Text : กองบรรณาธิการ
ยุคนี้ การสร้าง Story ให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง ขนาดตอนเราสมัครงาน เรายังต้องบอกเลยว่าตัวเองจบจากไหน เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ มีความสามารถพิเศษอะไรบ้าง เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้เหนือกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ
เรื่องการทำธุรกิจเองก็ไม่ต่างกัน เพราะถ้าเราสร้าง Story เพื่อฉีกตัวเองให้นำหน้าคู่แข่งไม่ได้ “ลูกค้า” ย่อมเกิดความรู้สึกว่า “ก็เหมือนๆ กัน” จะซื้อของใครก็ได้ สุดท้ายแบรนด์จึงต้องลงมาแข่งขันกันที่ราคา เพราะฉะนั้น เพื่อให้แบรนด์ของเราโดดเด่น มีความแตกต่างที่น่าสนใจ และไม่ต้องลงมาต่อสู้ในสงครามราคา ลองมาดูแนวทางและวิธีการสร้างเร่ื่อง (Story) ที่เรียบง่ายแต่เฉียบขาดกันเถอะ
เรื่องการทำธุรกิจเองก็ไม่ต่างกัน เพราะถ้าเราสร้าง Story เพื่อฉีกตัวเองให้นำหน้าคู่แข่งไม่ได้ “ลูกค้า” ย่อมเกิดความรู้สึกว่า “ก็เหมือนๆ กัน” จะซื้อของใครก็ได้ สุดท้ายแบรนด์จึงต้องลงมาแข่งขันกันที่ราคา เพราะฉะนั้น เพื่อให้แบรนด์ของเราโดดเด่น มีความแตกต่างที่น่าสนใจ และไม่ต้องลงมาต่อสู้ในสงครามราคา ลองมาดูแนวทางและวิธีการสร้างเร่ื่อง (Story) ที่เรียบง่ายแต่เฉียบขาดกันเถอะ
1. เชื่อมโยงเรื่องราวกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการได้ยิน
ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร ถ้าเราบอกว่าอร่อยที่สุด นั่นเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถพูดได้ แต่ถ้าเราสร้างเรื่องราว ที่บ่งบอกถึงความปลอดภัย ความสะอาด พนักงานใส่ถุงมือกับผ้าปิดปาก และมาตรฐานการผลิตที่ดีอย่าง GMP เพราะอาหารที่รับประทาน หากไม่สะอาด จะมีใครอยากซื้อไปชิมหรือซื้อไปฝากคนอื่นละ ถูกไหม เรื่องราวในหัวข้อนี้ จะช่วยทำให้ลูกค้าเห็นภาพความตั้งใจ และความใส่ใจของเราได้อย่างชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร ถ้าเราบอกว่าอร่อยที่สุด นั่นเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถพูดได้ แต่ถ้าเราสร้างเรื่องราว ที่บ่งบอกถึงความปลอดภัย ความสะอาด พนักงานใส่ถุงมือกับผ้าปิดปาก และมาตรฐานการผลิตที่ดีอย่าง GMP เพราะอาหารที่รับประทาน หากไม่สะอาด จะมีใครอยากซื้อไปชิมหรือซื้อไปฝากคนอื่นละ ถูกไหม เรื่องราวในหัวข้อนี้ จะช่วยทำให้ลูกค้าเห็นภาพความตั้งใจ และความใส่ใจของเราได้อย่างชัดเจน
2. สร้างเรื่องราว เพื่อสร้างความแตกต่าง
ยังคงอยู่ที่ตัวอย่างเดิมกับผลิตภัณฑ์อาหาร กล่าวคือ เราควรเพิ่มความชำนาญหรือความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ลงไปให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เช่น เป็นเจ้าแรกของจังหวัด หรือ เปิดมาแล้วกว่า 50 ปี หรือถ้าจะให้ดูอินเตอร์หน่อยก็ใช้คำว่า Since 19xx หรือหากเป็นผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป เราอาจสร้างเรื่องราวที่โดดเด่นตั้งแต่การคัดเลือกผลไม้ อย่างการปลูกด้วยตัวเองจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์ รับซื้อผลผลิตจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน GAP เท่านั้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างความรู้สึกในเชิงบวกให้กับกลุ่มเป้าหมาย
3. สร้างเรื่องราวที่เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบุคคล
บางทีเราไม่ได้ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการเพียงเพราะว่าสินค้าเหล่านั้นดีเยี่ยมเพียงอย่างเดียว แต่ภาพลักษณ์และเรื่องราวของผู้นำธุรกิจก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น อุดหนุนสินค้าเพราะเจ้าของธุรกิจมีความใจบุญสุนทาน เป็นต้น รวมถึงจากผลวิจัยของ Robert Cialdini นักจิตวิทยาที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลทางสังคม พบว่า เรามีแนวโน้มที่จะชอบคนที่มีแนวความคิดคล้ายกับเรา ดังนั้น หากเราสามารถสร้างเรื่องราวของตัวเองให้น่าสนใจ มีความหลากหลาย ย่อมส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับกลุ่มเป้าหมายได้ด้วย
การสร้างเรื่องราว (Story) สามารถเชื่อมโยงกลุ่มเป้าหมาย กับแบรนด์ให้มีความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลเชิงบวกต่อยอดขายและภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจของเราไปโดยปริยาย
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี