เป็นผู้นำที่ “ใจดีเกินไป” ก็อาจเป็นภัยร้ายต่อธุรกิจ

TEXT : กองบรรณาธิการ





     การเอาใจใส่ถือเป็นทักษะในการเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกมุมมองของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะผู้นำองค์กร ทักษะนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่มีทางเลยที่คุณจะสามารถเป็นผู้นำได้ดี หากคุณยังไม่เข้าใจหรือรู้จักลูกน้องหรือพนักงานเหล่านั้นได้ดีพอ แต่ก็อีกนั่นแหละบางครั้งการใจดีหรือเห็นอกเห็นใจมากเกินไป ก็อาจกลายเป็นดาบสองคมส่งผลเสียตามมาในภายหลังได้เช่นกัน ข้อเสียของการเป็นหัวหน้าหรือผู้นำที่ใจดีเกินไปมีอะไรบ้าง ลองไปดูกัน



 

ขาดความหลากหลาย


      จากบทวิเคราะห์และศึกษาจากหลายๆ ที่พบว่ามนุษย์ส่วนใหญ่นั้นมักจะเห็นอกเห็นใจบุคคลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวเองได้ง่ายขึ้น ซึ่งหลายครั้งที่เรามักนำเสนอสิ่งที่ดีกว่า เช่น ผลตอบแทน ตำแหน่ง โอกาส โดยที่บางครั้งก็ทำไปโดยไม่รู้ตัว จนอาจลามไปถึงการจ้างงานหรือคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงาน เราก็มักจะเลือกจากบุคคลที่มีลักษณะหรือเคมีคล้ายคลึงกัน จึงอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาภายหลังจากการขาดมุมมองที่หลากหลาย รวมถึงการแก้ไขปัญหา หรือความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ก็อาจดำเนินมาในทิศทางเดียวกันเพียงอย่างเดียวก็ได้




 
มองโลกแคบเกินไป
               

     ผลเสียอีกข้อของการเป็นผู้นำที่เห็นอกเห็นใจหรือใจดีมากเกินไป คือ อาจทำให้คุณมองโลกแคบลง บางครั้งการปล่อยให้ลูกน้องหรือพนักงานได้เรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง ผิดว่าตามผิด ถูกว่าตามถูก ทำตัวเป็นกลางไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สิ่งนี้อาจช่วยให้เขาเหล่านั้นเติบโตและดำเนินงานไปในทิศทางที่ถูกต้องแบบที่ควรจะเป็นได้ ที่สำคัญเพื่อจะได้ไม่ต้องทำให้เกิดความรู้สึกลำเอียงแก่พนักงานคนอื่นๆ ที่เฝ้ามองมาด้วย



 

ทำให้เกิดความทุกข์
               

     การเป็นผู้นำที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคุณใจไม่แข็งพอและไม่ปล่อยวาง บางครั้งความทุกข์ของเขา ก็อาจกลับกลายมาเป็นทุกข์ของเราเข้าก็ได้ ยิ่งหากคุณมีลูกน้องที่ต้องดูแลเป็นสิบเป็นร้อยคนหากไม่รู้จักวางเฉย ไม่ปล่อยวาง แทนที่จะทุกข์แค่ลูกน้อง ทุกข์นั้นก็อาจมารวมกันอยู่ที่ตัวคุณ จนแบกรับความทุกข์ของใครอยู่เต็มไปหมดก็ได้ ซึ่งตัวเราเองก็จะหมดแรง และแย่ลงไปในที่สุด ลองเป็นผู้นำที่ใจนิ่งๆ ไม่เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในปัญหา เพื่อคอยเป็นหลักเป็นที่พึ่งพิงให้เขาจะดีกว่า



 
 
ไม่มีคุณค่า
               

      ข้อสุดท้าย สิ่งที่เรียกว่าอาจทำให้เกิดข้อเสียสำหรับการเป็นผู้นำที่ใจดีหรือเห็นอกเห็นใจเกินไป ก็คือ อาจทำให้ลูกน้องหรือพนักงานมองไม่เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่คุณได้ให้ไว้ การยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออยู่บ่อยๆ นอกจากจะสร้างให้เขาเกิดความเคยชิน ยังอาจทำให้ขาดการเรียนรู้ต่อสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นต้องเผชิญและต้องผ่านมันไปให้ได้ด้วยตัวเอง ลองให้ในเวลาที่ควรให้ วางพื้นฐานและมาตรฐานการให้เอาไว้ ก็อาจช่วยให้วินๆ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย



 

เคล็ดลับการจัดการอารมณ์ความเป็นผู้นำ
 
               
     ถ้าไม่รู้ว่าควรวางตัวเช่นไรไม่ให้เป็นหัวหน้าหรือผู้นำองค์กรที่ใจดีเกินไป ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่แล้งน้ำใจเกินไป ลองปฏิบัติดูตามหลัก 3 ข้อนี้


มีสติ วางใจให้เป็นกลางและนิ่ง ไม่โอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากจนเกินไป หากอะไรที่รู้ว่ามากเกินไปก็ให้หยุดพักก่อน และตั้งสติ ไตร่ตรองหาเหตุผลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก่อน  


ไม่เห็นแก่ตัว ถึงจะให้ลดความใจดีลงบ้าง แต่ยังไงแล้วท้ายที่สุด ผู้นำก็ต้องไม่เห็นแก่ตัว และเป็นที่พึ่งพิงแก่ลูกน้องได้ เพราะสิ่งหนึ่ง คือ สิ่งสำคัญที่จะใช้มัดใจเขาเหล่านั้นได้


มีเมตตา แม้ในกระบวนการทำงานอาจเต็มไปด้วยมาตรฐาน กฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย แต่เพราะความเป็นจริงแล้วเราไม่ใช่หุ่นยนต์ที่สั่งอะไรเข้าไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาแบบนั้นเป๊ะๆ ดังนั้นบางอย่างหากผิดพลาดอะไรไปบ้าง ก็ควรมีเมตตา รับฟังเหตุผล และให้โอกาสอย่างเหมาะสม
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เขียนสัญญาเช่ายังไงให้รัดกุม ธุรกิจไม่เสียเปรียบ

สัญญาเช่า เรื่องใกล้ตัวผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหมการมีสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม สามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย

ทำงานให้ได้งาน 4 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทำไมบางคนงานท่วมหัว ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แต่งานกลับไม่หมดซะที แถมยังส่งงานไม่ทันกำหนด เราเลยมีเทคนิค เช่น Eisenhower Matrix, Eat that frog, Pomodoro และ กฎ 80/20  ซึ่งจะช่วยให้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชีวิตการทำงานไม่เครียดอีกต่อไป

ประชุมยังไงให้ได้งาน เทคนิคจาก 4 คนดังที่ประสบความสำเร็จ 

การประชุมที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จ มักจะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงมีเคล็ดลับการประชุมที่แตกต่างกันของคนดังที่ประสบความสำเร็จ  พร้อมแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมาฝาก