‘5 อาชีพ 5 ธุรกิจ’ ที่ยังต้องการแรงงานในช่วงโควิด-19




Main Idea
 
 
  • ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดอัตราคนว่างงานเพิ่มจำนวนขึ้น โดยการสำรวจในเดือนมีนาคมพบจำนวนคนว่างงานสูงถึงกว่า 3.92 แสนคน และคาดกันว่าจะมีพนักงานถึง 7 ล้านคนที่จะออกจากงานภายในเดือนมิถุนายน เนื่องจากการปิดตัวลงของธุรกิจ
 
  • แต่ในวิกฤตดังกล่าว พบว่ามีภาคธุรกิจที่ยังคงมีความต้องการแรงงาน อาทิ ธุรกิจไอที ธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ธุรกิจบริการด้านการเงิน ธุรกิจจัดจำหน่าย ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ
 
  • ขณะที่พบสัญญาณการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจโลจิสติกส์ 2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3.ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการตลาด ธุรกิจประชาสัมพันธ์ 4.ธุรกิจประกันภัย และ 5.ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก




      โควิด-19 ป่วนโลกธุรกิจให้บาดเจ็บ และส่งผลให้อัตราคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น!


       นี่คือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พ่นพิษใส่ไล่ยาวมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลกระทบไปยังหลายภาคส่วน หลายอุตสาหกรรม ทำให้เกิดอัตราคนว่างงานเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้


       โดยการสำรวจสถานภาพการจ้างงานของคนไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนคนว่างงานถึงกว่า 3.92 แสนคน (ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) อีกทั้งมีการคาดการณ์จากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย (กกร.) ว่า มีพนักงาน 7 ล้านคนที่จะออกจากงานภายในเดือนมิถุนายน เนื่องจากการปิดตัวลงของภาคธุรกิจและส่งผลกระทบต่อคนทำงานที่มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน


       แต่ท่ามกลางความโหดร้ายของตลาดแรงงาน ยังมีสัญญานดีๆ ของ 5 อาชีพ 5 ธุรกิจ ที่ยังเป็นที่ต้องการในยุคโควิด-19 ไปหาคำตอบเรื่องนี้กัน
 
     




       5 ธุรกิจที่ยังต้องการแรงงานแม้จะเกิดวิกฤตไวรัส



        จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เผยภาพรวมความต้องการงานทั่วประเทศไทย ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ที่ยังคงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยพบว่า 5 ธุรกิจที่ยังคงมีความต้องการแรงงาน


          ได้แก่  1.ธุรกิจไอที (Information Technology)


         2.ธุรกิจการผลิต (Manufacturing)


         3.ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก (Wholesale / Retail)


         4.ธุรกิจบริการด้านการเงิน (Financial Services)


         และ 5.ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย (Trading and Distribution)
 






        และข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม พบสัญญาณการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจโลจิสติกส์ เพิ่มขึ้น 23 เปอร์เซ็นต์ 2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ 3.ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการตลาด ธุรกิจประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์ 4.ธุรกิจประกันภัย เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ และ 5.ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก เพิ่มขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้อัตราการสมัครงานยังเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับในเดือนเมษายน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นไปตามกลไกของสถานการณ์ที่เริ่มดีขึ้นตามลำดับ






         จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจและสายงานไอทีเป็นกลุ่มที่มีความต้องการคนทำงานสูง เนื่องจากหลายองค์กรมีการปรับตัวรับ New Normal รวมถึงการทำงานให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่าย มีการเตรียมความพร้อมรับคนกลับมาทำงานหลังภาพรวมต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น
 



 
  1. อาชีพเนื้อหอมช่วงโควิด-19


        จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลอีกว่า 5 สายอาชีพที่ยังคงมีความต้องการคนทำงาน


        ได้แก่  1.งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ (Sales, CS & Business Devpt)


         2.งานไอที (Information Technology)


         3.งานวิศวกรรม (Engineering)


          4.งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ (Marketing / Public Relations)


          5.งานธุรการ งานทรัพยากรบุคคล (Admin & HR)






       ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันยังแสดงให้เห็นถึง 5 กลุ่มสายงาน ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้สมัครงานสูง คือ 1.อีคอมเมิร์ซ (E-commerc) เพิ่มขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์ 2.งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ (Sales, CS & Business Development) เพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ 3.งานบัญชี (Accounting) เพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ 4.งานไอที (IT) เพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ 5.งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ (Marketing / Public Relations) เพิ่มขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในการจ้างงาน ให้สามารถเลือกคนทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องการก้าวสู่ดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซในอนาคตต่อไปนั่นเอง
 
              

       อย่างไรก็ตามยังมี 5 กลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนประกาศงานลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism/Travel Agency) ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจบริการ ธุรกิจจัดเลี้ยง (Hospitality/Catering) ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจสถาปัตยกรรม (Architecture/Building/Construction) ธุรกิจยานยนต์ (Motor Vehicles) ธุรกิจวิศวกรรมก่อสร้าง-ธุรกิจวิศวกรรมโยธา-ควบคุมอาคาร (Engineering - Building, Civil, Construction/Quantity Survey)
 


        ท่ามกลางสถานการณ์ที่ทุกคนมองว่าเป็นวิกฤต แต่ก็ยังมีบางอาชีพและบางธุรกิจที่ยังคงเดินหน้าและไปต่อ สะท้อนความจริงที่ว่าในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ ขอแค่เรามองเห็นและฉกฉวยไว้ให้ทันเท่านั้น
 
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เขียนสัญญาเช่ายังไงให้รัดกุม ธุรกิจไม่เสียเปรียบ

สัญญาเช่า เรื่องใกล้ตัวผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหมการมีสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม สามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย

ทำงานให้ได้งาน 4 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทำไมบางคนงานท่วมหัว ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แต่งานกลับไม่หมดซะที แถมยังส่งงานไม่ทันกำหนด เราเลยมีเทคนิค เช่น Eisenhower Matrix, Eat that frog, Pomodoro และ กฎ 80/20  ซึ่งจะช่วยให้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชีวิตการทำงานไม่เครียดอีกต่อไป

ประชุมยังไงให้ได้งาน เทคนิคจาก 4 คนดังที่ประสบความสำเร็จ 

การประชุมที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จ มักจะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงมีเคล็ดลับการประชุมที่แตกต่างกันของคนดังที่ประสบความสำเร็จ  พร้อมแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมาฝาก