TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ
Main Idea
- วันนี้ผมอยากชวนคุยเรื่อง “ความลับสวรรค์ของธุรกิจ“ ที่ไม่มีใครบอกคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก
- โดยบอกว่า คนที่เข้าใจมัน จะหาเงินจากมันได้ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจมันจนกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ จะต้องจ่ายเงินให้กับมัน ว่าง่ายๆ คือผลกระทบของเรื่องนี้มีทั้งทางบวกและทางลบต้องเข้าใจและควบคุมให้ดี
- ต่อไปนี้คือ แนวทางการสร้าง Exponential Growth Pattern มีอะไรบ้าง แต่ละแนวทางมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
- รวมทั้งขั้นตอนการสร้างโมเดลธุรกิจแบบทวีคูณเพื่อให้เติบโต 10 เท่า
เริ่มต้นกับการทำความรู้จักเกี่ยวกับ Keyword ของเรื่องเหล่านี้ก่อนครับ...
รูปแบบการเติบโตแบบทวีคูณ Exponential Growth Pattern : ในมุมมองทางธุรกิจ หมายถึง สถานการณ์ที่บริษัทประสบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในด้านรายได้ ฐานลูกค้า ส่วนแบ่งตลาด หรือเมตริกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การเติบโตนี้มักมีลักษณะเป็นผลทบต้น ซึ่งอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจที่มีรูปแบบการเติบโตแบบทวีคูณมักจะประสบกับวิถีการเติบโตที่เหนือกว่าการเติบโตเชิงเส้น และอาจนำไปสู่ความสำเร็จที่สำคัญและการครอบงำตลาด
ลองนึกภาพว่าคุณเริ่มต้นธุรกิจเทคโนโลยีขนาดเล็กด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แปลกใหม่ ในช่วงแรก สิ่งต่างๆ อาจจะเป็นไปอย่างช้าๆ และคุณกำลังพยายามที่จะได้รับแรงผลักดันในตลาด แต่เมื่อข่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมของคุณแพร่กระจายออกไป และลูกค้าเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของนวัตกรรม สิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น
เมื่อลูกค้าพึงพอใจแต่ละราย ผลิตภัณฑ์ของคุณจะถูกมองเห็นมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ลูกค้าจำนวนมากขึ้น กระแสตอบรับเชิงบวกนี้สร้างเอฟเฟกต์สโนว์บอล (Snowball Effect) คือการกระทำที่ส่งผลทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ กระตุ้นการเติบโตแบบทวีคูณ ทั้งฐานลูกค้า และรายได้ของคุณก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นักลงทุนแห่กันไปร่วมลงทุนกับคุณ แม้แต่สื่อก็พูดถึงรูปแบบธุรกิจที่พลิกโฉมธุรกิจของคุณ เป็นวังวนแห่งความสำเร็จ!
ในขณะที่ธุรกิจของคุณขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คุณจะดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูง ช่วยให้คุณเปิดตลาด เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และเอาชนะคู่แข่งได้ บริษัทคุณพลิกโฉมภูมิทัศน์ทางธุรกิจ
แต่อย่าลืมว่าพลังอันยิ่งใหญ่ย่อมมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ การจัดการการเติบโตแบบทวีคูณอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย การดำเนินการปรับขนาด การรักษาคุณภาพ และรักษาโมเมนตัมเริ่มต้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและการดำเนินการอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม เมื่อทำถูกต้องแล้ว รูปแบบการเติบโตแบบทวีคูณสามารถเปลี่ยนสตาร์ทอัพขนาดเล็กให้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการได้ ซึ่งสร้างมรดกที่ยั่งยืนในโลกธุรกิจ
แนวทางการสร้าง Exponential Growth Pattern
ถ้าหากคุณพร้อมที่จะมีรายได้เติบโตเป็น 10 เท่าแล้วต่อไปนี้คือแนวทาง
ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest)
รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นได้ก็มาจากการทำกำไรจากดอกเบี้ย อย่างดอกเบี้ยทบต้น คือ การเอาดอกเบี้ยหรือกำไรที่ได้จากการลงทุน มาทบกับเงินต้นแล้วลงทุนต่อ ทุนเดิมที่มีก็จะเพิ่มพร้อมๆ กับดอกเบี้ย/กำไร ยิ่งผ่านไปนานเงินในบัญชีก็จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ยกตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย
หากเรานำเงิน 100,000 บาทไปลงทุน และได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น เราจะได้ดอกเบี้ยปีละ 1,500 บาทเท่ากันทุกปี รวมดอกเบี้ย 10 ปี เท่ากับ 15,000 บาท โดยตัวอย่างของ ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้, เงินปันผลที่ได้จากหุ้นหรือกองทุน
แบบที่สอง ถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบทบต้น
สิ้นปีที่ 1 ได้ดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 1 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 101,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 ได้ดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 2 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 103,022.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 ได้ดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
สิ้นปีที่ 3 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 104,567.8 บาท
และทบแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อสิ้นปีที่ 10 เงินต้นรวมดอกเบี้ยจะเป็น 116,054 บาท
นับเฉพาะดอกเบี้ยเท่ากับ 16,054 บาท เทียบกับแบบแรกที่ได้ 15,000 บาท
โดยสูตรการคำนวณเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกเบี้ยต่อปี) ยกกำลังจำนวนปี
โดยตัวอย่างของดอกเบี้ยแบบทบต้น คือเงินฝากออมทรัพย์ รวมถึงการลงทุนที่มีหลักการคล้ายกับดอกเบี้ยทบต้น เช่น
- การซื้อกองทุนรวมชนิดสะสมมูลค่า ซึ่งผลตอบแทนจะทบรวมเข้าไปในกองทุนเรื่อย ๆ แทนที่จะถูกจ่ายเป็นปันผลออกมา
- การนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ได้รับ ไปลงทุนต่อที่อัตราผลตอบแทนเท่าเดิม
นอกจากในด้านรายรับแล้ว พลังของดอกเบี้ยทบต้นก็ยังส่งผลต่อด้านรายจ่ายด้วยเช่นกัน
ซึ่งเราก็สามารถแบ่งได้ 2 แบบเหมือนเดิม ยกตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเรามีหนี้ 100,000 บาท ถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี และเรายังไม่ได้จ่ายคืนเงินต้นเลย
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยไม่ทบต้น เราก็จะเสียดอกเบี้ย ปีละ 1,500 บาท เท่ากันทุกปี โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยกู้ซื้อรถยนต์
แบบที่สอง คำนวณแบบดอกเบี้ยทบต้น
สิ้นปีที่ 1 เสียดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 เสียดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 เสียดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต และดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน
อย่างที่ได้บอกไปว่าดอกเบี้ยแบบทบต้น จะคำนวณจากฐานเงินต้นใหม่เสมอ
นั่นแปลว่า ยิ่งเราจ่ายเงินต้นคืนช้าเท่าไร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งทวีคูณมากเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราจ่ายเงินต้นคืนมาก ก็จะทำให้ฐานเงินต้นใหม่มีค่าน้อยลง และดอกเบี้ยก็จะน้อยลงตามไปด้วย
“Word of Mouth” เครื่องมือสร้างรายได้ทรงพลัง
ตราบใดที่ลูกค้าพึงพอใจสินค้าหรือบริการคุณพวกเขาก็จะช่วยกันบอกต่อ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น และถ้าคุณสามารถรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้ ก็จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น เปรียบไปก็เหมือนปรากฏการณ์ “Snowball” ที่ลูกหิมะขนาดเล็ก ๆ เมื่อกลิ้งลงมาตามภูเขาก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในทางกลับกันหากไม่สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้ เกิดของเสีย ก็จะทำให้ความพึงพอใจลูกค้าลดลง การบอกต่อก็ลดลง ส่งผลให้ยอดขายลดลงตามไปด้วย จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เสมอ
Leverage Power
แปลความหมายแบบตรงไปตรงมาก็จะแปลว่า “คานงัด” แต่ถ้าในแง่มุมของด้านการลงทุน ก็คือเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการลงทุนให้สูงขึ้น ช่วยทำให้เราสามารถทำผลตอบแทนได้มากขึ้น (แน่นอนว่าก็ทำให้เรามีโอกาสขาดทุนเยอะขึ้นด้วยเช่นกัน)
สมมติว่าเราต้องการลงทุนในทองคำทั้งหมด 10 บาท ถ้าทองคำตอนนี้ราคาบาทละ 25,000 บาท แปลว่าเราต้องเตรียมเงินลงทุนทั้งหมด 250,000 บาท ไปซื้อทองคำ เราถึงจะสามารถลงทุนในทองคำ 10 บาทได้ แต่การทำ “Leverage” คือการที่เราวางหลักประกันบางส่วนเท่านั้นตามเงื่อนไขของสัญญา ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เราลงทุนผ่าน Gold Future โดยเราจะนำเงินไปวางเพียง 20,000 บาทเท่านั้น ก็เปรียบเสมือนถือทองคำหนัก 10 บาทได้
อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดขอใช้คำว่า เครื่องทุ่นแรง แล้วกันครับ มันคือเครื่องทุ่นแรงบางอย่างที่ช่วยให้คุณสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นภายในเวลาที่น้อยลงหรือเท่าเดิม เช่น สมมุติคุณทำธุรกิจร้านอาหารอยู่สาขาหนึ่งคุณดูแลบริหารเองทั้งหมดได้รายได้ต่อเดือน 100,000 บาท คุณลองจ้างผู้จัดการเก่ง ๆ สักคนให้มาช่วยดูแลร้านสาขานี้แทนคุณไหมเสียค่าจ้างเงินเดือนเขาให้เขาไปสัก 30,000 เท่ากับคุณจะมีคนดูแลทุกอย่างแทนคุณ ส่วนคุณก็เอาเวลาที่เหลือไปเปิดสาขาใหม่ต่อขยายธุรกิจต่อ สมมุติทำได้อีกสาขาหนึ่งรวมเป็น 2 สาขาก็ได้เงินไปแล้ว 70,000 + 100,000 บาท พอสาขาที่ 2 เริ่มไปรอดแล้วคุณก็จ้างผู้จัดการเก่ง ๆ อีกคนมาดูแลสาขานี้แล้วย้ายไปเปิดสาขาอื่นต่อเรื่อย ๆ สมมุติคุณมีสัก 10 สาขาล่ะ เห็นมั้ยจาก เดือนละ 100,000 บาท ก็เป็นเดือนละ 1,000,000 บาทได้นะถ้าคุณใช้พลังทวีเป็นและใส่ใจในธุรกิจดีมากพอ
ข้อเสียของการ Leverage คืออะไร ?
แน่นอนว่าในทางกลับกันถ้าราคาทองคำปรับตัวลดลงเหลือ 24,000 บาท การถือทองคำ 10 บาทอยู่จริง ๆ จะขาดทุน 10,000 บาท แปลว่าเราจะขาดทุนทั้งหมด 4% แต่ถ้าเราลงทุนผ่าน Gold Future เราจะขาดทุนสูงถึง 50% !!
ตัวอย่างการใช้ Leverage
1) ใช้เวลาของคนอื่น OPT : Other People’s Time งานที่ไม่ค่อยสำคัญเป็นงานพื้น ๆ ที่คนอื่นสามารถทำแทนคุณได้ คุณก็หาคนอื่นมาทำแทนและให้ผลตอบแทนเขา ส่วนคุณเอาเวลาที่คุณมีไปทำอะไรที่มันสำคัญกว่าและสร้างเงินกับคุณได้มากกว่าเสียเวลาทำงานพื้น ๆ พวกนั้น เช่นคุณขายของออนไลน์อยู่แต่เป็นคนแพคของให้ลูกค้าเอง เสียเวลามากทำให้ตอบแชทลูกค้าไม่ทัน คุณลองไปจ้างเด็ก ๆ มาช่วยแพคของแทนคุณมั้ยแล้วไปโฟกัสแค่ตอบแชทลูกค้า Confirm Order รัว ๆ แค่นี้ก็ได้เงินมากกว่าเดิมแล้ว หรือถ้าเก่ง ๆ แล้วก็จ้างทั้งระบบไปเลย ส่วนคุณไปนั่งคิดต่อเอาเองว่าเอาอะไรมาขายจะได้เงินเยอะ ๆ อีกดี หรือสร้างระบบธุรกิจ คนรวยทุกคนมีระบบธุรกิจเป็นของเขาเอง มีผู้บริหาร ผู้จัดการเก่ง ๆ คอยดูแลแทนพวกเขา เขาจะไม่เข้าไปยุ่มย่ามมากนักเพราะมักจะเอาเวลาไปนั่งคิดธุรกิจหรือไอเดียใหม่ ๆ ที่จะทำเงินให้เขามากกว่าเดิม
2) ใช้ความรู้ประสบการณ์ของคนอื่น OPK : Other People’s Knowledge ในฐานะการเป็นนักธุรกิจ คุณจำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ และจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ตัวคุณสามารถจะเรียนรู้เรื่องอะไรก็ได้ในโลกนี้เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า คนเรามีเวลาจำกัดวันละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน ดังนั้น การที่เราเกิดมาชีวิตหนึ่ง เราจำเป็นที่จะเลือกเรียนรู้บางอย่างบางเรื่อง ที่เราชอบและสำคัญกับเรามาก ๆ เท่านั้น ดังนั้น การอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญจากผู้อื่น จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมหาศาล ซึ่งคุณรู้ไหมว่า ขนาดมหาเศรษฐีพันล้าน หมื่นล้าน แทบทุกคน ต่างมีที่ปรึกษาและอาจารย์เป็นของตนเองแทบทั้งสิ้น
3) ใช้เงินของคนอื่น จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้เงินจากธนาคารในการขยายธุรกิจ เช่น หากต้องการขยายสาขาธุรกิจ คุณอาจจะต้องใช้เงินหลายล้านในการสร้างสาขาใหม่ แต่หากคุณมีเครดิตที่ดีจากสาขาแรก คุณสามารถไปต่อรองแบงค์เพื่อขอกู้เงินในการขยายธุรกิจได้ ซึ่งหากรอเอากำไรของสาขาแรก ไปขยายสาขาที่สอง อาจจะต้องใช้เวลานานจนไม่ทันการ
4) ใช้พลังจากความสัมพันธ์ของคนอื่น OPR : Other People’s Relationships ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริงของ Facebook ที่ Mark Zuckerberg ได้มีโอกาสรู้จักกับ Sean Parker ที่นำพาให้เขาได้ไปรู้จักกับ Peter Thiel ซึ่งกลายมาเป็นนักลงทุนคนแรกของ Facebook ด้วยเงินจำนวนกว่า 500,000 ดอลล่าร์ฯ หรือราว ๆ กว่า 15 ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่า เงินจำนวนนี้ ส่งผลให้ Facebook จากเดิมที่เติบโตเฉพาะในกลุ่มนักศึกษามหา’ลัย กลายเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คสำหรับคนทั่วไปทั้งโลก โดยเงินทุนก้อนนี้ ทำให้ Facebook เติบโตจนมีสมาชิกเกิน 1 ล้านคนแรก ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งหากไม่มีเงินทุนก้อนนี้ Facebook อาจจะไม่ได้เติบโตรวดเร็วขนาดนี้ และนั่นคือการใช้ประโยชน์จากคอนเนคชั่นของคนอื่น ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำแบบนี้ได้นั้น ธุรกิจของคุณก็จำเป็นที่จะต้องเป็นธุรกิจที่ดีเสียก่อน
5) Technology : รู้จักการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น การใช้ระบบ Automation การใช้ Sofeware เข้ามาช่วยในการทำงาน และอีกไม่นานก็จะมาถึงยุคของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งคำถามก็คือ เราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ว่านี้ มาช่วยให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างไรกันได้บ้าง
โมเดลธุรกิจแบบทวีคูณเพื่อให้เติบโต 10 เท่า
การสร้างโมเดลธุรกิจแบบทวีคูณเพื่อให้เติบโต 10 เท่านั้นต้องใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์และมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรม ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องพิจารณา:
- ระบุ Value Proposition ที่น่าสนใจ: เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจตลาดเป้าหมายของคุณและระบุคุณค่าที่ไม่เหมือนใครซึ่งทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง เสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยแก้ปัญหาสำคัญหรือตอบสนองความต้องการที่สำคัญ
- โอบรับ Disruptive Technologies : สำรวจเทคโนโลยีและแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งมีศักยภาพที่จะทำให้อุตสาหกรรมของคุณหยุดชะงัก เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ หรือความก้าวหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจของคุณไปข้างหน้า
- ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม: ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ การทดลอง และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกมีอำนาจในการแบ่งปันความคิดและท้าทายสภาพที่เป็นอยู่ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการก้าวนำหน้าและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
- ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์: ใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และโอกาส ลงทุนในเครื่องมือวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริงและทำการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างรอบรู้
- พัฒนาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์: ร่วมมือกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ซัพพลายเออร์ หรือแม้แต่คู่แข่งเพื่อสร้างความร่วมมือและขยายการเข้าถึงของคุณ การสร้างพันธมิตรสามารถช่วยให้คุณเข้าถึงตลาดใหม่ เข้าถึงทรัพยากรเพิ่มเติม และผลักดันการเติบโตผ่านความเชี่ยวชาญที่มีร่วมกัน
- Scale with Agility ปรับขนาดด้วยความว่องไว: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ใช้เทคโนโลยี กระบวนการ และระบบที่ปรับขนาดได้ซึ่งสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยไม่กระทบต่อคุณภาพหรือความพึงพอใจของลูกค้า
- Focus on Customer Experience มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้า: จัดลำดับความสำคัญของการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ระยะยาว รวบรวมคำติชม และทำซ้ำผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณอย่างต่อเนื่องตามความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า
- ลงทุนด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์: พัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้แข็งแกร่งและลงทุนในแคมเปญการตลาดที่กำหนดเป้าหมายเพื่อเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์และดึงดูดลูกค้าใหม่ ใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล โซเชียลมีเดีย การตลาดเนื้อหา และการทำงานร่วมกันของผู้มีอิทธิพลเพื่อขยายข้อความของคุณ
- สำรวจตลาดใหม่และกระจายความหลากหลาย: มองหาโอกาสในการขยายสู่ตลาดใหม่หรือกระจายข้อเสนอของคุณ ทำการวิจัยตลาด ระบุกลุ่มเฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ และปรับรูปแบบธุรกิจของคุณให้สอดคล้องกัน
- Monitor, Measure, and Adapt : ตรวจสอบประสิทธิภาพธุรกิจของคุณอย่างต่อเนื่อง วัดตัวชี้วัดที่สำคัญ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของคุณตามความจำเป็น รักษาความคล่องตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและการพัฒนาความต้องการของลูกค้า
โปรดจำไว้ว่า การเติบโต 10 เท่าต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างวิสัยทัศน์ นวัตกรรม การดำเนินการเชิงกลยุทธ์ และความสามารถในการปรับตัว
Ref : https://www.geniuswebb.com/blog/how-to-make-an-exponential-business-model-to10x-growth-5g.html
https://www.longtunman.com/38610
https://www.peerpower.co.th/blog/compound-interest-what-is
https://becomeabetterinvestor.net/blog/einsteins-eighth-wonder-of-the-world/
https://www.finnomena.com/andrewstotz/eighth-wonder-of-the-world/
https://shorturl.asia/Z1wdC
https://www.moneybuffalo.in.th/vocabulary/what-is-leverage
https://news.trueid.net/detail/Vqwalx4GjQkp
https://www.blueoclock.com/5-ways-to-use-leverage-in-business/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี