Digital Marketing

ไม่ใช่แค่รอดแต่ต้องรุ่ง เทคนิคขายดิลิเวอรีได้เดือนละล้านจากเจ้าของร้านเตี๋ยวกะเพรา ทำได้จริงและได้ตังค์

Text: Neung Cch.




     ลำพังแค่ขายของธรรมดาก็แข่งขันกันหนักหนาน่าดูยิ่งต้องมาสู้กับไวรัสที่มองไม่เห็นอย่างโควิด ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายแทบหมดตัว เหมือนกับ ดวงตะวัน เกษร (แจ๊ค) หนุ่มอุบลราชธานีที่ต้องปิดร้านอาหารอีสานไปจากพิษโควิดรอบแรก เพราะยอดขายส่วนใหญ่มาจากหน้าร้านหายไปเกือบหมด และไม่ได้ศึกษาเรื่องดิลิเวอรี่ เมื่อบวกลบต้นทุนแล้ว จึงปักป้ายปิดร้านด้วยเหตุผลที่ว่าคงขาดทุนน้อยกว่าทนเปิดร้านต่อไป


     โควิดรอบแรกเริ่มซา ปลายปี 63 เขาก็ลุกขึ้นมาสู้อีกครั้ง แต่เปลี่ยนจากการทำร้านอาหารอีสานมาเป็นอาหารจานด่วนแนว Street food ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากทานอาหารง่ายๆ และเป็นการปรับตัวสามารถทำอาหารดิลิเวอรีได้สะดวกขึ้น จึงเปิดร้านเตี๋ยวกะเพราะ ที่มีเมนูกะเพราเป็นตัวชูโรงแถมด้วยก๋วยเตี๋ยว





     กระทั่งโควิดรอบที่สองกลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้ทุกอย่างได้เตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ทำให้เขาสามารถผ่านเหตุการณ์เลวร้ายไปได้ จนะกระทั่งโควิดรอบที่สามกลับมา และรัฐบาลประกาศห้ามนั่งทานในร้าน


     “มีคนอินบ๊อกซ์มาถามเยอะมากถึงวิธีการทำดิลิเวอรี ผมเลยตัดสินใจโพสต์แชร์ประสบการณ์ไปจะทำยังให้ขายเดลิเวอรี่ได้เดือนละล้าน”
 







     รายได้ขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหา


     แจ๊ค เล่าให้ฟังว่าจากบทเรียนที่ต้องปิดตัวร้านอาหารอีสานในครั้งที่แล้ว ทำให้เขาเรียนรู้ว่า คือต้องพยายามปรับตัวให้เร็วและไว


     “ถ้าไม่อัปเดตให้ทันโลก ไม่พัฒนาตัวเอง ตามคนอื่นไม่ทัน ธุรกิจมีปัญหาแน่นอนครับ ช่วงที่มีโครงการช่วยเหลือจากภาครัฐออกมา เช่น คนละครึ่ง ผมพยายามสมัครเข้าร่วมโครงการ ซึ่งก็ยุ่งยากมากกว่าจะสมัครได้ แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่า คือ การจัดการหน้าร้าน”





     เจ้าของร้านหนุ่มเตี๋ยวกะเพราเล่าต่อว่ากว่าจะได้  1 ออร์เดอร์ ต้องผ่านหลายขั้นตอน ต้องโทรหาให้ลูกค้าสแกนจ่ายเงิน บางทีลูกค้าสแกนไม่ติดก็ต้องส่งคิวอาร์โค๊ดให้ใหม่ พอลูกค้าจ่ายเงินเสร็จ เราต้องโทรยืนยันกับลูกค้าอีกรอบ โชคไม่ดีบางวันระบบล่ม หรือเจอไรเดอร์เร่งออเดอร์ พนักงานคีย์รายการอาหารผิดถูกอีก


     “กว่าจะจบแต่ละเคส ต้องยอมรับว่ายุ่งยาก คนอื่นไม่ทำผมทำ จากวันละ 10 ออร์เดอร์เป็น 100 ออร์เดอร์ ปัญหามีทางแก้ไขทุกเรื่อง รายได้มักขึ้นอยู่กับปัญหาที่แก้ไขเสมอ”
 




     คาถาขายดิลิเวอรีให้ถึงล้าน


     นอกจากนี้การปรับตัวมาขายดิลิเวอรีนั้น แจ็คยอมรับว่ามีความยุ่งยากไม่ใช่น้อย การดูแลลูกค้าในร้านยังง่ายมากกว่า แต่ถึงจะยุ่งยากก็ต้องยอมรับว่า ในสถานการณ์เช่นปัจจุบันนี้พวกเขาเปรียบเหมือนฮีโร่สำหรับร้านอาหารอย่างเขา ส่วนค่า GP ที่เป็นคำถามคาใจสำหรับหลายคนนั้น


     “ผมตอบเลยว่าดี เพราะของฟรีและดีไม่มีในโลก สำหรับผมขั้นตอนแรกที่จะให้ขายดิลิเวอรีได้ดี คือ เต้องเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเห็นร้านเรา คือ การเสีย GP ตั้งแต่ 25-35% แล้วแต่ร้านว่าขายอะไร และนอกจากจ่ายค่า GP แล้วควรโฆษณาควบคู่ไปด้วยเพื่อลูกค้าจะได้เห็นร้านเรามากยิ่งขึ้น”
 





     นี่คือเทคนิคที่เจ้าตัวใช้ในการขายอาหารดิลิเวอรี
 
     1. รูปหน้าปกต้องสวย ถ่ายรูปให้ดูน่ากิน
 
     2. เมนูอาหารต้องมีภาพที่สวยงาม และตรงปก ถ้าไม่ตรงปกให้ระบุว่าภาพเพื่อการโฆษณาเท่านั้น และทุกเมนูควรระบุรายละเอียด
 
     3. มีเมนูอาหารเป็น SET ในราคาจับต้องได้ ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
 
     4. มีเมนูเพิ่มอรรถรสในการทานอาหาร ในราคาถูกๆ สบายกระเป๋า 10-20 บาท เช่น ลองเพิ่มไข่ดาวไปในเมนูข้าวหมูแดงหมูกรอบ ปรากฏว่ามีลูกค้าสั่งช่วยยอดขายเพิ่ม
 
     5. ทำโปรโมชันประจำเดือน เช่น การลดเมนูพวกเซ็ต ช่วยค่าส่งลูกค้า ช่วยแถมเมนูให้ลูกค้า ถ้าลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ลูกค้าก็ตัดสินใจง่ายขึ้น
 
     6. เพิ่มลิ้งก์ให้ลูกค้าหาร้านได้ง่ายขึ้น เพราะบางครั้งลูกค้าอาจค้นหาร้านไม่เจอจากแอปปกติ ต้องมีลิ้งให้ลูกค้าเข้าไปง่ายๆ
 
     7. ทำอาหารเร็ว ไม่มีใครชอบรอนาน


     ยอดขายครั้งแรกไม่สำคัญเท่ากับให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
 
     แจ็ค เผยต่อไปว่าการทำตาม ข้อ 1-7 นั้นจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินสั่งอาหารร้านเราครั้งแรกได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่ารู้ค้าจะสั่งร้านเราเป็นครั้งที่สอง สาม สี่ ซึ่งจะช่วยทำให้การขายของยืนระยะยาวได้ยิ่งขึ้น

    ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำคือ

     1. รสชาติอาหารถูกปาก

     2. คุณภาพอาหารดีต่อราคาที่จ่ายไป

     3. ปริมาณที่กินแล้วอิ่ม กะเพาะถูกใจ

     4. รออาหารไม่นาน แต่ถ้ารสชาติถูกปาก คุณภาพดี ปริมาณอิ่มกะเพาะ รอนานเท่าไหร่ก็รอได้



      นี่คือการเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จากเจ้าของร้านเตี๋ยวกเเพราที่สามารถรอดจากวิกฤตโควิดมาได้ด้วยดิลิเวอรี


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup