อย่ามองข้าม Cross-Border e-Commerce ตลาดใหญ่บนโลกออนไลน์

Text : ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว 
          ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ
 
 

 
     จากสัดส่วนมูลค่า e-Commerce ในปี 2558 พบว่า 92.31 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการ ทำการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในประเทศเป็นหลัก มีผู้ประกอบการเพียง 7.69 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ขายสินค้าและบริการทางออนไลน์ให้กับลูกค้าในตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ตลาด Cross-Border e-Commerce หรือตลาดการค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทาง e-Commerce ของโลกกำลังขยายตัวอย่างมาก จากการคาดการณ์ของ Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ e-Commerce ประเมินว่า Cross-Border e-Commerce จะมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2563 จึงถือว่าเป็นโอกาสสำคัญของ SME ไทยที่จะก้าวเข้าไปมีส่วนร่วมในการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทาง e-Commerce ในตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพ

 
     ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME ประสบความสำเร็จในการส่งออกหรือเข้าถึงตลาดต่างประเทศที่เหมาะสมกับสินค้าที่ผลิต คือการมีเครื่องไม้เครื่องมือด้านเทคโนโลยี e-Commerce ที่ช่วยให้การดำเนินงานตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้าในประเทศเป้าหมายทำได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ 

 
     ระบบตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) และระบบสังคมออนไลน์ (Social Media)

     
     e-Marketplace เปรียบได้กับตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมสินค้าตามหมวดหมู่ โดยเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลของสินค้า เว็บไซต์ของร้านค้า เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าชมรายละเอียดสินค้าที่สนใจได้ภายในที่เดียว ซึ่งเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวกลางเหล่านี้


     โดยมีทั้งเว็บไซต์ของภาคเอกชน เช่น eBay, Alibaba, Amazon หรือเว็บไซต์จากหน่วยงานรัฐ เช่น Thaitrade.com ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอสินค้าให้กับผู้ซื้อจากทั่วโลกได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมเว็บไซต์ในแต่ละแห่งนั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ประกอบการต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเลือกเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน

 
     นอกเหนือจากระบบ e-Marketplace แล้วการใช้ Social Media ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยสามารถขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศได้โดยง่าย โดยผู้ประกอบการอาจจะเริ่มต้นจากการทำข้อมูลสินค้าและบริการในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ซื้อในต่างประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลของธุรกิจท่านได้บนช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook และ Instagram เป็นต้น

 
     การสร้างระบบ e-Commerce สำหรับจับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศนั้นนอกเหนือจากการมีช่องทางการสื่อสารและการซื้อ-ขายผ่านระบบ e-Marketplace และ Social Media แล้ว การวางระบบการชำระเงินที่มีมาตรฐานก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้ซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศ ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ไทยจึงควรพิจารณาวางระบบการชำระเงินในรูปแบบต่างๆ และใช้เครื่องมือสำหรับช่วยการชำระเงินที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างเช่น ระบบ PayPal ที่เปรียบเสมือนคนกลางที่ช่วยดูแลการซื้อ-ขายให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถดำเนินธุรกรรมได้โดยสะดวก

 
     ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ถึงเครื่องมือและแนวทางสำหรับ SME ไทยในการใช้ช่องทางออนไลน์สำหรับการทำธุรกิจ e-Commerce โดยนอกเหนือจากการพัฒนาและมุ่งขยายการใช้งาน e-Commerce สำหรับการซื้อ-ขายสินค้าและบริการภายในประเทศแล้ว ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญต่อการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจไปยังต่างประเทศผ่านเครื่องมือด้าน e-Commerce เพื่อสร้างการเข้าถึงผู้บริโภคในต่างประเทศโดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลาง (Trader) ทั้งนี้เป็นการลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การส่งออกในรูปแบบเดิมต้องเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ททท. จับมือ สายการบิน EVA Air ผลักดันไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ททท.และสายการบิน EVA Air จึงขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่อง 4 ปี ในการกระตุ้นตลาดหลักทั้งระยะใกล้และระยะไกลผ่านเครือข่ายเส้นทางการบินของ EVA Air

รู้แล้วรุ่ง 10 กลยุทธ์ พิชิตตลาดภูธร ปี 2568

จากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ทำให้หลายแบรนด์มุ่งหน้าบุกตลาดต่างจังหวัด และนี่คือเคล็ดลับ 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณรุกตลาดภูธรได้สำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน