จับตาเทรนด์เครื่องสำอาง Genderless แบรนด์ใหม่ผุดเพียบดันตลาดโต 50 ล้านล้าน

TEXT: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

 

     เทรนด์สินค้าไม่จำกัดเพศอาจจะมีมานานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแฟชั่นเสื้อผ้าจำนวนมากที่ออกแบบให้สวมใส่ได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งช่วงหลัง ๆ เทรนด์นี้ได้ขยายไปยังตลาดเครื่องสำอาง ก่อนหน้านั้น เครื่องสำอางมักถูกตีตราว่าเป็นของใช้สำหรับผู้หญิง กระทั่งระยะหลัง ผู้ชายเริ่มหันมาใช้เครื่องสำอางบ้าง ทำให้เกิดการแบ่งหมวดหมู่เครื่องสำอางสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เทรนด์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว เส้นกั้นระหว่างเครื่องสำอางของสองเพศเริ่มเลือนหาย ทำให้เกิดเครื่องสำอางที่ใช้ได้แบบไม่จำกัดเพศขึ้นมา 

     ที่ผ่านมา การแบ่งเครื่องสำอางระหว่างสองเพศมาจากหลักฐานที่ว่าสภาพผิวของผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกัน แต่ปัจจุบัน มุมมองของผู้บริโภคเปลี่ยนไป พวกเขาเปิดใจกว้างไม่ได้สนใจผลิตภัณฑ์ที่แบ่งแยกเพศแต่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์คุณภาพดีและมีความปลอดภัยโดยมองข้ามในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ กลิ่น หรือชื่อ ทั้งนี้ คนรุ่นใหม่มองว่าประสิทธิภาพของสินค้าไม่เกี่ยวกับเพศ  

     ด้วยเหตุนี้ หลายปีที่ผ่านมาจะเห็นหลายแบรนด์ดังหันมาจับตลาด Genderless เช่น  Commes des Garcons, คาลวิน ไคลน์, เอสเต้ ลอเดอร์ และ กุชชี่ ที่ทำน้ำหอมยูนิเซ็กซ์ออกมา ชาแนลและทอม ฟอร์ดที่เปิดตัวเครื่องสำอางหญิงใช้ได้ชายใช้ดี หรือ Aseop และ MAC ที่แนะนำเครื่องสำอางที่ใช้ได้กับทุกเพศ เช่นเดียวกับนักร้องสาวรีฮานน่าที่หันมาเอาดีด้านธุรกิจก็ปั้นแบรนด์สกินแคร์ Fenty Beauty ที่คุณภาพตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่มไม่ ว่าผู้หญิง ผู้ชาย หรือ LGBTQ  

     ล่าสุด แฮร์รี่ สไตล์ อดีตนักร้อง One Direction วงบอยแบนด์ชื่อดังจากอังกฤษที่เคยเป็นพรีเซนเตอร์น้ำหอมยูนิเซ็กส์ให้กุชชี่ก็หันรุกตลาดผลิตภัณฑ์ความงามแบบไม่จำกัดเพศที่มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือ ราว 50 ล้านล้านบาท โดยเปิดตัวสินค้าได้แก่ น้ำยาทาเล็บ น้ำมันบำรุงริมฝีปาก และเซรั่มบำรุงรอบดวงตาภายใต้แบรนด์ “Pleasing” แฮร์รี่กล่าวว่าในอนาคตจะทยอยแนะนำสินค้าเพิ่มเติม หากเป็นไปได้ก็อยากจะสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จเหมือน Goop แบรนด์ไลฟ์สไตล์ของเกว็นเนธ พัลโทรว์ นักแสดงฮอลลีวู้ดผู้โด่งดัง

     ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงความงามระบุว่าสำหรับผู้บริโภครุ่นใหม่โยเฉพาะ Gen Z คตินิยมในการแบ่งแยกเพศชายและหญิงเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว อิทธิพลของ Gen Z ที่ไม่คล้อยตามบรรทัดฐานของคนรุ่นเก่าทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ต้องปรับวิธีการใหม่ในการเข้าหาผู้บริโภค นอกจากนั้น โซเชียลมีเดียก็มีบทบาทสำคัญ แพลตฟอร์มต่าง ๆ ของสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอินสตาแกรมซึ่งเป็นพื้นที่ให้ผู้คนจากหลากหลายปูมหลังได้แสดงตัวตนที่แท้จริงทำให้เกิดเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่สามารถชี้นำกระแสในสังคมได้

     กลุ่มคนเหล่านี้ได้มีอิทธิพลสำคัญและกำลังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแบรนด์ต่าง ๆ ควรต้องจับตามองหรือรับฟัง ยกตัวอย่าง นิตยสารหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความงามมักพุ่งเป้าไปที่ผู้อ่านที่เป็นผู้หญิง แบรนด์ที่ทำการตลาดผ่านโฆษณาก็เน้นไปกลุ่มผู้หญิง ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ส่วนตัวหรือสินค้าเกี่ยวกับความงามก็จัดพื้นที่เพื่อรองรับลูกค้าผู้หญิงเป็นหลัก ทำให้ลูกค้าที่เป็นต่างเพศเกิดความอิหลักอิเหลื่อหรือไม่สะดวกใจที่จะเข้าไปใช้บริการ

     เพื่อไม่ให้เสียโอกาสและเป็นการดึงลูกค้าให้ใช้บริการ แบรนด์และร้านค้าอาจต้องยุติการแบ่งแผนกชายหรือหญิง แล้วจัดพื้นที่ใหม่ที่เพศไหนก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อสินค้าได้โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ นอกจากนั้น การผลิตโฆษณาออกมาก็อาจต้องลบเส้นที่กั้นความเป็นชายหรือหญิงแล้วสื่อสารถึงลูกค้าทุกกลุ่มจะดีกว่าเพื่อตอบรับเทรนด์การเลื่อนไหลของเพศสภาพที่ไม่ขีดจำกัด 

ข้อมูล

www.glamourmagazine.co.uk/gallery/gender-fluid-beauty-brands

www.harpersbazaar.com/beauty/makeup/a34050232/gender-neutral-beauty-brands/

www.scmp.com/lifestyle/fashion-beauty/article/3156914/harry-styles-unisex-beauty-brand-pleasing-all-you-need?module=perpetual_scroll&pgtype=article&campaign=3156914

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ททท. จับมือ สายการบิน EVA Air ผลักดันไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ททท.และสายการบิน EVA Air จึงขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่อง 4 ปี ในการกระตุ้นตลาดหลักทั้งระยะใกล้และระยะไกลผ่านเครือข่ายเส้นทางการบินของ EVA Air

รู้แล้วรุ่ง 10 กลยุทธ์ พิชิตตลาดภูธร ปี 2568

จากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ทำให้หลายแบรนด์มุ่งหน้าบุกตลาดต่างจังหวัด และนี่คือเคล็ดลับ 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณรุกตลาดภูธรได้สำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน