กรุงศรีประกาศผลกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 32.93 พันล้านบาท ได้รับแรงสนับสนุนจากธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ และกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง

     กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการสำหรับปี 2566 มีกำไรสุทธิจำนวน 32.93 พันล้านบาท เติบโต 7.2% จากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิของธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ ผนวกกับการตั้งสำรองตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวังเพื่อความแข็งแกร่งของคุณภาพสินทรัพย์

     เงินให้สินเชื่อรวมของธนาคารเติบโต 3.5% ในปี 2566 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจในประเทศ และสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะในส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศ โดยสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 11.3% สะท้อนการสนับสนุนความต้องการเงินทุนระยะยาวและเงินทุนหมุนเวียนของลูกค้า สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

 สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินที่สำคัญสำหรับปี 2566

  • กำไรสุทธิในปี 2566 จำนวน 32,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% หรือ 2,216 ล้านบาท จากปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิของพอร์ตสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศที่ควบรวมแล้วเสร็จในปี 2566

 

  • เงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 3.5% หรือจำนวน 67,795 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจในประเทศ และสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะในส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศ หากไม่รวมธุรกิจในต่างประเทศที่เพิ่งควบรวม เงินให้สินเชื่อรวมเติบโต 16,611 ล้านบาท หรือ 9%

 

  • เงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 9% หรือจำนวน 34,909 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2565โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำ สุทธิกับการลดลงของเงินฝากออมทรัพย์

 

  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เพิ่มขึ้นมาที่ 91% จาก 3.45% ในปี 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการควบรวมธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ แม้ต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้นก็ตาม

 

  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 2% หรือ 6,920 ล้านบาท จากปี 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิโดยเฉพาะส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศ รายได้จากการดำเนินงานอื่น และหนี้สูญรับคืน

 

  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ อยู่ที่ 5% เทียบกับ 43.8% ในปี 2565

 

  • อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่53% เทียบกับ 2.32% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยการตั้งสำรองสำหรับบริษัทลูกในต่างประเทศ ตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวัง ส่งผลให้สัดส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 175 เบสิสพอยท์

 

  • อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 1%

 

  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่24%เทียบกับ 17.97% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565

 

     เคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปี 2566 สภาวะเศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้ากว่าคาดการณ์จากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแอและการฟื้นตัวในประเทศที่ไม่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นในด้านการเงินที่มีความทั่วถึงทุกภาคส่วนและการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศที่เพิ่งควบรวมเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่ส่งผลให้กำไรสุทธิมีความแข็งแกร่งและเงินให้สินเชื่อรวมเติบโตได้ถึง 3.5% ในปีที่ผ่านมา”

     “อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นถึง 3.4% ในปี 2567 แต่จากความท้าทายด้านสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้บริโภครายย่อยและผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง กรุงศรีจึงกำหนดพันธกิจสำหรับปีนี้ โดยเร่งดำเนินการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองได้ต่อไป และช่วยบรรเทาปัญหาหนี้เรื้อรังของประเทศอย่างจริงจัง ตอกย้ำหลักการธนาคารพาณิชย์ที่มีจุดยืนเพื่อความยั่งยืนของกรุงศรี รวมทั้งการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย”

     ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 กรุงศรี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบเศรษฐกิจไทยจากมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินรับฝาก และเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) มีสินเชื่อรวม 2.02 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.84 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.77 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 309.12 พันล้านบาท หรือเทียบเท่า 18.24% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของคิดเป็น 13.56%

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

 

NEWS & TRENDS