เกาะเทรนด์ท่องเที่ยวปี’64 คนทั่วโลกชอบเที่ยวแบบไหน SME ไทยต้องจับตา!




Main Idea
 
 
  • ปีนี้โควิดพ่นพิษใส่ธุรกิจท่องเที่ยวอย่างหนัก แต่ปีหน้าฟ้าใหม่ตลาดท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบไหน เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
 
  • ยุโรป แอสซิสแทนซ์ เผยผลสำรวจอนาคตการท่องเที่ยว (Future of Travel) พบว่า ปี 2564 นักท่องเที่ยวทั่วโลกส่วนใหญ่ต้องการเดินท่องเที่ยวในต่างประเทศ ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยยังอยากเที่ยวในประเทศอยู่ และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
 
  • นักเดินทางชาวไทย 70 เปอร์เซ็นต์ วางแผนจะซื้อประกันภัยการเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44 เปอร์เซ็นต์ เผยว่าเคยทำประกันการเดินทางมาแล้ว    





      ปีนี้ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโควิด-19 ขณะที่พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้คนก็เปลี่ยนไปจากเดิมด้วย สิ่งที่หลายคนกำลังจับตา คือปีหน้าเทรนด์การท่องเที่ยวจะเป็นอย่างไร พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของคนทั่วโลกจะเป็นแบบไหน มาหาคำตอบเรื่องนี้ไปกับ ยุโรป แอสซิสแทนซ์ (Europ Assistance) ที่เผยผลสำรวจอนาคตการท่องเที่ยว (Future of Travel) ซึ่งจัดทำโดย IPSOS เพื่อสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยว 11,000 ราย จาก 11 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1,000 ราย  


      จะมีอะไรน่าสนใจและ SME ต้องจับตาบ้างนั้น ไปติดตามกัน
 
 
              



      ปี’64 คนทั่วโลกวางแผนเที่ยวต่างประเทศ ส่วนคนไทยเน้นเที่ยวไทย
              

      จากผลสำรวจพบว่า 8 ใน 10 ของคนไทยอยากเดินทางท่องเที่ยว ในปี 2563 โดย 75 เปอร์เซ็นต์ ต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศก่อน สำหรับการวางแผนท่องเที่ยวปีหน้า 2564 นักท่องเที่ยวทั่วโลกส่วนใหญ่ต้องการเดินท่องเที่ยวในต่างประเทศแล้ว ขณะที่นักท่องเที่ยวไทย 75 เปอร์เซ็นต์ ยังคงอยากเที่ยวประเทศไทยอยู่ ในปีนี้นักท่องเที่ยวไทย 36 เปอร์เซ็นต์ วางแผนจองทริปท่องเที่ยวแล้ว และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดย 86 เปอร์เซ็นต์ หลีกเลี่ยงไปยังสถานที่ผู้คนหนาแน่น และ 84 เปอร์เซ็นต์ หลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปยังบางประเทศ


      อีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือนักเดินทางชาวไทย 70 เปอร์เซ็นต์ วางแผนจะซื้อประกันภัยการเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44 เปอร์เซ็นต์ เผยว่าเคยทำประกันการเดินทางมาแล้ว    
              

      แม้การแพร่ระบาดของโควิด -19 จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามทั่วโลกมากถึง 81 เปอร์เซ็นต์ กลับอยากเดินทางท่องเที่ยวสักครั้งในปีนี้ มีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์ จาก 11 ประเทศ เผยว่าได้จองการท่องเที่ยวในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมไว้แล้ว หรือกำลังวางแผนอยู่ การวางแผนแสดงให้เห็นเทรนด์ระยะสั้นว่านักเดินทางจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการจองทริปท่องเที่ยวช่วงปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564
นอกจากนี้ นักเดินทางจำนวนมาก โดยเฉพาะในยุโรป จะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวในแบบเดิมก่อนการแพร่ระบาดของโควิด -19 เช่น การโดยสารเครื่องบินและเข้าพักในโรงแรมขนาดใหญ่ในช่วงต้นปี 2564
 


           

      โควิดไม่สามารถหยุดยั้งนักท่องเที่ยว แต่เปลี่ยนรูปแบบการเที่ยว

              

       ผลสำรวจทัศนตินักท่องเที่ยวทั่วโลกต่อการท่องเที่ยวในช่วงเวลาต่างๆ ทั้งฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูหนาว แสดงให้เห็นว่า โควิด-19 ไม่สามารถหยุดยั้งนักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวที่พวกเขาชื่นชอบในระยะสั้นเท่านั้น และในปีนี้พวกเขาอยากท่องเที่ยวในสถานที่ใกล้บ้านก่อน
ในปี 2563 ผู้ตอบแบบสอบถาม 81 เปอร์เซ็นต์ วางแผนเดินทางไปอิตาลี (89 เปอร์เซ็นต์) ฝรั่งเศส (87 เปอร์เซ็นต์) และไทย (85 เปอร์เซ็นต์) เป็นประเทศแรกๆ


      นักท่องเที่ยวทั่วโลกวางแผนใช้จ่ายท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 1,506 ยูโร (นักท่องเที่ยวไทยจะใช้จ่าย 733 ยูโร) ต่อคน สำหรับทริปผ่อนคลายหลังมาตรการล็อกดาวน์  36 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าจะใช้เวลาพักผ่อนประมาณ 1 อาทิตย์ ที่ชายทะเล (30 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวไทย)


       74 เปอร์เซ็นต์ ของนักเดินทางทั่วโลกจะเดินทางด้วยรถยนต์ (รถเช่าหรือรถส่วนตัว) ส่วนคนไทย 74 เปอร์เซ็นต์ จะเดินทางด้วยรถยนต์เช่นกัน


      61 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเลือกที่พักแบบส่วนตัวหรือโรงแรมขนาดเล็ก และรักษาระยะห่างและหลีกเลี่ยงสถานที่ผู้คนหนาแน่น ขณะที่ชาวไทยเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเลือกที่พักแบบส่วนตัว และ 71 เปอร์เซ็นต์ จะเข้าพักในโรงแรม


      ความกังวลและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นความกังวลหลักของเหล่านักท่องเที่ยวแต่แบบสำรวจได้สอบถามถึงมาตรการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดและวิธีแก้ไขก่อนเดินทางอีกครั้ง 
 




      ความกังวลและปัจจัยสร้างความเชื่อมั่นของขาเที่ยว


      พบว่า 3 ความกังวลหลักของนักท่องเที่ยวที่มีต่อโรคระระบาด เกิดการแพร่ระบาดขณะเดินทาง (36 เปอร์เซ็นต์) ไม่สามารถทำกิจกรรมท่องเที่ยวได้ตามที่ได้วางแผนไว้ (28 เปอร์เซ็นต์) ต้องถูกกักกันโรคในต่างประเทศ (27 เปอร์เซ็นต์)


      ขณะที่ 3 ปัจจัยที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่น คือ อัตราการติดเชื้อลดลง (54 เปอร์เซ็นต์) คำแนะนำอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล (25 เปอร์เซ็นต์) และการกลับมาเปิดให้บริการของโรงแรม บาร์ และร้านอาหาร (25 เปอร์เซ็นต์)
ส่วนพฤติกรรมที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด คือ หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวในบางประเทศ (79 เปอร์เซ็นต์) สถานที่ผู้คนพลุกพล่าน (77 เปอร์เซ็นต์) และวางแผนท่องเที่ยวภายในประเทศ (76 เปอร์เซ็นต์)    
              




      นักท่องเที่ยวทั่วโลกเน้นขับรถเที่ยวมากขึ้น


      อีกผลสำรวจที่น่าสนใจคือ วิธีการเดินทางของนักท่องเที่ยว พบว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกระบุว่าจะขับรถยนต์ (รถเช่าหรือรถส่วนตัว) ไปเที่ยวหลังการล็อกดาวน์ในฤดูร้อน ส่วน 58 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า จะขับรถยนต์ไปเที่ยวในฤดูใบไม้ร่วง เป็นสัดส่วนที่ลดลง และลดลงมากขึ้นผู้ตอบแบบสอบถาม  56 เปอร์เซ็นต์ ยังคงใช้รถยนต์เดินทางในฤดูหนาว และปี 2564 (51 เปอร์เซ็นต์)   


      ขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกจะเดินทางโดยเครื่องบินในฤดูร้อน และเพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (33 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มขึ้นอีกเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูหนาว ขณะที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า (44 เปอร์เซ็นต์) ในปี 2564


      14 เปอร์เซ็นต์ ของนักเดินทางทั่วโลกจะเดินทางโดยรถไฟในฤดูร้อน และมีความเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในฤดูใบไม้ร่วง (16 เปอร์เซ็นต์) ฤดูหนาว (17 เปอร์เซ็นต์) และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเดินทางโดยรถไฟในปี 2564 (17 เปอร์เซ็นต์)
 
       
      สถานที่เที่ยวไหนที่คนอยากเที่ยวในปี
’64
 

      สำหรับสถานที่ท่องเที่ยว นักเดินทางทั่วโลกส่วนใหญ่ระบุว่าจะเดินทางในประเทศก่อนในฤดูร้อน แต่พวกเขามีความต้องการเดินทางไปต่างประเทศในปีหน้า 2564


      โดย 60 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาวางแผนเดินทางภายในประเทศในช่วงฤดูร้อน ขณะที่ฤดูใบไม้ร่วงมีความต้องการเที่ยวในประเทศ (52 เปอร์เซ็นต์) และฤดูหนาว (54 เปอร์เซ็นต์) และเมื่อสอบถามถึงแผนการเดินทางในปี 2564 ความต้องการท่องเที่ยวในประเทศลดลงเกือบครึ่งอยู่ที่ (39 เปอร์เซ็นต์)


      ขณะที่ 6 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า พวกเขาจะเดินทางเที่ยวต่างประเทศ อย่างไรก็ตามนักเดินทางจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวตอบว่าพวกเขาวางแผนเที่ยวต่างประเทศในฤดูใบไม้ร่วง (14 เปอร์เซ็นต์) และฤดูหนาว (14 เปอร์เซ็นต์) และ 19 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนว่าจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศสักครั้งภายในปี 2564
 






       นักท่องเที่ยวไทยวางแผนซื้อประกันการเดินทางมากขึ้น



      ในการป้องกันการเดินทางขณะที่มีโรคระบาด ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจป้องกันการเดินทางทริปถัดไปมากขึ้น โดยก่อนการแพร่ระบาดของโควิด -19 นักเดินทาง 48 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า พวกเขาทำประกันการเดินทาง อย่างไรก็ตาม 54 เปอร์เซ็นต์ จะซื้อประกันเดินทางในทริปถัดไป ส่วนประเทศไทย เทรนด์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น โดย 70 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวไทยวางแผนซื้อประกันเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44 เปอร์เซ็นต์ นั้นทำประกันเดินทางมาก่อนแล้ว


      66 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการความคุ้มครองในการส่งตัวกลับเมื่อมีการปิดพรมแดนหรือการล็อคดาวน์ในประเทศสถานที่ปลายทาง


      ส่วน 63 เปอร์เซ็นต์ ต้องการได้รับความคุ้มครองเมื่อการเดินทางต้องยืดเยื้อกว่าเดิม


      ขณะที่ 62 เปอร์เซ็นต์ ต้องการได้รับความช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วยหลังกลับจากทริปท่องเที่ยว 14 วัน 
 
              

       นี่คือเทรนด์การท่องเที่ยวที่จะเปลี่ยนไปหลังคลายล็อกดาวน์ ซึ่ง SME ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการทำธุรกิจของตัวเองได้ แม้ปีนี้โควิดจะเล่นงานธุรกิจท่องเที่ยวอย่างหนัก แต่ปีหน้าฟ้าใหม่ ถ้าเตรียมตัวให้พร้อมก็ยังมีโอกาสอีกมากตามเทรนด์การเติบโตของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
 

      ที่มา : IPSOS
 


 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: MARKETING

ททท. จับมือ สายการบิน EVA Air ผลักดันไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ททท.และสายการบิน EVA Air จึงขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่อง 4 ปี ในการกระตุ้นตลาดหลักทั้งระยะใกล้และระยะไกลผ่านเครือข่ายเส้นทางการบินของ EVA Air

รู้แล้วรุ่ง 10 กลยุทธ์ พิชิตตลาดภูธร ปี 2568

จากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ทำให้หลายแบรนด์มุ่งหน้าบุกตลาดต่างจังหวัด และนี่คือเคล็ดลับ 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณรุกตลาดภูธรได้สำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน