Digital Marketing
Revenue Model ทำยังไงให้ผู้ใช้ยอมจ่ายเงิน
Startup บางรายที่ประสบความสำเร็จในด้านจำนวน User ที่มีกันมากมายตั้งแต่หลักแสนหลักล้าน แต่สุดท้ายก็ต้องล้มไม่เป็นท่าเพราะด้วยเหตุว่า “มีคนใช้แต่ไม่มีคนจ่ายเงิน” ดังนั้น เวลาที่จัดทำ BMC (Business Model Canvas) นั้น ก่อนที่จะเขียนรายละเอียดช่อง Revenue Stream (RS) ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าใครคือ “User” และ “Payer” ซึ่ง User กับ Payer นั้นแตกต่างกันตรงที่ User หมายถึงผู้ใช้งานที่เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มของเรา แต่ Payer หมายถึงผู้ที่จ่ายเงินให้กับแพลตฟอร์ม และในบางครั้ง User ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็น Payer ก็ได้
สมมติว่าเราทำ Startup ที่เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการสอนภาษาออนไลน์ให้กับนักเรียนนักศึกษา ตรงนี้ User คือกลุ่มนักเรียนนักศึกษา แต่ในส่วนของ RS นั้น ปรากฏว่าการที่มีการเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการผ่านบัตรเครดิต หรือ e-Wallet ซึ่งคนที่จ่ายเงินให้กับ User คือผู้ปกครองที่มีบัตรเครดิต หรือบัญชี e-Wallet กลุ่มนี้แหละที่จะเรียกว่า Payer ฉะนั้นเวลาที่วางแผน RS ต้อง Focus มาที่กลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ก็ต้องให้น้ำหนักในการทำตลาดให้เข้าถึงกลุ่ม User ด้วยเช่นกัน เนื่องจากหาก User ไม่เกิดความประทับใจ User ก็จะไม่ทำการบอกต่อให้ Payer มาจ่ายเงิน ไม่เกิดการซื้อซ้ำและเป็นจุดสิ้นสุดของการสร้างกิจกรรมทางธุรกิจได้
สรุปใจความสำคัญของ RS ใน BMC คือเราต้องแยกให้ออกว่าใครคือ User และใครคือ Payer และเราควรพิจารณารูปแบบของ RS ให้เหมาะสมกับธุรกิจเพื่อที่จะได้วางแผนการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรูปแบบของ RS หลักๆ จะประกอบด้วย
1. ค่าบริการ เป็นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในรูปแบบของค่าบริการใช้งานของ User เช่น การขนส่ง การบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์ต่างๆ การให้บริการจด Domain Name เป็นต้น
2. ค่าเช่า เช่น การเรียกเก็บค่าเช่าพื้นที่เว็บไซต์ หรือ Web Hosting
3. ค่าสมาชิก เป็นการกำหนดการจัดเก็บค่าบริการในรูปแบบของค่าสมาชิกรายเดือน หรือรายปี
4. ค่าธรรมเนียมการซื้อ-ขาย โดยส่วนมากจะเป็นการเรียกเก็บค่าคอมมิสชัน จากการขายในลักษณะของ Online Market Place
5. ค่าโฆษณา เป็นการหารายได้จากการเรียกเก็บค่าพื้นที่ในการลงโฆษณาตามหน้าเว็บไซต์ หรือ Application ต่างๆ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี