เรื่อง แมตต์ โรเบิร์ตส์,
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
ด้านบิ๊กดาต้าและนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์, แอมดอกซ์
บิ๊กดาต้า เป็นเทรนด์ที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งในสังคมปัจจุบัน แต่บิ๊กดาต้านั้นเข้ามามีบทบาทในทุกสัดส่วนของชีวิตประจำวันของเราแล้วจริงหรือ?
ผมมองว่าไม่จริง แม้ว่าบิ๊กดาต้าเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงและได้การยอมรับมากขึ้น แต่เราควรจะลงมือนำบิ๊กดาต้ามาประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันมากกว่านี้ ผมขอแบ่ง “บิ๊กดาต้า” เป็นสามสัดส่วน ได้แก่ “ความพยายาม”, “ของเล่น” และ “หัวใจหลัก” เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
“หัวใจหลัก” เป็นสัดส่วนที่อ้างถึงการวิเคราะห์ – หรือส่วนที่น่าสนใจที่สุดของบิ๊กดาต้า รวมไปถึงการนำข้อมูลเชิงลึก ที่มาจากการวิเคราะห์ชุดข้อมูลจำนวนมาก เพื่อสร้างกลยุทธ์เพื่อผลักดันธุรกิจ โดยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะช่วยบ่งชี้ปัญหาการใช้งานของลูกค้าก่อนที่พวกเขาจะทราบ จึงทำให้ผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมสามารถแก้ปัญหาได้ก่อนที่ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ไม่น่าประทับใจ
“ของเล่น” เป็นสัดส่วนที่อ้างถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยส่วนมากจะเป็นเทคโนโลยีแบบ Open Source โดยแผนกไอทีขององค์กรต่างๆจะรีบออกไปซื้อ “ของเล่น” เหล่านี้ จึงทำให้บริษัทที่นำเสนอบริการรูปแบบนี้ เช่น Hortonworks และ Cloudera สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนดังกล่าว เป็นสองหัวข้อหลักที่ขับเคลื่อนความแพร่หลายของบิ๊กดาต้า แต่สัดส่วนที่สาม หรือ “ความพยายาม” เป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่มองข้าม เราจึงต้องทำความเข้าใจว่า “ความพยายาม” เป็นสิ่งจำเป็น เราจึงจะสามารถนำบิ๊กดาต้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมควรผันตัวเองให้เป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยดาต้า ในการที่จะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากบิ๊กดาต้า องค์กรส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งพวกเขาจะพบว่าหนทางข้างหน้ามีอุปสรรคมากมาย
ผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมควรพัฒนาระบบการจัดการดาต้าจากรูปแบบเดิมให้กลายเป็น “ทะเลสาบดาต้า” ซึ่งเป็นการผสมผสานฐานข้อมูลขนาดใหญ่เข้ากับคลังข้อมูลที่จับต้องได้ เพื่อใช้งานกับข้อมูลที่มีโครงสร้าง (structured), ไม่มีโครงสร้าง (non-structured), ของบุคคลที่สาม (third-party) และภายในองค์กรเอง (in house) ซึ่งจะทำให้องค์กรเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ “ความพยายาม” จะอยู่ในขั้นตอนต่อไป ได้แก่ การดึงข้อมูลที่ต้องการจากระบบ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการชำระค่าใช้บริการ, เน็ตเวิร์กและ CRM และการดูแลรักษาทะเลสาบดาต้าขององค์กร ซึ่งใช้ทั้งเวลาและเงิน โดยข้อมูลที่ได้มาควรจะเป็นข้อมูลที่อัพเดทและพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป
ลองเปรียบเทียบดาต้ากับน้ำมัน ในปีพ.ศ. 2555 บนรายการทีวีชื่อดังรายการหนึ่งในสหรัฐอเมริกา พิธีกรถามความเห็นของนักลงทุนชื่อดังอย่าง แอน วินบาลด์ ว่า “the next big thing” หรืออนาคตแห่งการลงทุนจะไปในทิศทางใด เธอตอบว่า “เรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยที่ดาต้าสำคัญกว่าน้ำมัน”
ซึ่งผมมองว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะทำความเข้าใจกับบิ๊กดาต้า ถ้าเรานำตัวอย่างดังกล่าวมาประยุกต์เข้ากับรูปแบบบิ๊กดาต้า 3 สัดส่วนของผม จะพบว่า “ของเล่น” และ “หัวใจหลัก” เปรียบว่าเป็นเครื่องยนต์สันดาปและรถยนต์ ส่วน “ความพยายาม” จะเปรียบเป็นการกลั่นน้ำมันดิบให้เป็นปิโตเลียม เพราะหากเครื่องยนต์สันดาปและรถยนต์ไม่ได้รับความนิยม ปิโตเลียมก็จะไม่มีประโยชน์ และน้ำมันดิบก็จะไม่ได้ถูกใช้งาน ซึ่งก็เหมือนดาต้า เพราะการพัฒนาระบบการเรียกข้อมูลที่ดี จะทำให้การวิเคราะห์และการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆมีประโยชน์มากขึ้น
Gartner ตอกย้ำความคิดนี้ โดยการคาดการณ์ว่าบริษัทลงทุนเงินประมาณ 4 แสน 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการบิ๊กดาต้าในปีนี้ โดยเงินลุงทุนส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการพัฒนาบริการสำหรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยดาต้า
ดังนั้น แม้ว่าการตัดบิ๊กดาต้าออกจากเทรนด์หน้าใหม่จะดูเป็นเรื่องที่เร็วไป แต่ผู้คนในวงการจัดการดาต้าคงจะเห็นด้วยกับผมว่ามีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมากสำหรับหัวข้อนี้ บิ๊กดาต้ากำลังจะกลายเป็นปัจจับสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ