เปิด 8 ความเหมือนและท้าทาย ระหว่าง ‘ปีนเขา’ และ ‘ทำธุรกิจ’ ที่ SME ต้องรู้!

TEXT : พิมพ์ใจ พิมพิลา

 

 

Main Idea
 
  • การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกับการปีนเขา เพราะแม้สองกิจกรรมนี้จะต่างกัน แต่วิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีวินัยต่อตนเองหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนที่กำลังดำเนิน กิจกรรมทั้งสองกลับคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก
 
  • เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ต่างก็ต้องมีหัวหน้าที่มีภาวะผู้นำสูงเพื่อนำพาทีมไปสู่จุดหมาย ซึ่งในระหว่างการปีนเขาเอเวอเรสต์หรือการทำธุรกิจ นักปีนเขาและผู้ประกอบการอาจจะต้องเผชิญสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อเตรียมในการรับมือย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า
 
 
 

     การเป็นผู้ประกอบการไม่ใช่เรื่องยากที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ แต่การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจของตนเองนั้นกลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด เปรียบเหมือนเช่นการปีนเขา เพราะแม้สองกิจกรรมนี้จะต่างกัน แต่วิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีวินัยต่อตนเองหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนที่กำลังดำเนิน กิจกรรมทั้งสองกลับคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ต่างก็ต้องมีหัวหน้าที่มีภาวะผู้นำสูงเพื่อนำพาทีมไปสู่จุดหมายด้วยกันทั้งนั้น


     ในวันนี้ SME Thailand จึงอยากนำเสนอ 8 ความท้าทายที่ไม่ว่านักปีนเขาหรือผู้ประกอบการจะต้องเผชิญในระหว่างการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์! ทั้งของจริงและในการทำธุรกิจกัน
 
 


 
  1. ไม่ว่าใครก็กลัวความตายกันทั้งนั้น

     คุณอาจเข้าใจได้ทันทีว่าทำไมนักปีนเขาถึงกลัวความตาย เพราะว่าความอันตรายเหล่านั้นล้วนรายล้อมรอบตัวคุณตลอดการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิ อาหาร อุบัติเหตุ หรืออาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้ว่าคุณจะเตรียมรับมือแล้วก็ตาม และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้น คือ คุณอาจจะไม่ตาย แต่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังจะตายในอนาคต เช่นเดียวกับธุรกิจที่ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มหรือมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว ต่างก็กลัวความล้มเหลวหรือกลัวที่จะต้องหยุดการดำเนินการกันทั้งนั้น ซึ่งสิ่งที่จะทำให้คุณหลุดพ้นไปได้ ก็คือการยอมรับความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง และดำเนินการต่อไปอย่างเต็มภาคภูมิว่าในวันนี้คุณทำเต็มที่ที่สุดแล้ว อย่าย่อท้อต่อปัญหาที่เกิดขึ้นแต่จงมองให้เห็นปัญหาและค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเพื่อบรรเทาสถานการณ์แทนที่จะพะวงกับความล้มเหลวที่ยังไม่เกิดขึ้นจนไม่เป็นอันทำอะไรสักอย่าง
 
  1. อย่ากลายเป็นคนเห็นแก่ตัว

     ความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะกับใครก็ตาม อย่างเช่นนักไต่เขาที่กระตือรือร้นในการปีนให้สำเร็จ โดยไม่สนคำเตือนต่างๆ ที่เป็นเรื่องอันตราย จนทำให้ความปลอดภัยของทีมนั้นลดลง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบความเห็นแก่ตัวของนักธุรกิจในสถานการณ์ที่ล่อแหลมหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดความล้มเหลว แต่กลับดื้อรั้นจะทำให้ได้ดังใจตัวเองจนไม่สนว่าสิ่งนั้นจะเป็นการคุกคามความปลอดภัยหรือเป็นการคุกคามสิทธิของเพื่อนร่วมงานหรือไม่? ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรระมัดระวังการดำเนินการบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง เข้าใจว่าไม่ว่าใครก็อยากจะประสบความสำเร็จกันนั้น แต่ควรมองตัวเองและมองเพื่อนร่วมงานด้วยว่ามีความพร้อมมากแค่ไหน รวมถึงต้องรับฟังคำเตือนจากคนรอบข้างถึงความเสี่ยงที่อาจตามมาด้วย
 


 
  1. เครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ

     เครื่องมือคือสิ่งสำคัญในการพัฒนาหรือก้าวต่อไปเพื่อไปยังจุดสูงสุด สำหรับการปีนเขาเอเวอเรส เชือกและออกซิเจนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีเพื่อช่วยในระหว่างการเดินทาง เช่นเดียวกับผู้นำหรือผู้ประกอบการที่ต้องมีเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจ เพราะเครื่องมือจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานของคนในทีมให้สามารถต่อสู่กับปัญหาไปได้อย่างไม่เสียแรงหรือต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น และกว่าที่เราจะใช้เครื่องเราก็ต้องมีความรู้พื้นฐานหรือรู้วิธีการใช้งานเครื่องมืออย่างชาญฉลาดด้วย อย่างการนำเทคโนโลยีหรือการนำโซเชียลมีเดียเข้ามาใช้เพื่อเสริมกำลังธุรกิจให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
 
  1. ความเย่อหยิ่งมักจะแฝงตัวอยู่เบื้องหลังความล้มเหลว

     แม้ว่าผู้คนหลายหมื่นคนจะพยายามพิชิตยอดเขาเอเวอเรส แต่กลับมีไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถขึ้นไปยังจุดสูงสุดได้ และที่สำคัญคือมีคนล้มเหลวในการไปถึงยอดเขาด้วยการจบชีวิตลง ซึ่งปีที่มาผ่านมาเนื่องจากธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วเพราะภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เดือนมีนาคม ปี 2562 มีการพบศพผู้เสียชีวิตจากการปีนเขาถึง 280 ศพ และสาเหตุการตายที่มีสถิติสูงสุดคือประสบเหตุหิมะถล่มนั่นเอง เช่นเดียวกับการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงเหตุที่อาจเข้ามาแบบไม่ตั้งตัวจนทำให้เกิดความล้มเหลวเนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี อย่าปล่อยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ เพียงเพราะความเย่อหยิ่งของผู้นำที่นำพาธุรกิจไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้
 


 
  1. วีรบุรุษผู้โดดเดียว มักจะตายอย่างโดดเดี่ยวเสมอ

     ผู้ประกอบการหลายคนมักจะปฏิเสธความต้องการความช่วยเหลือ เพียงเพราะเชื่อว่า “ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง คุณจะต้องทำด้วยตัวเอง” จนทำให้ต้องทนทุกข์จากความกล้าหาญอันแสนโดดเดี่ยว เช่นเดียวกับการปีนเขาเคยมีนักปีนเขาคนหนึ่งที่อยากจะปีนขึ้นไปสู่ยอดเขาอันบริสุทธิ์ โดยไม่ใช้ออกซิเจนแม้ว่าร่างกายของเขาจะแย่จนถึงที่สุดแล้วก็ตาม จนในที่สุดแทนที่จะไปถึงยอดเขาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับต้องช้าลง เพราะปฏิเสธความช่วยเหลือและแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งในการทำธุรกิจก็มักมีผู้ประกอบการไม่น้อยที่ปฏิเสธคำแนะนำที่ดีจากสมาชิกในทีมที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้มากกว่า จนทำให้ธุรกิจที่เป็นอยู่ขาดการพัฒนา ไปจนถึงขาดความร่วมมือในการทำงานเพียงเพราะความไม่ไว้วางใจ จนทำให้ความคืบหน้าของการประสบความสำเร็จนั้นช้าลงไปด้วย
 


 
  1. ความขี้ขลาด

     ในขณะที่ความกลัวและความล้มเหลวหรือความตายนั้นหยุดยั้งความก้าวหน้าในอนาคต ความขี้ขลาดก็ทำให้นักปีนเขาและผู้นำธุรกิจหลายคนติดอยู่ในสถานที่เดิมๆ หรือที่หลายคนรู้จักอย่างคำว่า “Safe Zone” ของตัวเอง จนทำให้หลายๆ คนที่ไม่กล้าที่จะยอมรับความผิดพลาดหรือรับฟังคำติหรือวิจารณ์จากผู้อื่น จนไม่รู้สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นจะทำให้เกิดความล้มเหลวในอนาคตถ้ายังไม่เกิดการเปลี่ยนที่ดีขึ้น แน่นอนว่าวิธีแก้ปัญหาที่สำคัญ คือการพัฒนาความกล้าหาญทั้งของผู้นำและลูกทีมทั้งหมด ด้วยการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาและยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับการแก้ไข
 
  1. ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น อาจนำไปสู่การพัฒนา

     การเดินทางของนักปีนเขาหรือการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการอาจจะไม่ใช่หนทางเดินที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ดังนั้นการวางแผนเพื่อรองรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้เป็นสิ่งที่ควรจะทำ ผู้ประกอบการจึงต้องเข้มแข็งและอดทนในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทาง หลายๆ คนจะบอกว่าการก้าวถอยหลังอาจเป็นกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การตั้งต้นใหม่ แต่การเลือกที่จะก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงที่มีการคำนวณแล้วว่ามีเปอร์เซ็นต์จะเกิดความเสียหายก็ถือว่าเป็นเป็นประสบการณ์ที่ดีและเป็นการเติบโตในการทำธุรกิจได้เช่นเดียวกัน
 


 
  1. แรงโน้มถ่วงของโลกกับปัญหาที่บางครั้งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้

     ถึงแม้จะมีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบแล้ว แต่บางครั้งก็อาจจะล้มเหลวได้เนื่องจากข้อผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคใหม่ที่จู่ๆ ก็เข้ามาในโลกที่ขึ้นชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายคนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้ ถึงคุณจะรู้สึกว่าทำอย่างเต็มที่และถูกต้องที่สุดแล้ว แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณก็สามารถล้มเหลวได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ อาจทำให้หลายธุรกิจจำเป็นต้องปรับลดขนาดขององค์กรลง เช่น ลดจำนวนพนักงาน, ปรับลดเงินเดือนแล้วนำมาผ่อนจ่ายให้ทีหลัง ฯลฯ หลายสิ่งหลายอย่างเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่สุดท้ายบางครั้งก็ต้องยอมรับความจริง แก้ไขไปตามสถานการณ์ที่พอจะเป็นไปได้ และดีที่สุด
 

     เห็นไหมละว่า ระหว่างการเดินทางที่กว่าจะไปสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ได้นั้นมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของผู้ประกอบการ SME จนสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จได้ไม่ต่างกัน เพราะไม่ว่าการปีนเขาหรือการทำธุรกิจต่างก็มีปัญหาหรืออุปสรรคที่ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม คือ ความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้ร่วมเดินทางที่ทุกคนต้องเฝ้าระวังร่วมกัน เพราะความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ อาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวที่ใหญ่ยิ่งก็เป็นได้
 
 
ที่มา : www.flemingstrategic.com
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน