เชื่อว่าในการทำธุรกิจหลายคนคงรู้ว่าวิธีการนำเสนอแบรนด์นั้นมีมากมายหลากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เราเลยยกการนำเสนอแบรนด์ 2 วิธีนี้มาให้ดูกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร วิธีการนำเสนอแบรนด์ที่เรากำลังจะพูดถึงก็คือ Personal Branding vs Corporate Branding ไปดูกันเลยว่ามีความแตกแต่งกันอย่างไร
Branding คืออะไร
การสร้างแบรนด์ หรือสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างกว่าแบรนด์อื่นๆ และการสร้างแบรนด์ทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำแบรนด์ได้ แต่ต้องทำการตลาดเพื่อสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ด้วย ถ้าแบรนด์เป็นที่จดจำแล้ว จะสามารถทำให้ดึงลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำได้ และนอกจากนี้ยังสามารถดึงลูกค้าใหม่ให้มาซื้อสินค้าของแบรนด์คุณได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างก็ต้องหาวิธีนำเสนอแบรนด์ โดยเลือกใช้เครื่องมือที่สามารถสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ถ้าเลือกไปโฆษณาผ่าน สื่อโทรทัศน์ก็ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง เพราะงั้นจึงต้องทำโฆษณาผ่าน สื่อโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
Personal Branding vs Corporate Branding
- Corporate Branding
หรือที่เรียกว่าแบรนด์องค์กร หมายถึง ภาพลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของบริษัทและวิธีการนำเสนอต่อลูกค้า โดยทั่วไปแล้วแบรนด์องค์กรแสดงถึงวิสัยทัศน์ ค่านิยม ความเชื่อ ซึ่งไม่ได้เน้นเรื่องของการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว ลูกค้าจะมีความไว้วางใจในแบรนด์เพิ่มขึ้นโดยการเล่าเรื่องราวแบรนด์ผ่านอารมณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากแบรนด์ ซึ่งคนจะไว้ใจแบรนด์มากกว่าไว้ใจคน คนจะจดจำว่าแบรนด์ของคุณเชี่ยวชาญในด้านไหน
ตัวอย่างเช่น CP เป็นแบรนด์ธุรกิจที่คนส่วนใหญ่จะจำว่ามีความเชี่ยวชาญด้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารคนหรืออาหารสัตว์
ความสำคัญของการสร้างแบรนด์องค์กร
การสร้างแบรนด์องค์กรมีความสำคัญ เนื่องจากช่วยให้สามารถกำหนดบุคลิกภาพ ลักษณะ ค่านิยม และวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ การทำเช่นนี้อาจทำให้ลูกค้าเลือกผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณมากกว่าของแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด เพราะพวกเขาชื่นชมจุดประสงค์ของคุณ เชื่อมั่นในธุรกิจ ความสัมพันธ์ทำให้สามารถใช้การตลาดทางอารมณ์ ในการผลักดันให้ลูกค้าวางใจ และภักดีต่อบริษัทของคุณ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าจะนำไปสู่การสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง และนอกจากนี้ยังทำให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
- Personal Branding
หรือเรียกว่าการสร้างแบรนด์บุคคล โดยใช้ตัวบุคคลมานำเสนอภาพลักษณ์แบรนด์ให้ผู้คนรับรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่อง ทำการตลาด เป็นต้น ซึ่งบุคคลที่ทางแบรนด์เลือกมานั้นมีทักษะ ประสบการณ์ แนวคิด หรือวิธีการพูดที่ทำให้แบรนด์ของคุณแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เช่น ดารา นักร้อง หรือคนมีชื่อเสียงในด้านต่างๆ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น พิมรี่พาย เจ้าแม่ขายสินค้าออนไลน์ผ่านไลฟ์สด ซึ่งเขาเลือกตัวเองในการนำเสนอ Personal Branding ออกไปให้ผู้คนรับรู้ และยังออกสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มากมาย เช่น น้ำปลาร้าแม่อิพิม พริกทอดแม่อิพิม เป็นต้น
ข้อดี : ลูกค้าจะเชื่อถือในตัวบุคคลมากกกว่าแบรนด์ ซึ่งเรื่องราวของตัวบุคคลจะช่วยให้ภาพลักษณ์แบรนด์มีความสัมพันธ์มากขึ้น และแบรนด์บุคคลสามารถดึงดูดหรือโน้มน้าวผู้ชมได้ดี
ข้อเสีย : การรักษาภาพลักษณ์ตัวแบรนด์บุคคลให้คงอยู่เป็นเรื่องที่ยาก เพราะกาลเวลาทำให้คนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าเกิดว่าตัวแบรนด์บุคคลไปทำอะไรผิด จะส่งผลกระทบกับแบรนด์จะทำให้มีผลเสียตามมาได้ และการทำ Personal Branding ต้องอาศัยเงินลงทุนระยะยาว เพราะต้องออกงานบ่อย ทางที่ดีควรเลือกสื่อที่กลุ่มลูกค้าของเราให้ความสนใจ เพราะจะสามารถทำให้ประหยัดงบประมาณ และสุดท้ายคือ การรักษาแบรนด์บุคคลต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน
และสุดท้ายนี้เราขอแถม Brand vs Logo เพราะว่าเราเชื่อว่าหลายคนคงยังเข้าใจผิดกันอยู่ว่าแตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าทั้งแบรนด์และโลโก้เป็นตัวแทนของบริษัท แต่ก็เป็นแนวคิดที่แตกต่างกันซึ่งเป็นส่วนสำคัญของภาพลักษณ์ของบริษัท
Brand VS Logo
Brand คือ แบรนด์ของบริษัทจะกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัท ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแบรนด์เป็นสิ่งที่ผู้คนนึกถึงเมื่อได้ยิน และทุกสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ ที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
Logo คือ เครื่องหมาย หรือตราสัญลักษณทางการค้า เมื่อผู้คนสังเกตเห็นโลโก้ พวกเขามักจะนึกถึงแบรนด์ขึ้นมานั่นเอง ซึ่งการวางโลโก้บนสื่อการตลาดและการขายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยให้ผู้คนจดจำแบรนด์ของคุณได้ง่ายและสามารถเพิ่มการรับรู้สำหรับลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
พอถึงตรงนี้แล้วทุกคนก็น่าจะเข้าใจระหว่าง Personal Branding กับ Corporate Branding ว่าแตกต่างกันอย่างไรแล้ว สามารถลองเอาไปปรับใช้กับธุรกิจคุณว่าจะเลือกนำเสนอแบรนด์ในมุมมองให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด
ที่มา https://www.indeed.com/career-advice/career-development/corporate-branding
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี