‘สร้าง ซื้อ ยืม ช่วยเหลือ’ 4 เทคนิคปั้นแรงงานทักษะสูงป้อนองค์กรยุคดิจิทัล

 


Main Idea
 
  • ปัจจุบันเกิดปัญหาขาดแคลน “แรงงานทักษะสูง” สูงสุดในรอบ 12 ปี! ทั้งจากเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น ส่งผลให้ทักษะการทำงานแบบเก่าสูญหาย ในขณะที่เกิดความต้องการทักษะการทำงานด้านใหม่ๆ เข้ามาแทนที่
 
  • องค์กรต่างๆ สามารถสร้างทรัพยากรบุคคลด้วยกลยุทธ์ “สร้าง ซื้อ ยืม ช่วยเหลือ” เพื่อรองรับการปฏิวัติทักษะของบุคลากรในปัจจุบัน

___________________________________________________________________________________________


 
     ในยุคดิจิทัลสิ่งต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจากการสำรวจสถานการณ์แรงงานปัจจุบันพบ
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถสูงมากที่สุดในรอบ 12 ปี รวมถึงบุคลากรที่มีทักษะใหม่ โดยมีปัจจัยจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานขององค์กรยุคใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  การดึงข้อมูลจำนวนมหาศาลมาต่อยอดในธุรกิจ หรือ Big Data ส่งผลให้ทักษะการทำงานแบบเก่าสูญหายและต้องปรับตัวให้รองรับกับทักษะใหม่ๆ มากขึ้น  





     แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้แนะนำกลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งด้านทรัพยากรบุคคลให้องค์กร ด้วย 4 วิธี ได้แก่ “สร้าง ซื้อ ยืม ช่วยเหลือ” สร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูง เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะมีบุคลากรที่มีทักษะตามความต้องการ และสามารถวางแผนที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนบุคลากรได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
 

     ซึ่งการ “สร้าง” เป็นการลงทุนให้บุคลากรในองค์กรได้เรียนรู้และพัฒนา  ส่วนการ “ซื้อ” คือ ดึงดูดบุคลากรทักษะสูงที่ไม่สามารถสร้างได้เองภายในองค์กรจากตลาดแรงงาน ในส่วนของการ “ยืม” เป็นการสร้างชุมชนของผู้มีความสามารถสูงแล้วทำงานร่วมกันชั่วคราว และ “ช่วยเหลือ” คือ การช่วยให้บุคลากรก้าวสูงขึ้นในตำแหน่งงานใหม่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
 




     เมื่อกล่าวถึงกลยุทธ์การ “สร้าง” เป็นการเพิ่มทักษะให้กับบุคลากรภายในองค์กร โดยประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ วางแผนที่จะเพิ่มทักษะของพนักงาน เพราะไม่สามารถคัดสรรบุคลากรที่มีทักษะจากภายนอกได้ทันเวลา แม้ว่าจะยอมทุ่มเงินค่าตัวพนักงานแล้วก็ตาม
 

     ในส่วนของกลยุทธ์การ “ซื้อ” หลายองค์กรคุ้นชินกับการจ่ายเงินเพื่อหาบุคลากรที่มีทักษะตามที่ต้องการ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในตลาดแรงงานมีการแข่งขันสูง บุคลากรที่มีทักษะที่นายจ้างต้องการสามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์ค่าตอบแทนได้มากขึ้น  หลายองค์กรยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อจ้างพนักงานที่มีทักษะความสามารถตอบโจทย์ธุรกิจที่สุด กว่า 29 เปอร์เซ็นต์ เสนอให้เงินเดือนที่สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการสรรหาบุคลากร และ 46 เปอร์เซ็นต์ ยอมจ่ายในอัตราที่มากกว่าเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่ตนมีอยู่ ทั้งนี้ปัญหาจะเกิดเพิ่มมากขึ้นเมื่อบุคลากรที่มีทักษะดังกล่าวไม่เพียงพอในตลาด ดังนั้นทางเลือกเดียวที่จะมาแก้ไขได้ คือ การสร้างบุคลากรเหล่านั้นขึ้นมา
 

     ในส่วนของกลยุทธ์การ “ยืม” การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างวิธีการทำงานแบบใหม่และพนักงานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่สะดวกกับการทำงานแบบบางเวลา ทำงานเป็นสัญญาจ้างหรือเป็นรายโครงการมีจำนวนมากขึ้น  ซึ่ง 87 เปอร์เซ็นต์ ของคนทำงานเปิดใจรับวิธีการเหล่านี้ แต่มีนายจ้างเพียง 32 เปอร์เซ็นต์ที่เสนอวิธีการทำงานทางเลือกเพื่อให้สามารถดึงดูดคนทำงานที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาได้ 


 

     สุดท้ายกลยุทธ์การ “ช่วยเหลือ” องค์กร 56 เปอร์เซ็นต์ กำลังช่วยให้พนักงานของตนก้าวต่อไปข้างหน้าและเติบโตสูงขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูง ซึ่ง 47 เปอร์เซ็นต์ ของนายจ้างกลุ่มนี้โยกย้ายพนักงานไปในส่วนต่างๆ ขององค์กร ในขณะที่ 27 เปอร์เซ็นต์มีการช่วยเหลือพนักงานที่มีทักษะที่ไม่ต้องการให้ไปทำหน้าที่ที่เหมาะสมกับภายนอกองค์กร ช่วยให้พนักงานสร้างเส้นทางอาชีพของตนได้อย่างชัดเจน
 

     องค์กรต้องสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูงให้รวดเร็วกว่าที่ผ่านมา อีกทั้งต้องสร้างทีมงานที่ว่องไว สามารถทำงานได้หลากหลายและมีทักษะรอบด้าน นอกจากนี้ บริษัทต้องประเมินคุณภาพและข้อมูลเพื่อช่วยในการวางแผนการทำงานและมีความโปร่งใสอย่างเต็มที่ในการวัดความสามารถของบุคลากร เป็นวิธีที่บริษัทจะทราบเกี่ยวกับทักษะ จุดแข็ง และรูปแบบการทำงานของพนักงาน ทำให้พิจารณาได้ว่าควรโยกย้ายบุคลากรไปอยู่ในตำแหน่งใด เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ บริษัทไม่สามารถดำรงตนเป็นผู้บริโภคงานได้อย่างเดียวอีกต่อไป บริษัทต้องเป็นผู้สร้างบุคลากรผู้มีความสามารถสูง และช่วยให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพ
 

     ในวันนี้ องค์กรและบุคลากรต้องตระหนักในการพัฒนาทักษะความสามารถ นับเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรและแรงงานจะต้องปรับตัวเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
 
 

ที่มา : แมนพาวเวอร์กรุ๊ป 
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน

5 พิกัด มูรับสงกรานต์ ฉบับเร่งยอด สาดเงิน สาดทอง ไหลมาเทมา

ว่ากันว่าชีวิตคนเรา หรือ การทำธุรกิจก็ตาม 30 ลิขิตฟ้า 70 ต้องฝ่าฟัน สงกรานต์ปีนี้ เลยอยากชวนไปไหว้ขอพร 5 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากเสริมความเป็นสิริมงคลแล้ว ก็สาดเงิน สาดทอง ให้ไหลมาเทมาด้วย