ธรรมศาสตร์ ชี้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังขยายตัวจากปัจจัยการลงทุนและส่งออกที่เติบโต




นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) คาดเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นกว่าในครึ่งปีแรก โดยอัตราการเจริญเติบโตทั้งปี น่าจะอยู่ในระดับ 3.58 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจากการลงทุน ภาครัฐที่เป็นกลไกสำคัญในการกระ ตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนจะกระเตื้องขึ้น ทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการขยายตัวด้านการส่งออกที่เติบโตขึ้นประมาณ 5.2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม หากการบริโภคและการลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลวางแผนไว้ อาจจะส่งผลในอัตราการเจริญเติบโตลดลงไปที่ระดับ 3.4 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันหากอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะเงินบาทแข็งค่าไปอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อาจจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้  

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 ยังคงเป็นภาวะเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้าการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและ ค่าเงินบาท โดยที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ สำคัญไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปมีอัตราการเจริญเติ บโตที่สูงกว่าในปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันการคาดการณ์ล่าสุด ปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังของปี 2560 คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นกว่าในครึ่งปีแรก อัตราการเจริญเติบโตทั้งปี น่าจะอยู่ในระดับ 3.58 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยเชื่อว่าการลงทุนภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวน่าจะเ ป็นกลจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ กระตุ้นเศรษฐกิจ  จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงอยู่ในร ะดับสูงในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีจะมีประมาณ 34.5 ล้านคน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ คาดการณ์ไว้ที่ 0.7 เปอร์เซ็นต์ หากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ กล่าวว่า การลงทุนภาคเอกชนจะกระเตื้องขึ้นและเติบโตทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.2 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการเพิ่มการลงทุนในด้านเครื่องจักร ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการขยายตัวด้านการส่งออก ส่วนต้นทุนจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนยังค่อนข้างต่ำ ในขณะที่การส่งออกจะเติบโตประมา ณ 5.2 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นมากกว่าในปีที่ผ่านมาเนื่องจากการฟื้นตัวขึ้นของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป และการเติบโตต่อเนื่องจากภาคการ ท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น 3.7 – 3.8 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากรายได้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ

หากการบริโภคและการลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลวางแผนไว้ ซึ่งตัวเลขในไตรมาสหนึ่งที่ผ่าน มาการเจริญเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาครัฐค่อนข้างต่ำ อาจจะส่งผลในอัตราการเจริญเติบโตลดลงไปที่ระดับ 3.4 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยอีกประการที่ต้องเฝ้าระวังคือทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น หากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นไ ปแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปี หลังอาจจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 

ทั้งนี้ หากพิจารณาการผลิตรายสาขาเศรษฐกิจจะพบว่า สาขาหัตถอุตสาหกรรมยังคงมีปัญหา อัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ มีอัตราการเติบโตเพียงประมาณร้อ ยละ 1 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้ผลิ ตยังอยู่ในระดับปานกลางและดัชนี ด้านการบริโภคของภาคครัวเรือนยั งเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนภาคก่อสร้างก็มีการชะลอตัวใ นไตรมาสที่ 1 และหากพิจารณาทั้งปีอัตราการเจริ ญเติบโตจะอยู่ประมาณ 4.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำเมื่อเทียบกับการเจริญเติ บโตในปีที่ผ่าน นอกจากนี้ภาคโรงแรมกับภัตตาคารก็ มีสัญญาณที่เติบโตช้ากว่าในช่ วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเติ บโตในอัตราที่มิได้สูงเช่นปีที่ ผ่านๆมา ส่วนภาคเกษตรในปีนี้คาดการณ์ว่า จะมีอัตราการเติบโตที่สูงหลังจา กประสบปัญหาในปีที่ผ่านมา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 02-613-2404 หรือ www.econ.tu.ac.th

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ททท. จับมือ สายการบิน EVA Air ผลักดันไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ททท.และสายการบิน EVA Air จึงขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่อง 4 ปี ในการกระตุ้นตลาดหลักทั้งระยะใกล้และระยะไกลผ่านเครือข่ายเส้นทางการบินของ EVA Air

รู้แล้วรุ่ง 10 กลยุทธ์ พิชิตตลาดภูธร ปี 2568

จากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ทำให้หลายแบรนด์มุ่งหน้าบุกตลาดต่างจังหวัด และนี่คือเคล็ดลับ 10 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณรุกตลาดภูธรได้สำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน