Starting a Business
Slum Studio เมื่อศิลปินชาวกานาชุบชีวิตเสื้อผ้ามือสอง มาสร้างแบรนด์แฟชั่นสุดปังแบบ Upcycling
คุณว่าจุดหมายปลายทางของเสื้อผ้าที่เราสวมใส่หรือเสื้อผ้ามือสอง เสื้อไม่ผ่าน QC มากมายจะไปจบลงที่ไหนบนโลกใบนี้และจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกมันต่อไป? คำตอบคือเสื้อผ้าส่วนใหญ่มักจะไปจบที่ลงแอฟริกา! ภายใต้การบริโภคเสื้อผ้ากันแบบ Fast Fashion เทรนด์มาไว ไปไว เปลี่ยนเร็ว ทำให้เรามีจำนวนเสื้อผ้าที่ถูกโละทิ้งเป็นจำนวนมาก หนึ่งในแบรนด์ที่ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวจึงอยากลุกขึ้นมาเพื่อเป็นกระบอกเสียงๆ เล็กที่บอกว่าเรากำลังมีปัญหานี้อยู่ นั่นคือศิลปินหนุ่มชาวกานา ชื่อว่า ‘Selinam Kofiga Gbemu’
Slum Studio คือแบรนด์เสื้อผ้าที่ Sel Kofiga ได้สร้างขึ้นจากเสื้อผ้ามือสองจากตลาดในเมืองหลวงของกานาอย่างเมืองอักกรา โดยเขาจะคัดสรรเสื้อผ้าที่เน้นเป็นผ้าสีขาว ผ้าฝ้ายเพื่อมาชุบชีวิตใหม่ให้แก่ผ้าที่ถูกทิ้งขว้างเหล่านี้ให้กลับมาสวยงามได้อีกครั้งโดยจะเน้นการเพนต์สีธรรมชาติและย้อมลงไปบนผ้าให้กลายเป็นลายใหม่ที่ถูกเก๋ไก๋และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Slum Studio
โดย Sel Kofica ได้พยายามทำให้แบรนด์ของเขามีหลายแง่มุมในการสื่อสาร นอกจากที่จะเป็นแบรนด์เสื้อผ้ารีไซเคิลแล้วเขายังพยายามสื่อสารในเรื่องของอัตลักษณ์ เรื่องของการเมืองด้านแฟชั่น โดยผ่านออกมาเป็นเสื้อผ้าสวยๆ ที่มีนางแบบและนายแบบสวมใส่อยู่
ซึ่ง 90% ของผ้าที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์เสื้อผ้ามาจากตลาดมือสองในเมืองอักกรา โดยผ้าเหล่านี้เดินทางมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป เยอรมนี เกาหลีรวมถึงจีน มักจะเป็นผ้าที่ถูกตัดทิ้ง เสื้อผ้าใช้แล้ว เสื้อผ้าที่ไม่ผ่าน QC โรงงานและอื่นๆ อีกมากมาย สะท้อนให้เห็นถึงอีกหนึ่งมุมของแฟชั่นได้เป็นอย่างดีนั่นคือการ Overconsumption หรือการบริโภคเกินความจำเป็นและมักจะเกิดขึ้นกับวงการแฟชั่นในยุคนี้ที่ความเป็นแมสและราคาถูกสร้างเสื้อผ้าขึ้นมาใหม่มากมายโดยไม่เน้นถึงคุณภาพของการใช้งาน บางทีก็เปลี่ยนตามเทรนด์อย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเองก็ใช้เสื้อผ้าเพียงไม่กี่ครั้งแล้วก็โละทิ้งจนทำให้เกิดเป็นเสื้อผ้ามือสองที่กินพื้นที่บนโลกใบนี้ค่อนข้างเยอะ
นอกจากเรื่องของการบริโภคเกินความจำเป็นแล้ว ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าเองก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตอนนี้จึงเริ่มมีแบรนด์แฟชั่นยุคใหม่ที่ลุกขึ้นมาทำแบรนด์รีไซเคิลหรือ Upcycling วัตถุดิบเดิมที่มีอยู่ให้เกิดขึ้นใหม่ เพราะพวกเขาอยากจะลดการสร้างอะไรที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเช่นที่ Slum Studio ต้องการจะทำเช่นเดียวกัน
ทำให้ความโดดเด่นของแบรนด์ Slum Studio นั่นแสดงออกผ่านทางเสื้อผ้าที่เขาทำ ทั้งการใช้สี การใช้ลวดลายรวมถึงการใช้เทคนิคแบบดั้งเดิมของชาวกานาผ่านลงบนเสื้อผ้า อย่างเรื่องของการ Free hand painted หรือว่าการประทับตราด้วยสีย้อมธรรมชาติ โดยเขาหยิบเอาวัฒนธรรมของชาวกานามาพลิกแพลงใหม่จนกลายเป็นแบรนด์แฟชั่นที่อยากถ่ายทอดออกมาในเชิงศิลปะที่ให้ทุกคนสวมใส่ได้
แน่นอนว่าเมื่อแอฟฟริกานั่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางของเสื้อผ้าใช้แล้วเป็นจำนวนมากจากประเทศฝั่งตะวันตก โดย Sel Kofiga พูดถึงเรื่องดังกล่าวว่าสิ่งสำคัญคือการหยิบเอาไอเดียของสิ่งที่เรียกว่ารีไซเคิลมาใช้ “สิ่งที่แอฟฟริกาสอนเรานั่นคือการชุบชีวิตใหม่ รูปแบบใหม่ให้กับสิ่งเหล่านี้ด้วยวิธีการที่แยบยล”
แม้ว่าแอฟฟริกาจะถูกมองว่าเป็นที่ทิ้งขยะของหลายประเทศ แต่ก็ยังมีใครบางคนที่ลุกขึ้นมาเป็นกระบอกเสียง แม้จะเป็นเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่งแต่ก็นับว่าเป็นเสียงที่ทรงพลังเพราะเขาใช้เสียงของตัวเองสื่อสารออกมาได้อย่างสร้างสรรค์และสร้างงานศิลปะ สร้างแบรนด์แฟชั่นได้อย่างสวยงามจากสิ่งที่ใครหลายมองว่าเป็นของไร้ค่าแต่เขากลับทำให้มันทรงคุณค่าขึ้นมาได้อีกครั้ง!
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup