Digital Marketing

การสื่อสารในภาวะวิกฤต ใครว่าไม่สำคัญ เปิด 6 เคล็ดลับที่ Startup ควรรู้

Text : นนท์ธวัช ไชยวัง




Main Idea
 
  • เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายคน ไม่รู้ว่าจะรับมือเมื่อเจอวิกฤตที่คาดไม่ถึงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลลูกค้า การจัดการทางการเงิน ฯลฯ
 
  • อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความสำคัญที่ผู้ประกอบการเลี่ยงไม่ได้ต้องทำในภาวะวิกฤตคือการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร  และนี่คือ 6 เคล็ดลับการสื่อสารที่ผู้ประกอบการควรรู้เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด 
 



     เรื่องของการสื่อสารในภาวะวิกฤตใครว่าไม่สำคัญ สำหรับ Startupในยามที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย แต่ต้องมาเจอกับปัจจัยลบไม่ว่าจะอะไรก็ตาม เชื่อเหลือเกินว่า  Startup  หลายรายจะทำอะไรไม่ถูก ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับลูกค้า การผลิต การจัดการทางการเงิน รวมถึงการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ที่จะสื่อสารออกไปให้ลูกค้าหรือกับคนในองค์กรได้รับรู้ภาวะวิกฤติควรทำอย่างไร  มี 6 เคล็ดลับความรู้ดีๆ มาฝากกัน


     1. ควรสื่อสารกันภายในองค์กรก่อน ประเด็นนี้เป็นประเด็นแรกที่ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ Startup จะต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งแรก จะต้องแจ้งพนักงานให้ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป หรือแนวทางแก่ขั้นปัญหาแต่ละขั้นตอนควรเป็นอย่างไร เช่น เรื่องโควิด -19 หากจะแจ้งเรื่องการปรับลดเงิน หรือลดสวัสดิการกรณีแบกรับไม่ไหวจริงๆ จะต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นให้ลูกน้องได้รับทราบ หากมีมาตรการช่วยเหลือได้ก็ช่วยเหลือไป เพื่อซื้อใจลูกน้อง





     2. การสื่อสารเพื่อแจ้งให้ลูกค้าได้รับทราบ ซึ่งลูกค้าถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อ หรือพอแค่นี้ ดังนั้นผู้ประกอบการ Startup ควรแจ้งข่าวมูลข่าวสารให้ลูกค้าได้รับทราบ เช่นในช่วงนี้ที่โควิด- 19 ยังระบาด  ควรแจ้งข้อมูลรายละเอียดสินค้า โปรโมชั่นใหม่ๆ การปรับเปลี่ยนช่องทางการขาย การชำระเงิน รวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสาร อื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ให้กับลูกค้า


     3. การสื่อสารเพื่อแจ้งให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำธุรกิจในยุคนี้จะต้องอาศัย คอนเนกชั่น  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือหุ้นส่วน คู่ค้าพันธมิตรทางธุรกิจ ในช่วงนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรายงานความเคลื่อนไหวของธุรกิจเราให้พวกเขาเหล่านั้นรับฟัง เพื่อช่วยกันประเมินความสี่ยงได้ทัน และหาแนวทางรับมือกัน เพราะหัวเดียวกระเทียมลีบธุรกิจอาจมีความเสี่ยงได้ หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว





     4. ช่องทางการสื่อสารในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง  แนะนำว่าช่องทางการสื่อสารควรใช้ทั้ง 2 ช่องทาง คือ ออฟไลน์ และออนไลน์ หากเป็นการสื่อสารไปถึงผู้คนในองค์กร แนะนำว่าควรมีข่าวสารมาติดบอร์ด หรือส่งไปในไลน์กลุ่ม ส่วนการสื่อสารที่จะส่งไปยังลูกค้าหากเป็นออฟไลน์แนะนำให้ส่งข่าวแจกไปยังสื่อมวลชนให้ช่วยประชาสัมพันธ์ ส่วนแนวทางออนไลน์ก็ให้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือ IG ของบริษัท แจ้งข้อมูล


     5. ภาษาที่จะใช้ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต ควรเป็นภาษาที่เป็นทางการ ไม่เล่นจนเกินไป มีความน่าเชื่อถือได้ ไม่ก่อให้ตื่นตระหนก  อธิบายด้วยเห็นด้วยผล


     6. ควรใช้โอกาสนี้ในการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ อย่างเช่น ลงคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการเป็นห่วงเป็นใยลูกค้า และคนไทย วิธีการป้องกันตัว หรือหากมีข่าวสารอะไรดี ๆ ก็แชร์มาเป็นความรู้บนหน้าเพจได้
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup