TEXT : กองบรรณาธิการ
Main Idea
- กระแสสิ่งแวดล้อมยังคงแรงต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการอาจสงสัยว่า แท้จริงแล้วผู้บริโภคนั้นสนใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแค่ไหน
- ส่อง 5 สินค้าสายกรีนที่ผู้บริโภคยอมจ่าย
ทั้งนี้จากภาวะโลกร้อนสู่ภาวะโลกเดือดที่ร้อนแรงขึ้น ทำให้หลายๆ ฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อปกป้องโลกใบนี้ ดังเห็นได้จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ส่อให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การนำถุงกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิลขยะ
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดการผลิตสินค้ารักษ์โลก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องบริโภคสินค้าพร้อมกับรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยปัจจุบันหลากหลายแบรนด์ได้มีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี มาประยุกต์ของกับการผลิตสินค้าภายในแบรนด์ให้กลายเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ การใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก หรือสินค้าที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อีกครั้งโดยที่ไม่เพิ่มปริมาณขยะให้กับโลก
อย่างไรก็ดีแม้เทรนด์สิ่งแวดล้อมจะมาแรง ผู้บริโภคมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แนวโน้มการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร และสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมประเภทใดที่ผู้บริโภคยอมจ่ายมากที่สุด
เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้า จากรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study (ACSS) ที่ธนาคารยูโอบีได้จัดทำขึ้น เป็นประจำทุกปี รายงานฉบับล่าสุดเดือนมิถุนายน 2566 โดยในประเทศไทยเป็นการสำรวจคำตอบของผู้บริโภค 600 คน ที่ได้เผยแพร่ข้อมูลส่วนหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องความยั่งยืนพบว่า
5 อันดับแรก พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อความยั่งยืน
- 54% ใช้ถุงที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้แทนถุงพลาสติกเมื่อช้อปปิ้ง
- 51% ลดขยะอาหาร
- 50% แยกและรีไซเคิลขยะ
- 43% เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน
- 42% ลดการใช้น้ำ
5 อันดับสุดท้าย พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อความยั่งยืน
- 21% เป็นอาสาสมัครให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
- 24% บริจาคให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
- 28% จ่ายเพิ่มเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างยั่งยืน
- 30% สนับสนุนบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสีเขียว
- 31% ใช้ในรถยนต์และยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในการเดินทางประจำวัน
แนวโน้มที่จะใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะใช้จ่ายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดของใช้ชีวิตประจำวัน
- 85% อาหาร / เครื่องดื่ม / ของชำ
- 80% บ้านและของใช้ส่วนตัว
- 80% การเดินทาง
- 76% รถยนต์
- 76% เครื่องแต่งกาย
จากข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเหล่านี้ต้องปรับตัวหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าเดิม เพราะนั่นหมายถึงโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคก็มีมากขึ้น
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี