Q-Life

สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นไปกับซีรีส์ Inside Pixar พร้อมแรงบันดาลใจอันไม่สิ้นสุดที่ StartUp นำไปใช้ได้

     เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าครีเอทเตอร์แอนิเมชั่นของ Pixar นั้นประสบความสำเร็จได้อย่างไร? และพวกเขามาพร้อมกับเรื่องราวที่สุดแสนจะน่าหลงใหลถ่ายทอดผ่านโลกวิชวลที่สวยงามตระการตาเหล่านั้นได้อย่างไร? นี่เป็นหัวข้อของซีรีส์ที่ฉายบน Disney+ กับสารคดีชุดที่มีชื่อว่า “Inside Pixar” ที่มีทั้งเรื่องราวของบุคคลและภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้ชมได้รู้จักกับบุคลากร งานศิลป์ และวัฒนธรรมของ Pixar สิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยให้ผู้ชมสตาร์ทอัพสามารถนำมาต่อยอดเป็นแนวคิดทางธุรกิจได้


     ทั้งหมดนี้เรียกได้ว่าเพื่อสร้าง Inspired ให้กับผู้ชมที่ได้เข้ามาดูสารคดีชุดนี้ ซึ่งแต่ละตอนจะบอกเล่าเรื่องราวว่าศิลปินของ Pixar นั้นสามารถค้นพบหรือพลักดันแรงบันดาลใจสำหรับแต่ละโปรเจ็กต์ของพวกเขาอย่างไร ความหลากหลายและการแสดงถึงแนวคิดใหม่ที่มากขึ้นของ Pixar ภายใต้การนำเสนอและการชี้แนะของ Pete Docter ผู้อำนวยการ Up และ Soul ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่สร้างสรรค์ของ Pixar




     อย่างที่เรารู้กันดีว่า Pixar นั้นสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลจากการเปิดสตูดิโอเพื่อสร้างแอนิเมชั่นคุณภาพและกลายเป็นขวัญใจของใครหลายคนตั้งแต่รุ่นเล็กยันรุ่นใหญ่ พวกเขาสามารถกระตุ้นให้ผู้ชมนั้นควักเงินเพื่อซื้อตั๋วหนัง ดีวีดี สตรีมมิ่งและสินค้าจากภาพยนตร์ กลุ่มตลาดที่ใหญ่ที่สุดก็คือเด็กแต่เพราะเนื้อหาของภาพยนตร์นั้นทั้งเรื่องของอารมณ์ที่สื่อและคุณภาพการผลิตทำให้สามารถดึงดูดตลาดผู้ใหญ่กลุ่มใหญ่ได้เหมือนกัน 




     ภายในซีรีส์จะแสดงให้เห็นถึงการทำงานของทีมงานที่ใส่ใจไปถึงรายละเอียดอันยิบย่อย เช่นตอนของทีมงานที่มีชื่อว่า Jessica Heidt เธอคือคนที่ดูแลสคริปต์เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางเพศระหว่างตัวละครในสคริปต์ของ Pixar นี่เป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นที่สามารถขับเคลื่อนสังคมไปด้วยได้นับเป็นจุดเด่นของสตูดิโอ มากกว่านั้นคนเหล่านี้เป็นเพียงคนที่ทำงานอย่างหนักในงานของพวกเขาและเป็นคนที่รักในสิ่งที่พวกเขาทำ


     Pixar ให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้นไปที่คุณภาพ แทนที่จะทำผลงานภาพยนตร์ทุกปีเพื่อหวังให้บางเรื่องกลายเป็นภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ โดยผลิตภาพยนตร์ 1 เรื่องทุกๆ 4-5 ปี เพื่อลดความเสี่ยงของกระบวนการผลิตที่มีการทำงานอย่างเข้มงวด รูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนใครเมื่อเทียบกับสตูดิโอภาพยนตร์อื่นๆ ทีมงานต่างสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ให้กับภาพยนตร์อย่างไม่หยุดยั้งและเต็มที่ Pixar ใช้แนวทางที่แตกต่างไปจากเดิมและคงไว้กับพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ในฐานะครีเอทเตอร์ชั้นนำ ระดมความคิดเกี่ยวกับแนวคิดนั้นตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งช่วยให้ทีมงานได้พัฒนาทักษะอยู่ตลอด




     พวกเขามักจะหาวิธีที่จะส่งเสริมให้เกิดแนวคิดหรือความสามารถใหม่ๆ ไม่เน้นที่แนวคิดใดแนวคิดเดียว ทีมผู้กำกับ นักเขียน และศิลปินเล็กๆ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะที่ทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงและขยายแนวคิดเริ่มต้น การทดสอบนี้เป็นการทดสอบแนวคิด แต่ยังทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ทีมได้สัมผัสจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองด้วย การเรียนรู้ว่าพวกเขาควรทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า สมาชิกทุกคนในทีมจะได้รับการสนับสนุนและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงผลงานของพวกเขา




 

     Pixar กลายเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงผู้บริโภคเป็นจำนวนมากและเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเนื่องจากความคิดสร้างสรรค์และคุณภาพในระดับสูง พวกเขายังต้องการรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้ไว้เพื่อรักษาผู้ชมที่ภักดีต่อแบรนด์ เพื่อให้แน่ใจว่าการผลิตนี้สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ กระบวนการผลิตจึงเน้นรายละเอียดสูงและความสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง การปรับแต่ง การเติบโตและการเรียนรู้ของทีม Pixar ได้แสดงให้เห็นว่าคุณค่าที่ได้รับจากกระบวนการนี้ในด้านคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup