Digital Marketing

ไม่อยากแป้กต้องรู้! Influencer แบบไหนที่ควรเลี่ยง

Text : Marisa S.



 
Main Idea
 
  • Influencer Marketing ได้รับการยอมรับว่าเป็นการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
 
  • แต่กระนั้นก็มีหลายแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้แล้วไม่ได้ผล นั่นก็เป็นเพราะความผิดพลาดจากการเลือก Influencer แล้ว Influencer  แบบไหนล่ะที่แบรนด์ควรจะเลี่ยง ?




     Influencer Marketing หรือการทำการตลาดที่ให้ผู้มีอิทธิพลมาช่วยโปรโมทสินค้ากลายเป็นหนึ่งในการตลาดที่ร้อนแรงที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยกลยุทธ์การตลาดนี้ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ซึ่งหัวใจของกลยุทธ์การตลาดนี้คือการเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์และแคมเปญ เพราะหากเลือก Influencer  ผิดพลาดก็จะมีความเสี่ยงที่แคมเปญนั้นจะไม่ได้ผล ดังนั้น หากแบรนด์ไหนจะทำงานกับ Influencer  จึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ว่าไม่ได้อยู่ใน 4 ข้อต่อไปนี้
 
 



   1. อย่าเลือก Influencer เพียงเพราะมีจำนวนผู้ติดตามมาก   

         ในขณะที่โซเชียลมีเดียเปิดโอกาสให้ผู้คนจำนวนมากสามารถสร้างช่องทางของตนเองเพื่อสร้างชื่อเสียงสร้างความมีอิทธิพลต่อสื่อสังคมออนไลน์ จนทำให้เกิด Influencer มากมายในเวลาอันรวดเร็ว แต่มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ผู้ชมจะติดตามคอนเทนต์ทั้งหมดจาก Influencer นอกจากนี้ หากสังเกตจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้กระแสความนิยมใน Influencer  เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Influencer ที่มีชื่อเสียงในวันนี้ อาจจะไม่ได้รับความสนใจในวันพรุ่งนี้ก็ได้ ดังนั้น แทนที่จะเลือก Influencer ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ลองหันมามอง Nano Influencer ที่มีผู้ติดตามหลักพันดูบ้าง โดยมีผลสำรวจออกมาว่า  Influencer ที่มีผู้ติดตาม 5,000-10,000 คน จะมีอัตราการมีส่วนร่วม 6.3% ขณะที่ Influencer ที่มีผู้ติดตาม 1,000-5,000 คน จะมีอัตราการมส่วนร่วมสูงสุดที่ 8.8%  





     2.
อย่าเลือก Influencer ที่ไม่เชี่ยวชาญในสินค้าประเภทนั้นๆ

        ทุกคนรู้ดีว่า Influencer ไม่ใช่ว่าเชี่ยวชาญในทุกๆ เรื่อง ดังนั้นหากเลือก Influencer ที่ไม่ได้อยู่ในสายนั้นแล้ว  หากมีการจับผิดว่าไม่ใช้จริงหรือไม่มีความรู้จริงๆ ทั้งแบรนด์และ Influencer จะเสียความน่าเชื่อถือ ในกรณีนี้ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า Influencer ที่เลือกใช้มีคุณสมบัติตรงกับสินค้าหรือไม่ เช่นแบรนด์ความงามก็ควรมองหา Influencer ที่มีความถนัดในด้านความงามจริงๆ  นอกจากนี้ควรให้อิสระกับ Influencer ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ รูปภาพ และวิดีโอสำหรับเนื้อหาตัวสินค้า เพื่อให้คอนเทนต์นั้นน่าสนใจและสอดรับไปกับบุคลิกของ Influencer





     3. อย่าเลือก Influencer ที่มีประวัติไม่ดี  

         Influencer ก็เป็นคนธรรมดาที่ทำผิดพลาดได้ ดังนั้น อย่าลืมทำเงื่อนไขข้อตกลงกับ Influencer ทำให้ยกเลิกสัญญาได้หาก  Influencer ทำสิ่งที่ขัดกับแบรนด์ แต่ในขณะเดียวกัน จะต้องรู้ตัวว่าใครเป็นควรเป็น Influencer ของพวกเขา บางที ยูทูปเบอร์ที่อยากร่วมงานด้วยที่มีคนดูเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะกับแบรนด์  แต่อาจจะมีประวัติที่ไม่ดีมาก่อน   ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทำการบ้านก่อนที่จะเซ็นสัญญากับ Influencer






     4
. อย่าเลือก Influencer ที่ปั๊บยอดผู้ติดตาม

         ต้องระวัง  Influencer ที่ซื้อคนติดตามหรือมีสัดส่วนของบอทที่มากกว่าจำนวนผู้ติดตามจริง  Influencer บางคนมีผู้ติดตาม Instagram เพิ่มขึ้นอย่างผิดธรรมชาติหรือในช่วงเวลาสั้นๆ  ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของ Influencer หาก กังวลเกี่ยวกับ Influencer ให้ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผู้ติดตามเช่น HypeAuditor หรือ IG Audit จะช่วยให้สามารถสแกนผู้ติดตามเพื่อหาบอทได้
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup