สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งผลักดันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ เพื่อเป็นรากฐานในการผลักดันผู้ประกอบการกลุ่มอื่นก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้เป้าหมายสนับสนุนผู้ประกอบการ 1000 รายภายใน 3 ปี
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรากฐานที่มีสัดส่วนมากกว่า 96% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ การผลักดันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ปรับตัวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล จึงเสมือนการปรับเปลี่ยนผู้ประกอบการทั้งประเทศให้ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล อันเป็นเป้าหมายที่สำคัญของรัฐบาล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขานรับนโยบายภาครัฐ ผ่าน โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในอดีตที่ผ่านมาพบว่าอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ประเทศไทยยังไปไม่ไกล เนื่องจากผู้ประกอบการขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กล่าวว่า เพื่อผลักดันผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลจึงร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Development Bank ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน จัดทำมาตรการหรือสิทธิประโยชน์ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
แนวทางส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1.สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีโดยร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการผลักดันผู้ประกอบการเข้าถึงสิทธิ์ประโยชน์ทาง BOI ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้สิทธิ์นี้จะได้ประโยชน์หลายด้าน อาทิ เมื่อประกอบธุรกิจได้กำไรยังไม่ต้องเสียภาษีประจำปี ผู้ประกอบการยังมีเงินสดอยู่ในมือมีสภาพคล่องที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้
2. เรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เดิมจะมีทีมคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับกับจดแจ้งลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการถูกระเมิด ซึ่งถ้าดำเนินการผ่านซิป้าจะใช้เวลาเพียง 1-2 สัปดาห์ จากระยะเวลาปกติจะใช้เวลา 1-2 เดือน และจะมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ แก่ผู้ประกอบการที่เรียกว่าศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ
3.การสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางสถาบันการเงินพันธมิตร ในการอำนวยความสะดวก ลดความยุ่งยากสำหรับการกู้เงินโดยไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน
ในปีที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้สนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการกว่า 311 ราย คิดเป็นมูลค่าวงเงินที่ได้รับกว่า 1,077 ล้านบาท โดยในการสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนนั้น ในปีแรกอาจจะไม่สามารถสนับสนุนได้อย่างครอบคลุม แต่จะได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นจากผู้ประกอบการในปีที่สองและปีที่สาม และเชื่อว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้มากกว่า 1000 ราย
ความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกับสถาบันการเงินพันธมิตรครั้งนี้ จะช่วยส่วนสำคัญที่ช่วยยกะดับผู้ประกอกบการเอสเอ็มอีทั้งประเทศ ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้ตามความมุ่งหวังของรัฐบาล
.......................................................
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายมาตรการส่งเสริม สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โทร 0 2141 7101 ,0 2141 7199 โทรสาร 0 2143 8059
อีเมล : ossc@sipa.or.th www.sipa.or.th
www.smethaillandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี