Text: ประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช – ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซ
จากประสบการณ์พบว่า SME ที่ทำการตลาดดิจิทัล มักจะพลาดขั้นตอนที่สำคัญนั่นก็คือ “การวิเคราะห์ และวัดผล” เพื่อนำไปปรับปรุงทิศทางการนำเสนอ และกระบวนการผลิตสื่อออนไลน์ ตลอดจนการทำให้คอนเท็นต์ของธุรกิจถูกค้นพบได้โดยง่าย เข้าเป้า และโดนใจกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องมือที่จะแนะนำนี้ เหมาะสำหรับนักการตลาด หรือเจ้าของช่องยูทูบที่ต้องการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคลิปวิดีโอ ทั้งในแง่ของการแข่งขันกับคู่แข่ง ตลอดจนการเพิ่มยอดวิว และสมาชิกผู้ติดตามที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นลูกค้าของธุรกิจได้ในที่สุด
vidIQ เครื่องมือดันช่องฯ ให้ปัง ตังค์เข้ารัวๆ
วิดไอคิว (vidIQ) เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ช่องยูทูบ และคอนเท็นต์ ตลอดจนช่วยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้ได้พบกับช่องของคุณมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ยูทูบครีเอเตอร์ และนักการตลาดที่ต้องการปั้นช่องฯ ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านของยอดวิว ยอดซับฯ และการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยตัวเครื่องมือจะมาในรูปแบบของส่วนเพิ่มขยาย (extension) บนบราวเซอร์ Chrome และ Firefox ซึ่งคุณผู้สนใจสามารถเข้าไปที่ https://vidiq.com/extension/ คลิกปุ่มติดตั้งได้ทันที สำหรับการให้บริการจะเป็นแบบฟรีเมี่ยม (ใช้ฟรีได้ แต่จำกัดฟังก์ชัน หากต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จะต้องชำระค่าบริการายเดือน) อย่างไรก็ดี สำหรับเวอร์ชันใช้ฟรี ก็สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพของช่อง และคลิปได้พอสมควร หากติดตั้งเสร็จแล้วไปดูกรณีศึกษาการใช้งานกันเล
ภาพด้านบนเป็นการเปิดเข้าดูคลิปการทำขนมของช่อง Tasty ที่หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจอาหาร แล้วต้องการนำเสนอคลิปวิดีโอที่สามารถเรียกแขก เพิ่มยอดวิวได้ ไม่ควรพลาด โดยส่วนบริเวณที่ล้อมกรอบสีแดงด้านขวามือก็คือ vidIQ ที่กำลังแสดงข้อมูลวิเคราะห์คลิป (หรือช่องยูทูบ) ที่เปิดอยู่แบบเรียลไทม์ ทำให้เจ้าของช่อง หรือนักการตลาดสามารถทราบข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญได้ทันที เริ่มต้นที่แท็บด้านบนสุด (overview)
ช่องซ้ายสุยู่ดจะบอกคะแนนโดยรวมของคลิป กรณีนี้ได้ 53.9 คะแนน นั่นหมายความว่า คุณภาพคลิปยังคงอในระดับปานกลาง แม้จะผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์ หรือยังคงสามารถปรับแต่งให้ยอดวิวแรงขึ้นได้อีก ซึ่งต้องไปพิจารณาที่ข้อมูลส่วนอื่นๆ เช่น คีย์เวิร์ด หรือวิดีโอแท็ก สำหรับการทำ SEO เป็นต้น ประเด็นสำคัญของคุณภาพคลิปนอกจากระยะเวลาเฉลี่ยในการรับชมคลิปแล้ว อัตราเร็วในการรับชมต่อชั่วโมง (VPH: View Per Hour) โดยในที่นี้ทำได้สูงถึง 390 VPH แน่นอนว่า ข้อมูลนี้สะท้อนความน่าสนใจของคลิป ถ้าหากตัวเลขนี้ต่ำมากๆ หรือเป็นศูนย์ ก็แสดงว่า คลิปนี้ไม่มีความน่าสนใจอีกแล้ว
ถัดมาเป็นเช็คชั่นของ SEO จะพบว่า ด้วยคะแนนที่ปรากฎ (32/100) เรายังคงสามารถเพิ่มโอกาสให้คนได้พบเห็นคลิปวิดีโออีก ซึ่งในส่วนนี้จะต้องดูประกอบกับส่วนเช็คลิสต์ (Video Optimization Checklist) เพื่อปรับแต่งให้คลิปมีโอกาสถูกค้นพบในอันดับที่ดีขึ้น และบ่อยขึ้น กรณีคลิปนี้ vidIQ แจ้งว่า การใส่ Tags สั้น หรือน้อยไป (Tags [Too Short]) การแชร์บนเฟสบุ๊ค ฯลฯ อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้ความสามารถในการแนะนำคีย์เวิร์ดของ vidIQ ผู้ใช้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน (เริ่มต้นประมาณ 250 บาท) ถัดจากช่องคะแนน SEO ที่เห็นเป็น 10/19 หมายความว่า ผู้ชมจะยังคงดูคลิปอื่นๆ ของทางช่องต่อไปหลังจากดูคลิปนี้จบลงมากน้อยแค่ไหน (ประเมินคร่าวๆ ก็ประมาณ 50%) อีกข้อมูลหนึ่งทีน่าสนใจคือ ช่องที่ 6 (ช่องที่ 3 ด้านล่าง) ซึ่งเป็นข้อมูลจาก vidIQ ที่บอกว่า มีกี่หน้าเว็บที่ลิงค์มายังวิดีโอคลิปนี้
สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุด จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแท็ก (Tags) ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการค้นพบด้วยเสิร์ชของยูทูบ ปกติเราจะแท็กในขั้นตอน Upload คลิป โดยข้อมูลที่ vidIQ บอกให้เราทราบก็คือ เมื่อมีการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดที่ตรงกับแท็กเหล่านี้ (ทั้ง video tags และ channel tags) อันดับของการค้นพบคลิปวิดีโอจะอยู่ในอันดับที่เท่าใด จากตัวอย่างจะเห็นว่า หากผู้ใช้เสิร์ชด้วยชื่อขนมคำว่า churros คลิปนี้จะแสดงอยู่ในอันดับที่ 10 การบ้านของคุณคือ การหาแท็กที่เกียวข้องกับคลิป และมีอันดับการค้นน้อยๆ (1-10 กำลังดี) นี่แค่แนะนำบางส่วนของบริการฟรีที่ vidIQ มีให้นะครับ ซึ่งความจริง vidIQ ยังมีฟีเจอร์อีกมากมายที่จะช่วยให้ช่องยูทูบ และคลิปของคุณประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำไอเดียคลิปแต่ละวัน (Daily Ideas) ด้วย AI การติดตามคู่แข่ง แนวโน้มของประสิทธิภาพโดยรวมของช่อง (การเติบโตของยอดวิว ยอดสมาชิก เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน) คลิปวิดีโอที่มีสถิติการรับชม VPH สูงสุด เพื่อจะนำไอเดียมาพัฒนาคอนเท็นต์ เป็นต้น
เพิ่มเติมการใช้งานในส่วนของแท็บ videos ของช่อง คุณจะสามารถคลิกดูแนวโน้ม (TRENDING) ว่า คลิปใดบ้างของช่องที่ยังคงมาแรงมาหยุด โดยจะเรียงตามอัตราการรับชมต่อชั่วโมงจากมากไปหาน้อย เพื่อให้เจ้าของช่อง และนักการตลาดได้พิจารณาแนวทางการพัฒนาคอนเท็นต์ที่สร้างกระแสแรงต่อเนื่อง
และเมื่อคลิกแท็บ STATS เครื่องมือจะแสดงให้เห็นสถิติของยอดวิว การเติบโตของสมาชิก และจำนวนคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ในช่วงเวลาที่กำหนด เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ดังรูป ซึ่งนักการตลาดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเดียวกันนี้ของคู่แข่งได้อีกด้วย
3 เคล็ดลับทำช่องยูทูบให้สำเร็จ
เคล็ดลับในการทำช่องยูทูบให้สำเร็จมี 3 ประเด็นสำคัญคือ การที่ช่อง หรือคลิปวิดีโอถูกค้นพบได้ง่าย (YouTube SEO) ประเด็นต่อมา คอนเท็นต์ต้องให้คุณค่า (กฎเหล็กของลูกค้าดิจิทัลวันนี้ อย่าทำให้เสียเวลา และไม่เข้าใจในสิ่งที่นำเสนอ) ประเด็นสุดท้าย เกิดการแชร์คอนเท็นต์ของคุณ โดย vidIQ จะสามารถแนะนำคีย์เวิร์ดที่ช่วยให้คุณสามารถปรับแต่ง SEO ของช่อง และคลิป เพื่อให้เกิดการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึงคุณค่าของคอนเท็นต์ที่ดูได้จากอัตราการรับชมต่อชั่วโมง (VPH: Views Per Hour) ที่ทำให้รู้ว่า ความนิยมในการรับชมเป็นอย่างไร หรือแม้แต่คอนเท็นต์นั้นยังคงได้รับการรับชมอยู่ หรือไม่? ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากเครื่องมือจะช่วยให้เจ้าของช่องนำไปปรับแต่ง เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จได้เป็นอย่างดี
หวังว่าเครื่องมืออย่าง vidIQ จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจของคุณผู้อ่านที่สนใจทุกท่านนะครับ ก่อนจบขอฝากทิ้งท้ายไว้ครับว่า การทำการตลาดดิจิทัลแบบไม่มีข้อมูล ก็ไม่ต่างกับการปิดตาขับรถบนถนน ฉะนั้นแล้ว การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำตลาด ย่อมช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จให้กับคุณได้มากกว่า
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี