Finanace

เปิดเต็มรูปแบบแล้ว! Funding Societies แพลตฟอร์มระดมทุนหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงที่รุกหา SME

     เมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา Funding Societies ได้รับใบอนุญาตการเป็นผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงหรือแพลตฟอร์มระดมทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) และแพลตฟอร์มจึงได้เปิดให้นักลงทุนเข้าร่วมระดมทุนครั้งแรกเมื่อช่วงต้นเดือน กันยายน 2564 ด้วยหุ้นกู้ ที่ออกโดย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในประเทศไทย  ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านห้างสรรพสินค้าและพื้นที่สำนักงานให้เช่า โดยเป็นหุ้นกู้มูลค่า 2 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี และได้ประกาศความสำเร็จการระดมทุนถึงเป้าหมายในระยะเวลาเพียง 72 ชั่วโมง

     ตั้งแต่ได้เปิดตัวในประเทศไทย ทางบริษัทฯได้ลงทุนในธุรกิจ SMEs ไปกว่า 100 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่น่าพึงพอใจ อีกทั้งยังไม่มีลูกหนี้รายใดเป็นหนี้เสียหรือผิดชำระหนี้ ที่สำคัญยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยเช่นเดียวกัน อย่าง Central Retail, NocNoc, Freshket และ Accrevo

     ในประเทศไทยมีธุรกิจ SMEs กว่า 3 ล้านราย จากหลากหลายอุตสาหกรรม และมากกว่า 60 % นั้น มีรายได้ลดลงซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของ Covid-19 เนื่องจาก SME เป็นแกนหลักของเศรษฐกิจ ทางบริษัท จึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขช่องว่างทางการเงินของ SMEs ในประเทศไทย โดยทางบริษัทฯ จึงได้เสนอเงินทุนสูงสุดถึง 50 ล้านบาท อีกทั้งได้จัดหาเงินทุนหลายหลากประเภทเพื่อให้ตอบโจทย์และเหมาะกับความต้องการของ SMEs มากที่สุด เช่น เงินทุนเพื่อธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนจากลูกหนี้การค้า เงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ซื้อ และ เงินทุนสนับสนุนโครงการ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถขยายธุรกิจ นำเงินไปหมุนเวียน หรือ ใช้เป็นทุนสำหรับโครงการล่วงหน้า

     Funding Societies ก่อตั้งในปี 2558 ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการลดช่องว่างทางการเงินกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั่วภูมิภาค ด้วยความเชื่อที่ว่าธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพ ควรได้รับโอกาสทางการเงินที่เท่าเทียม ทางบริษัทฯ จึงมุ่งมั่นในการมอบโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น โดยผ่านการนำเสนอช่องทางการลงทุนรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจแก่นักลงทุน  การระดมทุนแบบหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงนั้น จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงการลงทุนระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมาจากหุ้นกู้ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เงินทุนเพื่อธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนจากลูกหนี้การค้า เงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ซื้อ และ เงินทุนสนับสนุนโครงการ การลงทุนนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยกระจายความเสี่ยงให้แก่นักลงทุนได้

     ตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา Funding Societies ได้ให้เงินทุนสนับสนุน SMEs และ สตาร์ทอัพไป 70,000 รายทั่วภูมิภาค มากกว่า 4.8 ล้านเงินทุน และเป็นจำนวนเงินกว่า 5.8 หมื่นล้านบาท ถึงแม้จะประสบวิกฤต โควิด-19 อัตราการผิดนัดชำระยังคงอยู่ต่ำกว่า 2% เนื่องจากทางบริษัทฯได้นำเครื่องมือในการประเมินคุณภาพสินเชื่อ (Credit Scoring Model) ซึ่งนำ AI มาประยุกต์ใช้  Funding Societies ได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตรจากหลากหลายประเทศ อาทิเช่น Lazada, Shopee, CIMB, FoodPanda, และอีกมากมาย ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและให้เงินทุนแก่ ซัพพลายเออร์ ผู้ค้า ฯลฯ

     ทาง Funding Societies ยังได้รับการร่วมทุนจากนักลงทุนที่มีชื่อเสียงอย่าง Softbank Ventures Asia Corp., Sequoia India, LINE และล่าสุด 500 TukTuks ในประเทศไทย  500 TukTuks เป็นบริษัทร่วมทุนซึ่งนำเงินทุนจากกองทุน 500 Global (500 Startups) เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตและเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จในการสร้างบริษัทฯและสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพ โดยมุ่งเน้นที่บริษัทฯในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

     “FinTech เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีมานี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มี Unicorn ที่เป็น FinTech อยู่หลายรายด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่ มีประชากร สถาบันทางการเงิน และองค์กรที่พร้อมปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทาง 500 TukTuks เห็นโอกาสการเติบโตอย่างมหาศาลของ Funding Societies ที่เข้ามาแก้ปัญหาใหญ่ของธุรกิจ SME และสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยังเป็นโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในประเทศไทย อันจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จึงได้ร่วมสนับสนุนและร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้ Funding Societies ก้าวสู่การเป็นตัวเลือกทางการเงินชั้นนำระดับภูมิภาค สร้าง impact ต่อธุรกิจและนักลงทุนบนแพลตฟอร์มให้เติบโตไปร่วมกัน” กระทิง พูนผล  Partner ของกองทุน 500 TukTuks กล่าวในตอนท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup