Text : นเรศ เหล่าพรรณราย
ท่ามกลางคอนเทนท์ออนไลน์ปริมาณมหาศาล ผู้บริโภคย่อมต้องเลือกเสพคอนเทนท์ที่มีคุณภาพเท่านั้น นอกเหนือจากความคมของประเด็นแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ผู้ผลิตคอนเทนท์ต้องให้ความสำคัญอีกเช่น
ท่ามกลางคอนเทนท์ออนไลน์ปริมาณมหาศาล ผู้บริโภคย่อมต้องเลือกเสพคอนเทนท์ที่มีคุณภาพเท่านั้น นอกเหนือจากความคมของประเด็นแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ผู้ผลิตคอนเทนท์ต้องให้ความสำคัญอีกเช่น
1.เนื้อหายาวเกินไป สิ่งสำคัญที่ดึงดูดคนอ่านให้เข้ามาอ่านคอนเทนท์ของเราจะต้องรักษาปริมาณคอนเทนท์ให้มีความเหมาะสม ไม่สั้นหรือยาวเกินไป ธรรมชาติของมนุษย์จะหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความที่มากเกินไปเสมอ นอกจากนี้ยังต้องมีการเว้นวรรค และจัดระเบียบบทความไม่ให้ดูรกเกินไป ตัวอย่างที่ไม่ดีอย่างเช่นข้อความรกเกินไป จะไปทำให้ความน่าสนใจของคอนเทนท์ลดลงอย่างน่าเสียดาย
ความยาวของบทความที่เหมาะสมต่อโพสต์ลงบนเฟซบุ๊ค จึงไม่ควรเกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 และเน้นเฉพาะใจความสำคัญ ส่วนความยาวที่เหมาะสมสำหรับบทความที่จะลงในเวบไซท์ควรจะอยู่ที่ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ถ้าหากเนื้อหามีปริมาณมากแนะนำว่าให้แบ่งออกเป็นหลายตอน
2.พาดหัวไม่ตรงกับเนื้อหา สิ่งที่จะดึงดูดผู้อ่านให้เข้ามาอ่านบทความได้ดีที่สุดคือการพาดหัวให้มีความน่าสนใจ แต่หากพาดหัวไปแล้ว เนื้อความไม่ได้ตรงกับสิ่งที่เสนอไว้ หรือเป็นเพียงแค่การพาดหัวล่อหรือ Clickbait จะทำให้บทความดังกล่าวด้อยค่าลงไปทันที เพราะผู้อ่านจะเสียความรู้สึกและจะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือแบรนด์ การพาดหัวคอนเทนท์จึงต้องอยู่บนความเป็นจริงเสมอ
3.ไม่เรียบเรียงประเด็นสำคัญก่อนหลัง นอกจากประเด็นที่ดีแล้ว การลำดับเรื่องราวที่ดียังทำให้บทความดูมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตามทฤษฎีสื่อสารมวลชน การเขียนบทความควรจะต้องมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว ส่วนประเด็นรองอาจจะมีได้มากกว่าหนึ่ง แต่ต้องลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย และตอนสุดท้ายถึงจะเป็นการสรุปใจความสำคัญ เพราะการที่ยัดเยียดแต่ประเด็นสำคัญเข้ามา อาจทำให้ผู้อ่านสับสนได้
4. เนื้อหาตัดแปะ ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เนตสามารถทำได้ง่ายขึ้น แต่นั่นทำให้เกิดความมักง่ายในการนำข้อมูลมาใช้ต่อ จนบางครั้งบทความที่เขียนขึ้นไม่ได้เกิดจากความรู้ของผู็เขียนเลย แต่เกิดจากการปะติดปะต่อข้อความอื่น รวมถึงไม่มีการเชื่อมคำเชื่อมประโยคที่ดีด้วย ทางที่ดี ผู้เขียนควรสรุปเนื้อหาใจความจากแหล่งอื่นและเขียนสรุปด้วตัวเองดีกว่า ส่วนพวกข้อมูลดิบอย่าง ตัวเลข ข้อกฎหมาย ยังพอที่จะคัดลอกได้ แต่ควรจะให้เครดิตที่มาด้วย
5. มุ่งขายของเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าจุดประสงค์ของการเขียนคอนเทนท์ออนไลน์ก็เพื่อต้องการจะทำการตลาด แต่บทความที่เน้นเพียงแค่การขายคุณลักษณะและจุดเด่นของสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ผู้อ่านเบื่อและไม่อ่านต่อก็เป็นได้ ทำให้แนวทางการเขียนบทความเชิง Advertorial จึงต้องมีความปราณีตมากขึ้น
6. ข้อมูลผิด สิ่งที่สำคัญกว่าเนื้อหาที่ดีและประเด็นการนำเสนอที่คมก็คือความถูกต้องของข้อมูลและคำศัพท์นั่นเอง ปัจจุบันผู้อ่านรู้จักที่จะ Recheck มากขึ้น ผู้ที่เขียนคอนเทนท์จึงควรต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี