TEXT : กองบรรณาธิการ
อาจเป็นหนึ่งคำถามในใจของผู้ประกอบการธุรกิจว่าหลังจากวางแผนการทำธุรกิจไปเรียบร้อยแล้วเราควรจะเลือกทำธุรกิจในรูปแบบไหนระหว่างเป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือจดเป็นในรูปแบบบริษัทอันไหนจะดีกว่ากันหรือเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ต่อไปนี้ คือ ข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อดีข้อด้อยของรูปแบบแต่ละอย่าง เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจให้ง่ายขึ้นกัน
เจ้าของคนเดียว
รูปแบบ : ธุรกิจบุคคลธรรมดา
ข้อดี
- มีอำนาจการบริหารงานเต็มที่
- สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
- ผลกำไร/ขาดทุนนั้น ได้รับเต็มๆ คนเดียว ไม่ต้องแบ่งใคร
ข้อด้อย
- เงินลงทุนมีจำนวนจำกัด
- หากต้องกู้ยืมมีเครดิตน้อยกว่าการมีหุ้นส่วนหรือเป็นบริษัทจำกัด
- หนี้สิ้นต้องรับผิดชอบคนเดียว
- ความน่าเชื่อถือน้อย
ภาษี :
- เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราก้าวหน้าสูงสุด 35 %
ห้างหุ้นส่วน
รูปแบบ : ระดมทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน), ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน) และห้างหุ้นส่วนจำกัด
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 1,000 บาท
ข้อดี
- ระดมเงินทุนได้มากขึ้น
- ความน่าเชื่อถือปานกลาง
- การลงทุนไม่มีขั้นต่ำ สามารถลงเป็นเงิน ทรัพย์สิน และแรงงานได้
ข้อด้อย :
- การบริหารงานต้องปรึกษากับหุ้นส่วน
- การตัดสินใจล่าช้าลง ต้องผ่านมติเป็นเอกฉันท์จากหุ้นส่วน
- ผลกำไร/ขาดทุนหารเฉลี่ยกับหุ้นส่วน
- ความรับผิดชอบต่อหนี้สิ้น แบ่งเป็น
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้)
- ไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
- เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
- ผู้หุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ หรือตั้งตัวแทนเป็นผู้จัดการได้
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด มี 2 รูปแบบ(มีทั้งแบบจำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ)
-
- แบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สิ้นทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิสามารถเข้ามาร่วมตัดสินใจและบริหารจัดการได้
- แบบจำกัดความรับผิดชอบ (ไม่สามารถลงทุนเป็นแรงงานได้) รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น แต่ไม่สามารถมีสิทธิตัดสินใจและเข้ามาบริหารจัดการได้
- เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบได้
ภาษี
- กรณีไม่จดทะเบียน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้าสูงสุด 35 %
- กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 20 %
บริษัทจำกัด
รูปแบบ : ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน โดยแบ่งเงินลงทุนออกเป็นมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน หุ้นละไม่ต่ำกว่า 5 บาท
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 5,000 บาท
ข้อดี
- สามารถระดมทุนได้ง่าย และจำนวนมาก
- ความรับผิดชอบหนี้สิ้นจำกัดเฉพาะมูลค่าที่ยังไม่ชำระ
- มีความน่าเชื่อถือมาก
ข้อด้อย
- การบริหารงานต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการ
- ผลกำไร/ขาดทุน : แบ่งเงินปันผลตามผู้ถือหุ้น
ภาษี
-
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 20 %
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี