หลังการอุบัติของโควิด-19 ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ มากมาย รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคเองที่เปลี่ยนไปหลายอย่าง แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อการทำธุรกิจ ที่ต้องพร้อมปรับให้ทันผู้บริโภค ซึ่งจากข้อมูลเจาะเทรนด์โลก 2022 ของ TCDC ได้สรุปพฤติกรรมผู้บริโภคและโอกาสทางธุรกิจไว้ดังนี้
เป็นผลมาจากวิกฤตต่างๆ ผู้คนต่างก็ปลดปล่อยความรู้สึกในแง่ลบทั้งบนโซเชียลมีเดีย และในชีวิตจริงเมื่อผู้คน ได้สร้างบรรยากาศทางอารมณ์เชิงลบ วิกฤตที่เกิดขึ้นยังทำให้กลุ่มผู้บริโภคที่่เป็นคนรุ่นใหม่รู้สึกได้ถึงความอ่อนไหวและไม่มั่นคงตลอดเวลา ตั้งแต่เรื่องการเรียน การศึกษา การจ้างงาน ตลอดจนสุขภาพจิต การสำรวจคนรุ่นใหม่ที่่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป จาก 37 ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ (OECD) พบว่าอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น 5.5% นำไปสู่การสูญเสียรายได้ให้กับประเทศเฉลี่ยประมาณ 9%
โอกาสทางธุรกิจ
ธุรกิจต่างๆ สามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อรองรับพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคนี้ด้วยการเริ่มต้นจากขั้นตอนง่าย ๆ อย่างเช่นการสร้างพื้นที่่ปลอดภัยในการช็อปปิง ออกแบบสินค้าและบริการที่่ใช้อารมณ์ของผู้บริโภคเป็นที่ตั้งเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในเชิงบวก บรรเทาความเครียดและความวิตกกังวลของผู้บริโภคให้น้อยลง อาทิ
แบรนด์ Aesop ในออสเตรเลีย ออกแบบบรรยากาศภายในร้านให้รู้สึกเหมือนเข้ามาในพื้นที่่แห่งความสงบและปลอดภัย หรือแบรนด์ American Eagle เปิดไลน์ธุรกิจใหม่ Mood จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดููแลตัวเองที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกค้า คนรุ่นใหม่ได้ลดความเครียดลง มีการตั้งชื่อน่ารักๆ ให้สินค้า เช่น “Chill” “Zzz” หรือ “Energized”
ผู้บริโภคกลุ่มนี้้ส่วนใหญ่เป็นเจนเนอเรชันเอ็กซ์และมิลเลนเนียลที่่ให้ความสำคัญกับมุมมองของการใช้ชีวิต มีความเป็นอาสาสมัครชอบช่วยเหลือผู้อื่น ลงมือริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนและคนในพื้นที่่พร้อมที่จะพัฒนา และให้ความช่วยเหลือผู้ที่่เดือดร้อน
โอกาสทางธุรกิจ
ผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการพัฒนาธุรกิจภายในย่านที่่อยู่อาศัยและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น แคมเปญ ร้านชำใกล้ฉัน (Local Shop Near Me) ในประเทศไทย ทำการรวบรวมข้อมูล โปรโมตร้านชำรายย่อยในเขตกรุงเทพฯ หรือในอินโดนีเซียมีแอปพลิเคชันชื่อ RateS เปิดให้ร้านค้าขนาดเล็กมาขายของเพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง
ความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี Virtual Reality: VR หรือ Augmented: AR ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้น่าจะเป็นผู้บริโภคหลักแห่งปี 2022 รองรับการเกิดขึ้นของ Metaverse ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเกิดรููปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ผู้บริโภคกลุ่มนี้้จะมี AI เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องพึ่งหน้าร้าน ที่่เห็นชัดมากที่่สุดคือ สินค้าแฟชั่น อุปกรณ์ไอที ตลอดจนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม
โอกาสทางธุรกิจ
ธุรกิจต่างๆ ต้องเปิดโอกาสให้มีการนำเทคโนโลยี AI หรือ AR มาใช้งานให้เข้ากับการจัดจำหน่ายสินค้าหรือการนำเสนอบริการของแบรนด์มากขึ้น โดยไม่ลืมเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวด้วยเช่นกันเพื่อสร้างความเชื่อมโยงของผู้บริโภคกลุ่มนี้้เข้ากับสินค้า หลายแบรนด์มีการปรับกลยุทธ์เรื่องการพัฒนาช่องทางสื่อดิจิทัลมากขึ้น โดยสร้างเนื้อหาใหม่ๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและความเชื่อของแบรนด์ที่เป็นส่วนหนึ่งกับช่องทางการขายสินค้าอย่างลงตัว เช่น Mozilla Hubs เว็บแอปพลิเคชันที่่สร้างโลกเสมือนจริงให้กับผู้ใช้ชวนคนอื่นเข้าร่วมฮับของเรา และเลือกอวตาร เพื่อพูดคุยผ่านวิดีโอ
ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางอารมณ์ จะปรับแนวคิดให้รู้เท่าทันสังคม เปิดรับความรู้สึกของการยอมรับย่างมีเหตุมีผล ในปี 2022 ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมองหาความรู้สึกแบบที่่ ยอมรับอย่างที่่เป็น (Radical Acceptance) หรือความเต็มใจในการรับกับชีวิตและสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปแบบตามจริงสอดคล้องกับ ทฤษฎีที่่คิดขึ้นโดย ดร . มาร์ชาไลน์แฮน (Marsha Linehan) ที่่นำเสนอแนวคิดสนับสนุนให้ผู้คนเพิ่มความสามารถในการ อยู่กับความจริงในปัจจุบันและพยายามยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในอนาคต
โอกาสทางธุรกิจ
มีโอกาสทางธุรกิจที่่รองรับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้้มากมายดููกระแสได้จากแอปพลิเคชันดููแลตัวเองที่ติดเทรนด์ของ Apple มาตลอดตั้งแต่ปี 2018 ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินมากถึง 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับแอปฯ เพื่อพัฒนาสุขภาพจิตใจอย่างเช่น Calm Headspace หรือ Happier ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีชื่อเล่นว่า “นักปฏิวัติคติความสุข” มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในเชิงบวก โดยเริ่มตั้งแต่สถาบันการศึกษาอย่างที่่โรงเรียนต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และบางส่วนของแคนาดาจะมีชมรมที่เรียกว่า “ชมรมแห่งความเข้าใจ” เพื่อแก้ไขปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนหรือลดการ เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวต่าง ๆ โดยนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนให้กล้าออกมาพูดเรื่องสภาพจิตใจของตัวเอง เพราะเห็นว่า พัฒนาการของสุขภาพจิตที่ดีนั้นมีความสำคัญไม่แพ้พัฒนาการทางร่างกายหรือการมีแอปพลิเคชันอย่าง ResilientMe และ Happify ที่่ชวนผู้ใช้มาสงบใจและยืดหยุ่นวิธีคิดให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลของ Pew Research Center เปิดเผยว่า 11% ของประชากรในอเมริกาและ 13% ของประชากรยุโรปอาศัยอยู่แบบ ตัวคนเดียวคิดเป็นเกือบสามเท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกในขณะที่่ครัวเรือนแบบเดี่ยวพบไม่มากนักในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกาหลีใต้ มีเพียงราว 21% ส่วนญี่ปุ่นพบราว 15% อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ของ The National Institute of Population and Social Security Research ระบุว่าภายในปี 2040 ญี่ปุ่นจะมีประชากรคนโสดเกือบครึ่งหนึ่งของประ ชากรทั้งหมด
โอกาสทางธุรกิจ
การเติบโตของคนโสด การเติบโตของผู้บริโภคแบบตัวคนเดียว (Solo Consumer) กำลังเป็นเสมือนตัวขับเคลื่อนความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น คนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ที่่กำลังเดินหน้าสู่เศรษฐกิจแบบหนึ่งเดียว (1conomy) พร้อมการจัดสรรบริการที่สะดวกสบายเฉพาะบุคคล รวมถึงนวัตกรรมบริการแบบไร้สัมผัสมากขึ้น
The New York Times ระบุถึงการเติบโตของการท่องเที่ยวกลางแจ้ง การตั้งแคมป์เดินป่าสันทนาการ ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายช่วยให้ผู้คนโอบกอดธรรมชาติ ใกล้ชิดกันแบบกลุ่มขนาดเล็ก พร้อมกับการค้นหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ยิ่งเข้าใจผู้บริโภคมากเท่าไหร่โอกาสสร้างกำไรทางธุรกิจก็มีมากขึ้น
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี