14 ล้านคนหรือร้อยละ 20 ของประชากรไทย ที่กระทรวางพาณิชย์คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2563 หรืออีก 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น โดย "สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์" รมช.กระทรวงพาชย์ กล่าวไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มรูปแบบในอีก 3-4 ปีข้างหน้านี้ ไม้เว้นแม้แต่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สวีเดน ไอซแลน์ และ ฟินแลนด์ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน
และนี่จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะดึงดูดกลุ่มคนประเทศเหล่านี้ให้เข้ามาใช้บริการในประเทศ รวมถึงตลาดผู้สูงอายุในประเทศไทยเองด้วย เพราะไทยมีความพร้อมและได้เปรียบในหลายด้าน เช่น คนไทยมีหัวใจรักบริการ ความสะดวกสบายในการรับบริการ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการมีความเหมาะสม มีสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนที่หลากหลายสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล ฯลฯ
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีสถานบริการทางการแพทย์และสถานบริการสุขภาพที่ครบครัน ซึ่งจากองค์ประกอบที่ครบถ้วนนี้ ทำให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุของไทยสามารถตอบโจทย์ผู้สูงอายุจากทั่วทุกมุมโลกได้ครบทุกมิติ
สำหรับธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย แบ่งได้ออกเป็น 6 รูปแบบ คือ 1) ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเดย์แคร์ (Day Care) การบริการแบบเช้าไป-เย็นกลับ 2) ธุรกิจสถานบริการดูแลระยะยาว (Long Stay) โดยจะครอบคลุมการพักค้างคืน บริการอาหาร ทำความสะอาดเสื้อผ้าและร่างกาย พร้อมทั้งติดตามดูแลสุขภาพเบื้องต้น เช่น - บ้านพักคนชรา - สถานที่ให้การช่วยเหลือในการดำรงชีวิต - สถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาล - สถานบริบาล - สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3) ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ เป็นการบริการผู้สูงอายุหรือผู้ที่เตรียมเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เป็นการเช่าซื้อบ้านหรือห้องพักในระยะยาว โดยมากเป็นระยะเวลา 30 ปี หรืออยู่อาศัยจนสิ้นอายุขัย แต่ไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ในบ้านนั้นเมื่อเสียชีวิต 4) บริการส่งผู้ดูแลไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
5) สถานสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุที่ยากจนไร้ญาติ ธุรกิจประเภทนี้ให้การสงเคราะห์ในเรื่องที่พักอาศัย และมีอาหารบริการ 3 มื้อ และ 6) สถานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้บริการตรวจสุขภาพและคำแนะนำในการส่งเสริมดูแลสุขภาพ
และหากดูตัวเลขการจัดตั้งธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเห็นได้ว่าจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560) มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 800 ราย แบ่งเป็น นิติบุคคล จำนวน 169 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.12 และบุคคลธรรมดา จำนวน 631 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.88 เท่านั้น ซึ่งเรียกได้ว่าจำนวนธุรกิจขยายไม่ทันความต้องการของตลาด นี่จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุน
5) สถานสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุที่ยากจนไร้ญาติ ธุรกิจประเภทนี้ให้การสงเคราะห์ในเรื่องที่พักอาศัย และมีอาหารบริการ 3 มื้อ และ 6) สถานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้บริการตรวจสุขภาพและคำแนะนำในการส่งเสริมดูแลสุขภาพ
และหากดูตัวเลขการจัดตั้งธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเห็นได้ว่าจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560) มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 800 ราย แบ่งเป็น นิติบุคคล จำนวน 169 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.12 และบุคคลธรรมดา จำนวน 631 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.88 เท่านั้น ซึ่งเรียกได้ว่าจำนวนธุรกิจขยายไม่ทันความต้องการของตลาด นี่จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุน
อย่างไรก็ตาม รมช.พาณิชย์ บอกถึงปัญหาสำคัญของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบัน คือ การดูแลผู้สูงอายุเป็นงานบริการที่ต้องใช้ความอดทน ความเข้าใจ ต้องมีความรู้ด้านการพยาบาล หรือผู้ช่วพยาบาล ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งสูตรระยะสั้น (70 ชั่วโมง) - ระยะยาว (420 ชั่วโมง) ที่จัดโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือโรงเรียนเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
อีกทั้ง ต้องไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่มีประวัติการกระทำผิดต่อผู้สูงอายุ ผ่านการประเมินด้านสุขภาพจิต มีวุฒิภาวะบุคลิกที่เหมาะสม และไม่ติดสารเสพติด นอกจากนี้ งานดูแลผู้สูงอายุมีลักษณะงานที่ซ้ำเดิม ดังนั้น เมื่อทำงานได้ระยะหนึ่งก็ต้องการเปลี่ยนงาน จึงทำให้บุคลากรด้านการดูแลผู้สูงอายุขาดแคลนอย่างต่อเนื่อง ไม่ทันตามความต้องการของตลาด ทำให้ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น
รวมถึงอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ คือ สถานบริการดูแลผู้สูงอายุบางแห่งยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร การดำเนินงานยังคงพบปัญหาข้อร้องเรียนต่างๆ เช่น ผู้ให้บริการไม่รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุให้เพียงพอ ฯลฯ หรือในกรณีผู้สูงอายุเสียชีวิต ณ สถานประกอบการ ควรต้องดำเนินการอย่างไร เนื่องจากยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานสถานดูแลผู้สูงอายุที่จะให้คำตอบเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายแก่ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว
โดยในส่วนนี้จะมีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเข้ามาดูแลเรื่องมาตรฐานของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ โดยให้เน้นการพัฒนาศักยภาพให้มีคุณภาพ การเพิ่มพูนทักษะการดูแลผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐานมีความเป็นมืออาชีพ และการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจให้มีมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจ ประกอบด้วย 1) การสร้างองค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการ 2) พัฒนาธุรกิจบริการสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพตามแนวทางของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) 3) สร้างโอกาสทางการตลาดและเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจสู่สากล และร่วมมือกับสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย รับฟังปัญหาของผู้ประกอบการ ร่วมแก้ไข และรณรงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือสมาชิกสมาคมตระหนักถึงการทำธุรกิจอย่างมีมาตรฐาน มีจิตสำนึก สถานบริการมีความมั่นคงปลอดภัย
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี