวฟากฝั่งทะเล จะทำยังไงให้มีรายได้เยอะขึ้น นอกจากการหาลูกค้าเพิ่ม การช่วยลดต้นทุนก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กที่ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย วันนี้เลยอยากชวนมาลดต้นทุนธุรกิจกับ 5 ไอเดียประหยัดต้นทุนโรงแรมไซส์เล็กกัน

รู้ก่อนเจ๊ง ความปลอดภัยทางไซเบอร์กับอนาคตธุรกิจ 40% ของเป้าหมายอาชญากรรมไซเบอร์ คือ SME

จากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย พบว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อ SME เพิ่มขึ้น 35% โดยที่ 40% ของเป้าหมายอาชญากรรมไซเบอร์ทั้งหมดในประเทศคือ SME