เคล็ดลับฉลาดช้อปออนไลน์

 

 
 
     รู้หรือไม่ว่า น้อยกว่า 25% ของนักช้อปออนไลน์ ที่พูดได้เต็มปากว่าไม่เคยผิดหวังกับการช้อปปิ้งออนไลน์เลย
 
 
     ผลสำรวจราคูเท็น สมาร์ท ช้อปปิ้งล่าสุดจากราคูเท็นกรุ๊ป ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ มากกว่า 2,000 คน ในประเทศไต้หวัน อินโดนีเซีย ไทย และ มาเลเซีย แสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ ไม่พอใจกับการซื้อสินค้า    อีกทั้งหนึ่งในสี่ของขาช็อปออนไลน์นั้นยังรู้สึกรำคาญใจจนล้มเลิกการซื้อสินค้าออนไลน์ไปในที่สุด
 
     แม้ว่าความสะดวกสบายและประสิทธิภาพคือหัวใจสำคัญของการซื้อสินค้าออนไลน์ คนส่วนใหญ่ก็ยังใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการเลือกซื้อเลือกหาสินค้าซึ่งท้ายที่สุดแล้วกลับไมได้ซื้อหรือซื้อมาแล้วก็ไม่พอใจในสินค้านั้นๆ
 
     เราจะมาบอกเคล็ดลับในการเป็นนักช้อปออนไลน์ที่ชาญฉลาด ที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและไม่เกิดความผิดหวังอีกต่อไป
 
     1.ทำความรู้จักกับร้านค้าและเจ้าของร้าน      ผลสำรวจจาก ราคูเท็น สมาร์ท ช้อปปิ้ง พบว่าผู้บริโภคมากกว่า 40% แทบจะไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จักหรือสนทนากับเจ้าของร้านค้าเลยในขณะที่ทำการซื้อขายกัน

     แน่นอนว่าทุกคนชอบที่จะซื้อขายกับร้านค้าเจ้าประจำหรือร้านค้าที่ให้การดูแลใส่ใจลูกค้ามากเป็นพิเศษ ดังนั้นในขณะที่ช้อปปิ้งออนไลน์ ขอให้มองหาเว็บไซต์ที่นำเสนอทางเลือกที่แตกต่างในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร

     เป็นต้นว่า ความต่อเนื่องในการอัพเดทเว็บไซต์เป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การแปลี่ยนแปลงข่าวสารหน้าเว็บเป็นประจำ แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าเว็บไซต์เป็นประจำ ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น

     หรือ เว็บไซต์ที่เอื้อให้คุณสามารถติดต่อผู้ขายได้โดยตรงและง่ายดาย เพื่อสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่คุณสนใจ ตัวอย่างของโซเชียลมีเดียเว็บไซต์ที่มีฟังก์ชั่นในการ สนทนาสื่อสาร ก็เช่น เฟสบุค ทีได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ 
 
     2.มองหาภาพถ่ายของสินค้าที่ชัดเจนและมีรายละเอียดครบถ้วน บางเว็บไซต์อาจอนุญาตให้ร้านค้าโพสต์ได้เฉพาะภาพสินค้าจริงพร้อมด้วยรายละเอียดของสินค้าเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการซื้อขายออนไลน์ ตัวอย่างเช่นการให้ข้อมูลของขนาดและรายละเอียดรูปทรงที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วว่ากางเกงยีนส์ตัวไหนเป็นแบบที่คุณตามหา
 
     3.ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเว็บไซต์ที่อนุญาติให้ผู้ซื้อแสดงความคิดเห็น(รีวิว)ผู้ซื้อและให้คะแนนการซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นในแง่บวกหรือแง่ลบ รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ซื้อรายอื่น และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์และร้านค้าออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า หรือ ลองสั่งซื้อของจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้ค้าคนนั้น ส่งของจริง และมีตัวตนจริงๆ ยกเว้นกรณีซื้อสินค้าจากผู้ขายบนบริการร้านค้าออนไลน์ที่มีชื่อเสียงก็จะมีความน่าเชื่อถืออีกระดับ เพราะผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบร้านค้ามาก่อน 
 
     4.“ห้างสรรพสินค้าออนไลน์” อีกหนึ่งช่องทางที่มีสินค้ามากมายหลายแบบรอให้คุณมาเป็นเจ้าของ เปิดประสบการณ์การช็อปปิ้งแบบครบวงจรที่ประหยัดเวลาและขจัดความยุ่งยากในการเปิดหาสินค้าจากหลายเว็บไซต์ นั่นหมายความว่าคุณสามารถซื้อสินค้าได้หลากหลายชนิดจากกี่หมวดหมู่ก็ตามที่คุณพอใจหลังจากนั้น คุณสามารถจ่ายเงินเสร็จสรรพได้ในครั้งเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การช้อปปิ้งประหยัดเวลายิ่งขึ้น
 
     5.ทุกครั้งของการช้อปปิ้งออน์ไลน์ อย่าลืมมองหาส่วนลดพิเศษหรือสินค้าพิเศษเป็นอันขาด เพราะโดยทั่วไปแล้ว เว็บไซต์ช้อปปิ้งที่ครบวงจรต่างๆ มักจะมีออฟชั่นพิเศษไว้รอคุณอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าราคาประหยัด หรือ แต้มสะสมพิเศษ อันจะช่วยให้การช้อปออนไลน์ของคุณประหยัดได้มากเลยทีเดียว
 
     6.ตรวจสอบความหลากหลายของช่องทางในการชำระเงินก่อนเลือกสินค้า ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีช่องทางการชำระเงินที่คุณต้องการชำระได้หรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว คุณอาจต้องเสียเวลาฟรีโดยที่ไม่สามารถเป็นเจ้าของสินค้าที่คุณได้เลือกไว้ในตะกร้าแล้วได้ อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือ อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจก่อนชำระเงินว่าเว็บไซต์นั้นมีสัญลักษณ์องค์กรที่คุณคุ้นตาและมีการป้องกันด้านความปลอดภัย เช่น สัญลักษณ์ใบรับรองความปลอดภัยจาก VeriSign เป็นต้น
 
     7.นโยบายรับประกันการสั่งซื้อสินค้า (Buyer Protection) โดยมองหาร้านค้าที่มีนโยบายรับประกันจ่ายเงินคืนหากไม่ได้รับสินค้า ซึ่งวงเงินรับประกันจะมากหรือน้อยนั้นเรียกได้ว่าแตกต่างกันไปตามนโยบายของร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าออนไลน์แต่ละแห่ง แต่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกซื้อสำคัญที่ผู้บริโภคควรใส่ใจพิจารณา เพราะนอกจากจะสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าแน่นอนทุกรายการสั่งซื้อแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจที่ร้านค้ามีให้กับขาช้อปออนไลน์โดยการมอบความคุ้มครองในทุกๆออร์เดอร์แก่ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน
 
    8.ขอหลักฐานยืนยืนการมีตัวตนของผู้ขาย หากซื้อสินค้าผ่านทาง Instagram หรือ Facebook, Social Network  ควรจะขอ Facebook หรือ Social Network ของเจ้าของจริงๆ เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ที่ขาย นอกเหนือจากแอคเค้าน์ที่ผู้ขายใช้ขายของ รวมถึง ลิงก์เว็บไซต์ที่เป็นทางการของร้านค้า เพราะจะทำให้การสั่งซื้อและชำระเงินสะดวกและปลอดยิ่งขึ้น
 

RECCOMMEND: MARKETING

ททท. จับมือ สายการบิน EVA Air ผลักดันไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ททท.และสายการบิน EVA Air จึงขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่อง 4 ปี ในการกระตุ้นตลาดหลักทั้งระยะใกล้และระยะไกลผ่านเครือข่ายเส้นทางการบินของ EVA Air

รู้แล้วรุ่ง 10 กลยุทธ์ พิชิตตลาดภูธร ปี 2568

จากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ทำให้หลายแบรนด์มุ่งหน้าบุกตลาดต่างจังหวัด และนี่คือเคล็ดลับ 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณรุกตลาดภูธรได้สำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน