หยุดยอดขายนิ่งให้วิ่งฉิวได้ แค่รู้ 6 วิธีรับมือเรื่องปวดหัวของธุรกิจออนไลน์  

 

     ประเทศไทยได้ก้าวสู่โลกดิจิทัลเต็มตัว เพราะประชากรไทยวัยทำงานมีประมาณ 30-40 ล้านคน ปัจจุบันมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และกิจกรรมที่ตามมาคือ การซื้อของออนไลน์ทำให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่อง มาดูกันว่า 6 เรื่องความท้าทายของร้านค้า e-commerce มีอะไรบ้าง

     1. สินค้าไม่แตกต่าง

      จากผลการสํารวจพบว่า ร้านค้าออนไลน์ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ประสบปัญหาสินค้าไม่มีความแตกต่างจากคู่แข่งหลาย ๆ ร้านมักขายของเหมือนกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกันคือ ซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์เดียวกันกับร้านอื่น หรือเป็นผู้ประกอบการรายเล็กเกินไป การจ้างโรงงานผลิตสินค้าเฉพาะเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เกินความสามารถ

แนวทางแก้ไข 

  • ใช้การตลาดสร้างความแตกต่างให้สินค้า อาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้ง หรือวิธีการสื่อสารกับลูกค้า
  • เจาะตลาดใหม่ ๆ สินค้าที่เคยซ้ำหรือใกล้เคียงกับคนอื่นอาจเป็นของใหม่สำหรับตลาดอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ ทำให้เราสามารถเพิ่มยอดขายได้ แต่ต้องอาศัยการทำการบ้านว่าตลาดนั้นอยู่ที่ไหน และจะหาตลาดนั้นได้อย่างไร
  • คิดและผลิตสินค้าที่ใช่และไม่มีใครเหมือน จากการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงแล้ว หลังจากนั้นก็ปรับผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของ ลูกค้ามากขึ้นสินค้านั้นก็จะแตกต่างจากคู่แข่ง

 

     2. ยิงโฆษณาไปแต่ยอดขายไม่ปัง

     ผู้ค้า 23 % ยังรู้สึกว่าผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ยอดขายไม่เพิ่มขึ้นตามความคาดหวัง หรือไม่ได้ลูกค้าใหม่มากเท่าที่ควร จึงรู้สึกว่าใช้เงินไปไม่คุ้มค่า

แนวทางแก้ไข

  • ต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ตั้งต้นจากการถามด้วยตัวเองก่อนว่าสินค้าหรือบริการที่จะนำเสนอ ใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งสามารถได้รายละเอียดเท่าไรยิ่งดี เพื่อให้เห็นภาพของกลุ่มลูกค้าชัดขึ้นก็จะยิ่งให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

     3. การบริหารจัดการสต็อก

     ซึ่งเป็น 1 ในค่าใช้จ่ายหลักของการทำธุรกิจออนไลน์ จากการสำรวจพบว่า 37% ของผู้ประกอบการออนไลน์ เคยพบปัญหาการบริหารจัดการสต็อกขาด เกิน หรือไม่ลงตัว ซึ่งถ้าหากเก็บสต็อกไว้ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี จนแสดงความคิดเห็นในทางลบกับแบรนด์ ทำให้ส่งผลเสียกับแบรนด์ และอีกปัญหาที่มักเจอก็คือ ร้านค้าออนไลน์ไม่อัพเดตสต็อกบนแพลตฟอร์มออนไลน์แบบเรียลไทม์ รวมทั้งขาดระบบบริหารจัดการที่ดีโดยจดใส่กระดาษ หรือแม้จะใช้เครื่องมือเช่น Excel ทำให้เมื่อลูกค้าสั่งของบนออนไลน์อาจไม่มีส่งให้ลูกค้าก็ได้

แนวทางแก้ไข

  • ปรับปรุงระบบปฏิบัติงานโดยจัดการสต็อกให้เป็นระบบจะมีหลักการที่เรียกว่า Visual Control คือวางสต๊อกให้มองเห็นได้ง่ายใช้ Color Code เข้าช่วย
  • ใช้แอปพลิเคชันเพื่อช่วยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหลายช่องทาง ทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นการบริหารสต๊อกก็จะมีความสับสนน้อยลง

 

     4. การบริหารต้นทุนด้านการจัดส่ง

     นอกจากร้านค้าออนไลน์จะต้องลุ้นว่าขายของได้หรือไม่ แล้วยังต้องลุ้นว่าหลังจากลูกค้าสั่งซื้อของแล้วของที่ส่งไปจะถึงมือลูกค้าถูกต้องตรงตามที่ลูกค้าส่งหรือไม่ ทันเวลาหรือเปล่า และของเสียหายไหม

แนวทางแก้ไข

  • ปรับปรุงกระบวนการจัดส่งรวมไปถึงการรับออร์เดอร์ และบรรจุของให้หยิบง่ายและขั้นตอนไม่ซับซ้อนรวมถึงการเช็กความถูกต้องของสินค้า และการบรรจุหีบห่อที่แข็งแรงช่วยให้ของไม่แตกหักเหมาะสมกับสินค้า
  • เลือกบริษัทขนส่งที่ได้มาตรฐานเพื่อลดปัญหาบริการและความไม่พอใจของลูกค้า
  • ใช้บริการขนส่งและแพ็กสินค้า อาจมีต้นทุนที่มากขึ้น แต่หากขายสินค้าที่มีมูลค่าสูงคุ้มค่าต่อการลงทุนเพิ่มในส่วนนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

 

     ความท้าทายสุดท้าย คือ เงินทุนโดยเฉพาะ SME ที่อยากโตเพราะการค้าขายออนไลน์มักมีรายได้ที่ค่อนข้างผันผวน

     5. การหาเงินทุนเพื่อเข้าร่วมเทศกาลเชลล์

     เช่น เทศกาล 9.9 10.10 11.11 ซึ่งยอดขายอาจโตขึ้นจากช่วงเวลาปกติถึง 20 เท่า นั้นทำให้วิธีการบริหารจัดการเปลี่ยนไปทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้ 61% ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปจัดการ 3 เรื่องคือ ต้องผลิตสินค้าสต็อกมากขึ้น  ซื้อโฆษณามากขึ้น จ้างพนักงานทำงานล่วงเวลาหรือจ้างพาร์ตไทม์

แนวทางแก้ไข

  • วางแผนว่าจะเข้าร่วมแคมเปญกี่ครั้งต่อปี และเมื่อไรบ้าง ซึ่งต้องวางแผนตั้งแต่ต้นปี เพื่อทำตัวให้เข้าหลักเกณฑ์ที่เจ้าของตลาดจะเชิญร่วมรายการ
  • วางแผนว่าจะร่วมเซลส์ด้วยสินค้าตัวใดบ้าง ตรวจสอบว่ามีสินค้าคงคลังเพียงพอหรือไม่ และต้องผลิตหรือสั่งเพิ่มไหม หากไม่พอจะต้องใช้เงินทุนเพื่อผลิต หรือสั่งเพิ่มเท่าไรรวมถึงคำนวณต้นทุนการจ้างพนักงานเพิ่มด้วย โดยต้องรู้ต้นทุนล่วงหน้าก่อนเข้าร่วมแคมเปญอย่างน้อย 30 วันจะได้จัดการหาเงินทุนล่วงหน้าได้ทัน

 

     6. ถูกตัดราคาจากคู่แข่ง

     เพราะเนื่องจากสินค้ามีความคล้ายคลึงกันมาก เช่น สินค้าแฟชั่น  ซึ่งผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มักจะเปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ แบรนด์ก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้ร้านค้าต่างๆ มีการขายตัดราคาเกิดขึ้นเพื่อแย่งชิงลูกค้า

แนวทางแก้ไข

  • ผู้ประกอบการอาจไม่ต้องลดราคาตาม แต่ต้องตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมกับคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาผลิตสินค้า โดยใช้วิธีบอกเล่าที่มาที่ไปของสินค้า วัตถุดิบ และกระบวนการผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าที่ลูกค้าเลือกซื้อมีความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

     เมื่อรู้ปัญหาและหนทางแก้ไขได้แบบนี้แล้วผู้ประกอบการออนไลน์ก็จะสามารถเติบโตและต่อยอดได้อย่างยั่งยืนแล้วล่ะ

ที่มา: https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/sme-online-seller-problem

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ททท. จับมือ สายการบิน EVA Air ผลักดันไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ททท.และสายการบิน EVA Air จึงขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่อง 4 ปี ในการกระตุ้นตลาดหลักทั้งระยะใกล้และระยะไกลผ่านเครือข่ายเส้นทางการบินของ EVA Air

รู้แล้วรุ่ง 10 กลยุทธ์ พิชิตตลาดภูธร ปี 2568

จากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ทำให้หลายแบรนด์มุ่งหน้าบุกตลาดต่างจังหวัด และนี่คือเคล็ดลับ 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณรุกตลาดภูธรได้สำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน