7 วิธีปลูกผักรวยพันล้าน แบบ โอ้กะจู๋

     ใครว่าธุรกิจเกษตรรวยยากลองไปดูแนวทางของ ‘โอ้กะจู๋’ จากธุรกิจเล็กๆ วันนี้ได้เติบโต พาบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ เข้าสู่ตลาดมหาชนเรียบร้อย


     จากแปลงเล็กๆ ขยายอาณาจักรกว่า 380 ไร่

            ถ้าพูดถึงโอ้กะจู๋ก็ต้องนึกถึงเกษตรอินทรีย์ที่เริ่มต้นจากความรัก ที่วันนี้ความรักได้ออกดอกออกผล ปัจจุบัน สวนของ OKJ ที่ใช้ปลูกผักสลัด ผลไม้บางชนิด และดอกไม้ทานได้ ด้วยกระบวนการเกษตรอินทรีย์ทั้ง 5 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่รวมประมาณ 380 ไร่ เป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่การันตีด้วยมาตรฐาน IFOAM จากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ USDA Organic มาตรฐานรับรองอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดา (Canada Organic Regime – COR) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU Organic Certification)


     จิรายุทธ ภูวพูนผล ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเกษตรอัจฉริยะ OKJ กล่าวว่า OKJ เชี่ยวชาญในกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ในเชิงลึก ซึ่งเป็นกระบวนการจัดหาวัตถุดิบผักสลัดที่หลากหลายและเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญที่สุดของบริษัทฯ โดยผู้บริหารและบุคลากร มีความเข้าใจวิธีการเพาะปลูก ลักษณะ และคุณสมบัติของผักแต่ละชนิด สามารถปรับเปลี่ยนวิธีเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแต่ละฤดูกาลในประเทศไทย โดยมีการทำเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการทุกกระบวนการ เพราะบริษัทฯ เชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำการเกษตรกรรม

     นอกจากนี้ บริษัทฯ ตั้งใจปลูกและเก็บเกี่ยวผักอินทรีย์ทุกต้นพร้อมเสิร์ฟให้ถึงมือทุกคน โดยปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง

 


ส่งผักสดใหม่ภายใน 28 ชั่วโมง

     นอกจากความเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรอินทรีย์แล้ว วรเดช สุชัยบุญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ซัพพลายเชน OKJ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ มีความสามารถในการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สามารถควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ บริหารจัดการครัวกลาง บริหารจัดการสาขา ทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในแต่ละกระบวนการ รวมไปถึงการควบคุมการดำเนินงาน วางแผนร่วมกับผู้ให้บริการภายนอกที่มีประสบการณ์ด้านการโลจิสติกส์ในการขนส่งและการบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้า พร้อมใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถติดตามสถานะการขนส่ง การควบคุมจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยจะขนส่งวัตถุดิบจากเชียงใหม่มาศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ รวมถึงกระจายสินค้าไปยังร้านอาหารแต่ละสาขาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผักถือเป็นวัตถุดิบสำคัญของบริษัทฯ สามารถจัดส่งผลผลิตที่สดใหม่จากสวนถึงหน้าร้านสาขาภายใน 28 ชั่วโมง

 

ทีมงานต้องพร้อม

     จะเห็นได้ว่า OKJ มีการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างสม่ำเสมอ เบญญาภา เตชะมณีสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ OKJ กล่าวว่า นั่นเป็นเพราะจุดแข็งของ OKJ คือการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จากทีมวิจัย ร่วมกับฝ่ายการตลาดที่ศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และกระแสนิยมของผู้บริโภค ทำให้บริษัทฯ สามารถออกเมนูใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย และแตกต่างจากอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไป

     นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการฝึกอบรม เพิ่มศักยภาพบุคลกรอย่างสม่ำเสมอ โดยมีศูนย์การเรียนรู้ Ohkajhu academy เพื่อสร้างสมรรถนะที่ครบด้าน รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ในการให้บริการลูกค้าที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัว เป็นคนที่เรารัก พร้อมที่จะดูแล และมอบสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และยอดขายจากสาขาที่เปิดเพิ่มเติม

     “บริษัทฯ ยังมีการนำเมนูและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของแบรนด์โอ้กะจู๋ และนำเสนอเป็นร้านรูปแบบใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ได้แก่ การเปิดร้าน Oh! Juice และร้าน Ohkajhu Wrap & Roll ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าและถูกพูดถึงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก ตอกย้ำให้ OKJ เป็นผู้นำการสร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์ และเมนูเพื่อสุขภาพที่แปลกใหม่ (Trend setter) ให้เกิดเป็นกระแสนิยมในประเทศไทย”

 


ปัจจุบัน‘โอ้กะจู๋แบ่งธุรกิจออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

     (1) บริการและจำหน่ายอาหารภายใต้แบรนด์ “โอ้กะจู๋” จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ อาทิ สลัด สเต็ก สปาเก็ตตี้ อาหารจานเดียว ขนมหวาน น้ำผักผลไม้

     (2) ร้านอาหารประเภทจานด่วน (QSR) ภายใต้แบรนด์ “Ohkajhu Wrap & Roll” จำหน่ายสลัด แร๊พสลัด แซนวิช และเมนูสุขภาพพร้อมหยิบ
(Grab & Go) เพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตที่เร่งรีบได้ และ

     (3) ร้านน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ “Oh! Juice” ซึ่งต่อยอดจากเมนูน้ำผักออร์แกนิค และผลไม้ที่จำหน่ายในร้านโอ้กะจู๋


     ภวิษย์เพ็ญ เหล่ารัตนไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บัญชีและการเงิน OKJ กล่าวเสริมว่า ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,110.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 778.0 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 73.9 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และการขยายสาขารูปแบบ Full-service Restaurant 6 สาขา นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2566 อีกทั้ง บริษัทฯ เริ่มรับรู้รายได้จากการขายจากการเปิดร้านอาหารและเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ใหม่ ได้แก่ ร้าน Ohkajhu Wrap & Roll ที่เริ่มเปิดสาขาแรกเดือนเมษายน 2567 และร้าน Oh! Juice ที่เริ่มเปิดสาขาแรกเดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา

7 กลยุทธ์พาธุรกิจโตพันล้าน

 

     (1) พัฒนาธุรกิจบริการและจำหน่ายอาหารภายใต้แบรนด์โอ้กะจู๋ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยการขยายสาขา เพิ่มรูปแบบร้านอาหารใหม่ ๆ และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยตั้งเป้าหมายขยายครบ 67 สาขา ภายในปี 2571

     (2) สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้เกิดความผูกพันกับแบรนด์ (Brand engagement) และความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) ผ่านกลยุทธ์ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิกเพิ่มเติม รวมถึงแผนการตลาดที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อทำให้เกิดการซื้อซ้ำบ่อยขึ้น

     (3) พัฒนาธุรกิจ และแบรนด์ใหม่ ๆ และขยายช่องทางการจำหน่าย โดยต่อยอดจากธุรกิจหลัก โดยในปีนี้ บริษัทฯ ประสบความสำเร็จจากการเริ่มธุรกิจใหม่ภายใต้แบรนด์ “Ohkajhu Wrap & Roll” และ “Oh! Juice” และมีแผนจะขยายสาขาร้านใหม่ทั้ง 2 แบรนด์อย่างต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือเมืองท่องเที่ยวสำคัญ โดยตั้งเป้าหมายการขยายสาขาทั้ง 2 แบรนด์ รวมประมาณ 90 สาขา ภายในปี 2571 รวมถึงมีแผนพัฒนาแบรนด์อื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น

     (4) เติบโตอย่างรวดเร็วร่วมกับ OR ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง โดยร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำสินค้าไปจำหน่ายในร้าน

Café Amazon ทำให้มีโอกาสเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันของ OR จำนวนมาก ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำธุรกิจ รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายสาขาร้านอาหาร

     (5) ต่อยอดและรักษาความเป็นผู้นำในการทำเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาวิธีการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น พร้อมมุ่งมั่นในการขยายเครือข่ายเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ วิถีธรรมชาติ วิถีที่ยั่งยืน

     (6) พัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) โดยมีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตและเพิ่มสายการผลิตสินค้าเพิ่มเติมที่ครัวกลางในกรุงเทพฯ และ

     (7) แสวงหาโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ช่วยพัฒนา Ecosystem และสร้างนวัตกรรมในการทำธุรกิจของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

Gen Z วัยสุดแปลก ผู้หญิงไปซ้าย ผู้ชายไปขวา เกิด เติบโตเวลาเดียวกัน แต่พฤติกรรมต่างกันสุดขั้ว

เวลานี้ใครๆ ก็รู้ว่า Gen Z คือ กลุ่มคนที่มีพลังอำนาจการซื้อและบริโภคที่สำคัญต่อไปของโลกเรา แต่รู้กันไหมว่าถึงจะเป็นคนรุ่นใหม่เหมือนกัน ชอบเทคโนโลยีสมัยใหม่เหมือนกัน แต่ Gen Z ทั้งหญิง และชาย ก็มีความชื่นชอบ พฤติกรรมการใช้จ่ายที่แตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ

ปฏิวัติวงการเดลิเวอรี่! ใช้โดรนส่งอาหารถึงกำแพงเมืองจีน ตีตลาดพื้นที่ระดับความสูง 0.6 ไมล์

ตั้งแต่บริการธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตขึ้นมาก เรามักได้เห็นความพยายามคิดรูปแบบการขนส่งใหม่ๆ ล่าสุดใครจะคิด แม้แต่บนกำแพงเมืองจีนที่ยาวกว่า 20,000 กม. ก็มีการใช้โดรนส่งอาหารให้นักท่องเที่ยวกันแล้ว

6 โอกาสทำเงินในธุรกิจอาหาร 2025

โลกของอาหารกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และปี 2025 ก็เป็นอีกปีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจอาหาร ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจอาหารมากมาย