สตีเบล เอลทรอน เผยการพัฒนาระบบนิเวศด้านอีคอมเมิร์ซ การนำเสนอโซลูชันเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ
สตีเบล เอลทรอน ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำในประเทศไทย และผู้นำตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ ปั๊มน้ำ ฮีทปั๊มและเครื่องเป่ามือจากประเทศเยอรมนี เผยว่าการพัฒนาระบบนิเวศด้านอีคอมเมิร์ซ การนำเสนอโซลูชันเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในประเทศไทยในปี 2564 นี้
จากการที่ร้านค้าปลีกหยุดดำเนินการในระหว่างการแพร่ระบาด สตีเบล เอลทรอน ได้มีการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการช้อปปิ้งด้วยการร่วมกับคู่ค้าอีคอมเมิร์ซออกผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งการเปิดตลาดเพื่อจับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ด้วย โดยในช่วงปี 2564 นี้ ยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ซึ่งเป็นอานิสงส์จากช่องทางอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของร้านค้าปลีกที่มีการขยายช่องทางการขายสู่ออนไลน์มากขึ้น ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ เชื่อว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากกลยุทธ์การปรับลดราคา
โรลันด์ เฮิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จำกัด กล่าวว่า “แม้ว่าตลาดจะได้รับผลกระทบจากการหยุดดำเนินการของร้านค้าปลีก รวมทั้งการชะลอตัวของโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เรายังสามารถคงยอดขายไว้ได้โดยการมุ่งเน้นไปที่การขายผ่านช่องทางออนไลน์เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมีความต้องการในตัวสินค้าอยู่สถานการณ์ที่ท้าทายเช่นนี้นับเป็นโอกาสที่ดีให้เราได้กลับมาทบทวนและประเมินแผนธุรกิจและลูกค้าของเราใหม่ และยังช่วยให้สตีเบล เอลทรอน สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่าง C-Segment ที่มีราคาที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ช่วยให้เราสามารถคงไว้ซึ่งยอดขาย และยังมีส่วนให้เราดำเนินธุรกิจต่อไปได้โดยไม่ต้องลดจำนวนพนักงานหรือลดเงินเดือนของพวกเขาลงด้วย”
อนึ่ง ผลิตภัณฑ์กลุ่มเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายพร้อมไปกับการได้ดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นยังถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญที่สตีเบล เอลทรอน ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอออกไป โดยจากการศึกษาพบว่าปัจจุบันลูกค้าให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของสินค้า ระยะเวลาในการส่งมอบ และการให้ความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ออกวางจำหน่ายในปี 2564 นั้นถือว่าตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในปี 2564 ได้แก่
- เครื่องทำอุ่นรุ่น XG Super Black ที่วางจำหน่ายในจำนวนจำกัดเพียง 1,000 เครื่อง เฉพาะช่องทางออนไลน์ Shopee, Lazada และ JD Central
- เครื่องทำร้อนรุ่น DCM7 มาพร้อม Rapid Composite Heater ที่ช่วยให้ผลิตน้ำร้อนได้รวดเร็วทันใจ
- STIEBEL LIFE ตู้กดน้ำร้อน-น้ำเย็นที่มาพร้อมเครื่องกรองน้ำเชิงพาณิชย์คุณภาพระดับพรีเมียมอย่าง MAXSTREAM ที่ช่วยให้กรองน้ำได้ปริมาณมาก ออกแบบมาได้อย่างลงตัวไม่ว่าจะติดตั้งกับที่บ้าน สำนักงาน หรือสถานที่ทำงาน
- MAXSOFT เครื่องทำน้ำอ่อนคุณภาพสูง ขนาดกะทัดรัด ที่ช่วยเสริมคุณภาพของน้ำดื่มสำหรับเครื่องชงกาแฟ เครื่องทำน้ำแข็ง และตู้กดน้ำร้อน-น้ำเย็น ซึ่งถือเป็นสินค้าที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับร้านอาหาร และคาเฟ่ต่างๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยให้ลูกค้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงการระบาดของโควิด-19 สตีเบล เอลทรอน ยังได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องทำน้ำอุ่นซีรีย์ใหม่ ชื่อว่า “Safe-Save Series” ที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดปริมาณงบประมาณในขณะที่ยังคงเพลิดเพลินกับการอาบน้ำอุ่นได้ทุกวัน ได้แก่ รุ่น DE, AQE และ WS E-2 โดยทั้งสามรุ่นนี้ออกมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าชาวไทยที่เป็นครอบครัวใหญ่ ผู้พักอาศัยอยู่คนเดียว และกลุ่มผู้ที่เริ่มทำงาน ที่ให้ความเชื่อมั่นกับมาตรฐานเยอรมัน การวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งสามรุ่นนี้ของสตีเบล เอลทรอนถือเป็นการขยายตลาดและแนะนำแบรนด์ให้กับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยเน้นที่กลุ่มลูกค้าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่จะขยายไปยังภูมิภาคอื่นของประเทศไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขยายฐานลูกค้าเดิม รวมถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาได้อีกด้วย
จากการล็อกดาวน์ประเทศส่งผลให้ดีลเลอร์ทั่วประเทศของสตีเบล เอลทรอนต้องปิดดำเนินการชั่วคราว บริษัทจึงได้เสริมความแข็งแกร่งในกลยุทธ์อีคอมเมิร์ซเพื่อเพิ่มยอดขายในประเทศ เนื่องด้วยสินค้ากลุ่มเครื่องทำน้ำอุ่นและสินค้าอื่นๆ ของสตีเบล เอลทรอนถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตของคนไทย บริษัทฯ คาดการณ์ว่ายอดจะโตได้ถึง 5% ในปี 2564 เทียบกับปี 2563 สืบเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ของประเทศ
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2564 สตีเบล เอลทรอน มียอดขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากช่องทางโมเดิร์นเทรด (58%) ตามมาด้วยดีลเลอร์ (22%) การค้าระหว่างธุรกิจด้วยกัน หรือ B2B (11%) และอีคอมเมิร์ซ (9%)
“ลูกค้ามีความคิดที่ต่างจากเดิมว่าพวกเขาจะใช้จ่ายเงินอย่างไรในช่วงที่ต้องเผชิญกับความเข้มงวดต่างๆ จากสถานการณ์โควิด -19 ซึ่งช่องทางอีคอมเมิร์ซสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ช่วยประหยัดเวลา อีกทั้งการเปรียบเทียบราคายังเป็นเรื่องที่คนให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น เราดีใจที่ปีนี้เราสามารถก้าวผ่านความท้าทายเหล่านั้นมาได้และหวังที่จะประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีเมื่อถึงช่วงสิ้นปี 2564 ด้วย เรายังคงเดินหน้าพัฒนาและส่งมอบสินค้าและบริการให้กับครอบครัวชาวไทยโดยการขยายช่องทางการขายเพื่อเข้าถึงคนในทุกภูมิภาคทั่วไทยให้มากขึ้น เช่นเดียวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีความยั่งยืนและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม” โรลันด์ กล่าวสรุป
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี