ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่า เม็ดเงินจากภาครัฐกระจายสู่ท้องถิ่นอีกกว่า 1.47 แสนล้านบาท ช่วยพยุงเศรษฐกิจในทุกภูมิภาค แนะเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าหมายก่อนเศรษฐกิจขาดแรงส่ง
ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยดูเหมือนค่อยๆ ฟื้นตัวในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ดัชนีชี้วัดหลายด้านปรับตัวดีขึ้น รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี (TMB SME-Sentiment Index) ไตรมาส 1/2558 จากผลสำรวจความคิดเห็นเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 839 รายจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ปรับสูงขึ้นจาก 37.1 เป็น 43.7 หรือเพิ่มขึ้น นับเป็นครังแรกในรอบ 2 ปี เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมองว่ารายได้เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเม็ดเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรและค่าครองชีพ ขณะที่ต้นทุนของธุรกิจปรับตัวลดลงจากราคาน้ำมันภายในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4/2557
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 เนื่องจากเม็ดเงินอัดฉีดจากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลสิ้นสุดลง ราคาน้ำมันในประเทศที่เริ่มปรับราคาสูงขึ้นและราคาสินค้าเกษตรที่ยังตกต่ำ เห็นได้จากยอดขายจักรยานยนต์ในเดือนเมษายนลดลงในทุกภูมิภาค รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ชี้วัดกำลังซื้อของประชาชนในแต่ละพื้นที่ก็ลดลงเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในภาวะเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจในประเทศทั้งการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคได้อย่างเต็มที่ การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐจึงเป็นเครื่องยนต์เดียวที่เหลืออยู่และใช้กระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคได้ โดยในปี 2558 เม็ดเงินลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐเข้าสู่เศรษฐกิจภูมิภาคจาก 2 ส่วน คือ โครงการลงทุนภายใต้ปีงบประมาณ 2558 และ งบกระตุ้นเศรษฐกิจ
TMB Analytics คาดว่าหากภาครัฐเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายจากงบประมาณทั้งสองส่วน จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคระหว่างเดือน พ.ค-ก.ย. 2558 รวมประมาณ 1.47 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ
เช่น ปรับปรุงเส้นทาง อาคารสถานที่และการจัดการน้ำประมาณ 1.3 แสนล้าน และโครงการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ประเภทต่างๆ อีก 1.7 หมื่นล้านบาท ภูมิภาคที่ได้รับเม็ดเงินสูงสุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.7 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือภาคเหนือ กลาง กรุงเทพฯ ใต้และตะวันออก ได้รับการจัดสรรเงินลงทุน 2.7, 2.5, 2.4, 2.0 และ 1.2 หมื่นล้านบาทตามลำดับ
เมื่อเม็ดเงินที่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่ธุรกิจกลุ่มแรกที่ได้รับผลดี คือธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่เคยรับงานของภาครัฐและได้ขึ้นทะเบียนบริษัทโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน เป็นต้น เพราะสามารถเข้าประมูลโครงการก่อสร้างจากหน่วยงานราชการได้โดยตรง
ส่วนธุรกิจกลุ่มที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ แม้ไม่สามารถเข้าประมูลงานได้โดยตรงก็ยังสามารถรับงานสัญญาย่อยจากผู้รับเหมาก่อสร้างกลุ่มแรก กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากโครงการก่อสร้างลำดับต่อมาคือ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ไฟฟ้า การค้าและให้เช่าวัสดุเครื่องมือเครื่องจักร ในพื้นที่โครงการก่อสร้าง นอกจากนั้นยังมีงบประมาณโครงการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
แม้ว่าเม็ดเงิน 1.47 แสนล้านบาท เป็นงบประมาณที่รัฐจัดสรรเพื่อการลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่ในอดีตการเบิกจ่ายทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายมาโดยตลอด ดังนั้น การเร่งเบิกจ่ายภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อให้เม็ด