Tech Startup
รู้จัก Go-Jek สตาร์ทอัพพันล้านแรกและรายเดียวของอินโดฯ
ในแต่ละวันจะมีเทคสตาร์ทอัพเปิดตัวเข้าสู่ตลาดตลอดเวลา แต่มีไม่กี่รายที่สามารถไต่เต้าสู่การเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น (คือมีมูลค่าในตลาดเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์) Go-Jek สตาร์ทอัพจากอินโดนีเซียก็เป็นหนึ่งในนั้น และเป็นเจ้าเดียวของประเทศที่เป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์น
ผู้ก่อตั้ง Go-Jek คือนาเดียม มาคาริม (Nadiem Makarim) หนุ่มผู้มีดีกรีปริญญาตรีธุรกิจระหว่างประเทศจากบราวน์ ยูนิเวอร์ซิตี้ และเคยทำงานกับบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาข้ามชาติอย่างแมคคินซีย์ นาเดียมได้ตั้ง Young Leaders for Indonesia โครงการเตรียมนักศึกษาปี 3 ให้เข้าสู่โลกการทำงาน การทำโครงการนี้ทำให้เขาได้รับการตอบรับให้ศึกษาต่อที่ Harvard Business School
ผู้ก่อตั้ง Go-Jek คือนาเดียม มาคาริม (Nadiem Makarim) หนุ่มผู้มีดีกรีปริญญาตรีธุรกิจระหว่างประเทศจากบราวน์ ยูนิเวอร์ซิตี้ และเคยทำงานกับบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาข้ามชาติอย่างแมคคินซีย์ นาเดียมได้ตั้ง Young Leaders for Indonesia โครงการเตรียมนักศึกษาปี 3 ให้เข้าสู่โลกการทำงาน การทำโครงการนี้ทำให้เขาได้รับการตอบรับให้ศึกษาต่อที่ Harvard Business School
ก่อนจบ นาเดียมต้องการทำธุรกิจที่คิดไว้มานานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาคมนาคมในเมืองหลวงจาการ์ตาที่สภาพการจราจรติดขัดอย่างแสนสาหัส ปี 2010 เขาได้ริเริ่มธุรกิจ call center ให้บริการ Ojek หรือมอเตอร์ไซล์รับจ้างมีคนขับเพียง 20 คน โดยเบื้องต้นบริการเพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัวและคนรู้จัก ธุรกิจเริ่มจากตรงนี้ ก่อนจะพัฒนามาเป็นการให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Go-Jek ซึ่งย่อมาจาก Ojek ทั้งนี้ Ojek ถือกำเนิดขึ้นช่วงกลางทศวรรษ 1990 และได้รับความนิยมอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกการใช้รถสามล้อรับจ้าง
การเกิดขึ้นของ Go- Jek นับว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค คือทั้งสะดวกในการกดจองหรือเรียกรถผ่านหน้าจอ และการมารับถึงที่ แถมสนนราคาก็สมเหตุสมผล 7 ปีผ่านไป Go-Jek ขยายธุรกิจไปยัง 25 เมืองใหญ่ในอินโดยนีเซีย รวมถึงจาการ์ตา บาหลี และบันดุง กลายเป็นเทคสตาร์ทอัพที่โตเร็วสุดและโดดเด่นสุดในอินโดนีเซีย
นอกจากบริการวินมอเตอร์ไซล์แล้ว Go-Jek ยังขยับขยายไปให้บริการแท็กซี่ ทั้งแท็กซี่ส่วนบุคคลและสังกัดบริษัทบลูเบิร์ดซึ่งสังกัดสหกรณ์แท็กซี่และแตกไลน์ไปยังบริการ อาทิ บริการช้อปปิ้ง บริการส่งของ (เอกสาร อาหาร และอื่น ๆ) บริการทำความสะอาดบ้าน และบริการนวด ทุกบริการล้วนส่งตรงถึงบ้าน บริการล่าสุดที่ Go-Jek มอบแก่ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียคือ mobile payment หรือบริการชำระค่าบริการต่าง ๆ ทางออนไลน์
ผู้บริหาร Go-Jek กล่าวว่าสิ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จคือความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับบริการโดยไม่ต้องออกจากบ้านหรือออฟฟิศ แม้ Go-Jek จะเริ่มธุรกิจช้ากว่า Uber หรือ Grab แต่ก็ยังถือว่ามาถูกที่และถูกจังหวะ ทำให้กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินจากการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คน อนาคตที่ส่อแววสดใสของ Go-Jek ทำให้การระดมทุนจาก venture capital ไม่ใช่เรื่องยากนัก โดย TenCent ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีของจีนเป็นผู้สนับสนุนหลัก กระทั่ง Go-Jek ติดอันดับสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่มีมูลค่าในตลาดราว 3,000 ล้านเหรียญ
หากแข่งกันในระดับโลกหรือระดับภูมิภาค Go-Jek อาจไม่โดดเด่นเท่า Uber หรือ Grab แต่ถ้านับเฉพาะอินโดนีเซียซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีประชากร 250 ล้านคน Go-Jek ถือเป็นอันดับหนึ่ง โดยปัจจุบันมีคนขับรถทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ในสังกัดประมาณ 2.5 แสนคน และบริษัทสามารถครองตลาดอินโดนีเซียมากกว่า 50% โดย 95% เป็นบริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างในการส่งอาหาร ทั้งนี้ Go-Jek ยึดคติ เป็นหัวสุนัขดีกว่าหางราชสีห์ พอใจกับการเป็นรายใหญ่ในบ้านตัวเอง และยังไม่มีแผนจะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศแต่อย่างใด
ที่มา:
https://techcrunch.com/2017/05/03/go-jek-tencent-1-2-billion/
www.cnbc.com/2017/05/08/booming-go-jek-started-by-seeing-jakartas-traffic-jams-as-an-opportunity.html
www.techinasia.com/indonesia-go-jek-nadiem-makarim-profile
http://flamingogroup.com/go-jek-by-the-people-for-the-people/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี